
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566 10
เมื่อรู้ตัวว่าเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง ควรปฎิบัติตัวอย่างไร เพื่อเพิ่มไขมันดีลดไขมันเลว รวมทั้งการใช้ยาลดไขมันอย่างถูกต้องและเหมาะสม?
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้ เมื่อรู้ว่าเรามีภาวะไขมันสูงแล้วควรทำอย่างไรต่อไป
“ไขมันในเลือดสูง” ไม่มีสัญญาณเตือนแต่เสี่ยงสารพัดโรค
“ไขมันในเลือดสูง” ไม่มีอาการเตือน ปล่อยไว้เสี่ยงมะเร็งลำไส้-มะเร็งเต้านม

การรักษาไขมันในเลือดสูง
เป้าหมายของการรักษาคือการลดระดับคอเลสเตอรอลลงอย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไฟเบอร์สูง เช่น
- ผักและผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา ถั่ว เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อย่างเนื้อแดง
- ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมัน ของทอด และอาหารแปรรูปต่าง ๆ
- ควรเลือกอาหารที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันทดแทน
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือออกกำลังที่หนักปานกลางถึงหนักมากอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
สาเหตุภาวะไขมันในเลือดสูง ที่หลายคนเสี่ยงป่วยเป็นแบบไม่รู้ตัว!
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในบางกรณี แพทย์จึงอาจสั่งจ่ายยาที่ช่วยให้ตับลดการผลิตคอเลสเตอรอลลง ได้แก่ กลุ่มยาสเตติน (Statins) ที่ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด กรดนิโคตินิก (Nicotinic Acid) ที่ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ และยาไฟเบรต (Fibrates) ที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และอาจเพิ่มปริมาณไขมันดี หากแพทย์สั่งจ่ายยา ผู้ป่วยมักจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร เพื่อรักษาระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ และมีแนวโน้มว่าจะต้องรับประทานต่อเนื่องไปตลอด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพและpobpad
ภาพจาก : freepikและShutterstock
สัญญาณ “ไขมันในเลือดสูง” ระดับคอเลสเตอรอลที่ควรระวัง
วิธีเลือกกินอาหารล้างไขมันในเลือด! ลดโรคแทรกซ้อนจากไขมันในเลือดสูง!


ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP

