‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน


แมนสรวง ภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสร้างภาพยนตร์เพื่อส่งเสริม Soft Power ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

ได้ไปเปิดตัวใน เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2023 และเป็นภาพยนตร์ที่ติดอันดับ 5 หนังทำเงินของไทย 35.2 ล้านบาท จากการฉาย 25 วัน (ข้อมูลจาก Thailand Box วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566)

แมนสรวง เป็นเรื่องราวของการสืบสวนสอบสวน ที่มีส่วนผสมของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่มาพูดคุยถกเถียงกัน

“จุดเริ่มต้นของแมนสรวง มาจากการคุยกับ อาโป (ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์) นักแสดงในสังกัด เขาเคยไปเรียนรำมา แล้วเขาอยากรำมาก

เราเลยคิดว่าทำหนังดีกว่า เริ่มต้นจากการอยากรำ พอคุยกับทีมเขียนบท เขาก็บอกว่าทำหนังมันเสี่ยง แล้วเป็นพีเรียดยิ่งยากใหญ่ เราก็คิดว่ายิ่งยากมันยิ่งน่าสนุกนะ แต่พอทำจริงก็ยากจริง ยากเหลือเกิน”

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

กฤษดา วิทยาขจรเดช ผู้อำนวยการผลิตและกำกับภาพยนตร์ แมนสรวง ผู้กำกับ คินน์ พอร์ช เดอะซีรีส์ (KinnPorsche The Series)

ซีรีส์วายที่ติดอันดับ 1 เทรนด์ ทวิตเตอร์ และ เวยป๋อ (Weibo) ผู้บริหารบริษัท บี ออน คลาวด์ (Be On Cloud) เล่าที่มาของแมนสรวงให้ฟัง

ในงานเสวนา มองแมนสรวงผ่านเลนส์ Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วันที่ 22 กันยายน 2566 ณ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยมี นักรบ มูลมานัส Assistant to Executive Producer & Art Director และ ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา นักแสดงเรื่องแมนสรวง มาร่วมพูดคุยด้วย 

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

“เราอยากทำให้มันดีอย่างที่เราฝันไว้ เพราะว่าตลาดภาพยนตร์ในไทยตอนนี้ซบเซามาก ๆ คนไม่ค่อยไปโรงหนัง หนังไทยส่วนใหญ่ที่ออกมาก็เจ๊ง จากสถิติคนไทยดูหนังไทยแค่ 10%

ผมโตมาในยุคที่ภาพยนตร์มันรุ่งเรือง การไปดูภาพยนตร์ในโรงหนังมันได้ฟีลมากกว่า เรากำลังสู้กับความเชื่อนั้น ทำให้มันเกิดขึ้น

ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยาก แต่ละฉากแต่ละซีนละเอียดมาก มันอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราได้ทำภาพยนตร์มีความเป็นวัฒนธรรมไทยแบบนี้ แบบไม่เรียบร้อย

ตอนหาทีมงาน เราเอาความเชื่อไปเล่าให้กับทุกคนฟัง เราใช้นักแสดงมืออาชีพ ทุกคนมีวินัย มาด้วยความตั้งใจ เราเปิดให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ก็เกิดความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมจากบทที่มี นี่คืองานศิลปะจริง ๆ

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

เรารู้สึกว่า ความเป็นไทย มันต้องก๋ากั่นนิดหนึ่ง มันถึงจะเข้าได้ทั้งผู้ใหญ่และคนรุ่นใหม่

ตอนแรกทุกคนที่เห็นโปสเตอร์แมนสรวง เราถูกตี ถูกดูถูก เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตมาก มีคนบอกว่าโปสเตอร์มันไม่แมส ไม่มีคนเข้าใจ ไม่มีคนดู ดูไม่รู้เรื่อง โปสเตอร์ไม่ได้เล่าเรื่อง

มันไม่ได้เป็นไปตามที่เขาเป็นกันมา แต่กลายเป็นว่าทุกคนเก็บโปสเตอร์นั้นแล้วก็ยังชื่นชมมันอยู่ บางครั้งศิลปะไม่ควรถูกใช้คำว่า เขาทำกันมาแบบนั้น

ความเป็นไทยคืออะไร อย่างที่ยูเนสโกเพิ่งประกาศนั่นคือไทยแท้จริงหรือเปล่า มันไม่มีอะไรไทยแท้ เราไปบังคับว่าศิลปะไทย นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้

ผมว่ามันน่าจะถึงเวลาแล้วที่เขาเริ่มตระหนักได้ว่า วางไว้บนหิ้งมันไม่มีใคร

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

Cr. Kanok Shokjaratkul

การทำซีรีส์มีเวลาเป็นสิบๆ วัน แต่ภาพยนตร์มีเวลาแค่ 2 ชั่วโมงที่จะตรึงคนดู จะเล่ายังไงเพราะสั้นมาก ๆ มันก็เลยยาก ทุกซีนเลยต้องละเอียดเหลือเกิน มีสัญญะ มีความหมาย

เรามาจาก คินน์ พอร์ช เดอะซีรีส์ กลุ่มคนดูเราก็ถูกว่าเป็นสาววายสมองไหล พอคินน์พอร์ชมันสร้างชื่อเสียงระดับโลกได้ ทุกคนก็ไม่ค่อยพูดถึง

แต่พอมีดราม่า ทุกคนก็พูดถึง เราก็เลยทำหนังดีกว่า ถ้าเราไม่มีเซอร์วิส ไม่มีเลิฟซีนเลย ดูสิเขาจะชอบไหม

ที่ผ่านมาสื่อพยายามจี้ถามว่าแมนสรวงวายไม่วาบย สุดท้ายคนที่ไปดู ไม่เห็นมีใครว่าสักคน มันเป็นหน้าที่เขาที่จะจินตนาการ

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

กลุ่มวายไม่ใช่คนที่แปลกแยก เป็นกลุ่มคนที่เสพคอนเทนต์คุณภาพ มาถึงวันนี้เราได้พิสูจน์แล้ว แมนสรวง กำลังสู้กับความเชื่อ ในความวายที่เราถูกกดทับ

มันมีความกีดกันทางเพศในหลาย ๆ รูปแบบอยู่ ก็แปลกดีนะ เขารับรู้ว่ามันมีอยู่ เราสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ แต่ปล่อยมันไว้อย่างนั้นล่ะ อยู่ในกลุ่มของเราเอง”

เมื่อถามว่า ความเป็นไทยใส่ยังไง ให้ดูไม่ยัดเยียดในสายตาต่างชาติ กฤษดา ตอบว่า ผมเป็นคนเชื้อสายจีน100% ความเป็นไทยอยู่ที่ใจ คนไทยเป็นคนสนุก เปิดรับทุกวัฒนธรรม ทุกศาสนา เราฉลองทุกเทศกาล

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

“เมืองไทยมีอะไรที่สนุก มีความบันเทิงที่โดดเด่น คนไทยเป็นคนม่วน ม่วนจอย นี่คือสิ่งที่เราอยากเล่า เราสนุก เราปราณีต และอ่อนน้อม แต่ก็พร้อมถลกผ้าถุงแล้วเต้น

มีความลึกซึ้ง ดูได้จากอาหาร จริง ๆ อาหารของเราไม่มีคำว่าไทยแท้ เรารับวัฒนธรรมมาจากหลาย ๆ ชาติ ฝอยทอง ข้าวแช่ เราไปเคลมไม่ได้หรอก

ความเป็นไทยคือ เอาทุกอย่าง นี่คือสิ่งที่เราส่งต่อ ถ้ามาเมืองไทย มีครบทุกทุกอย่าง ยกเว้นนักการเมืองที่ดี ในเรื่องแมนสรวงนะ

ที่ผ่านมา 1-2 ปี ผมมั่นใจว่าที่ทำ บี ออน คลาวด์ มาภูมิใจกับความเป็นไทยส่งออกได้จริง ๆ ผมได้ไปต่างประเทศ นักแสดงไทย ชุดไทย อาหารไทย

เราต้องมองที่รากฐาน รัฐบาลช่วยเหลือสวัสดิภาพคนทำงานได้หรือไม่ ถ้าหนังต่างประเทศมาถ่ายทำในไทย รัฐบาลจะซัพพอร์ตช่วย แต่ถ้าหนังไทยถ่ายในไทย รัฐบาลไม่ช่วย

ของเกาหลีเวลาขับเคลื่อนอะไรเขามาทุกภาคส่วน ทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมไทยมันช่วยได้ เพราะประกอบด้วยคนไม่กี่กลุ่มที่ร่ำรวยมาก ไม่ต้องกินตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำก็ได้ ถ้าคุณไม่เปิดให้คนใหม่ ๆ ได้ฉาย มันก็จะวนเวียนอยู่อย่างนั้น

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

ตอนนี้แมนสรวงเป็นถูกสแตมป์ว่าเป็น Soft Power ไทย แต่กระทรวงวัฒนธรรมตัวแทนรัฐบาลนิ่งเงียบ สุดท้ายทางอังกฤษต้องติดต่อส่วนตัวมาที่เราเอง

ทั้งที่เรามีกระทรวงพาณิชย์ ดูแลเรื่องส่งออก มีกระทรวงวัฒนธรรม มีการท่องเที่ยว แต่… เขาคุยกันไหม

เมื่อวานผมไปเจอกระทรวงพาณิชย์ออกงานเกี่ยวกับคอนเทนต์วาย ที่จัดร่วมกับญี่ปุ่น มีประมาณ 9 บริษัท ไม่มีบริษัทผม อ้าว ทำไมเราไม่เคยรับรู้เรื่องนี้เลย เพราะคุณไม่รู้จัก คินน์ พอร์ช เดอะซีรีส์ เราทำคอนเทนต์แบบนี้อยู่แล้ว เราต้องมีโอกาส แต่เขาไม่ได้คุยกับเรา

ตอนเปิดตัวหนังงานกาล่าแมนสรวง ผมส่งการ์ดเชิญทุกพรรคการเมือง แต่เขาไม่มา มีแต่พี่ทิมพิธามาคนเดียว ขนาดเราได้รับการยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมว่าเป็น Soft Power ไทย ยังไม่ได้รับการซัพพอร์ตจากรัฐบาลปัจจุบันเลย เขาเข้าใจเรื่องเหล่านี้จริงหรือไม่

เราขับเคลื่อนการท่องเที่ยวได้จริง ๆ ตอนนี้คนไปเที่ยว ทรงวาด มากขึ้น เหมือนคนไปดูหนังเกาหลีแล้วตามรอย ภาครัฐหรือองค์กรต่างๆ ต้องฮึดขึ้นมาแล้วทำจริง ๆ”

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ความเป็นไทย ที่ไม่เคยถูกเล่า

นักรบ มูลมานัส Assistant to Executive Producer & Art Director กล่าวว่า เมื่อได้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการสร้างแล้ว รู้สึกว่าเป็นโปรเจ็กท์น่าสนใจดีที่จะทำหนังพีเรียดที่ไม่ได้เรียบร้อย

“คีย์เวิร์ดแรกคือ ความซ่า ความบ้า ไม่เหมือนใคร มีเฉดความเป็นไทยที่ไม่ถูกเล่าออกมา เราอยากมองเห็นสิ่งเหล่านี้มาตั้งนานแล้ว

ความเป็นไทยมันถูกแช่แข็งมาตั้งแต่สมัยไหนก็ไม่รู้ ต้องเป็นสิ่งดีงาม มันห่างไกลจากวิถีชีวิตไลฟสไตล์คนร่วมสมัย

ใน แมนสรวง ทั้งหมดทั้งมวลคือแก่นหรือแนวคิดความเป็นไทยที่มีความหลากหลาย เราเอาคอนเซปต์นี้ไปรีเสิร์ชแล้วมาประชุมว่าเราสามารถเล่นอะไรกับตรงไหนได้บ้าง ภาพรวมทั้งหมดจะเป็นยังไง

เอาข้อมูลที่เป็นแก่นมาให้ทีมงานทุกคนดู แล้วคิดงานด้วยกัน ทำยังไงจะให้ได้ภาพออกมาที่สนุก ชุดคนในแมนสรวงจะต้องใส่อะไรลงไปยังไง เราทำในสิ่งที่เป็นส่วนผสมกันของประวัติศาสตร์ ถ้าเพื่อการศึกษาล้วนๆ 100% มันจะไม่สนุก

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

เราเลยคุยกับคอสตูมว่าสิ่งที่เราเห็นว่ามันไม่ได้มีอยู่ เหมือนในภาพถ่ายเก่า ๆ มันไม่ได้แปลว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่ได้มีจริง มันมีช่องว่างสำหรับจินตนาการเสมอ

หนังมันไม่ได้ความเป็นความจริง 100% การใส่จินตนาการเข้าไปเป็นส่วนประกอบที่มันลงตัว และตอบโจทย์ที่มันสนุก

โจทย์คือแมนสรวงเป็นสถานที่ในสมัยนั้น ซึ่งทุกคนสามารถโชว์ความเป็นตัวเอง แสดงอย่างที่ตัวเองเป็นได้ ที่ทำไม่ได้ข้างนอก

ในส่วนของการออกแบบตัวละคร ซีนที่มีผู้คนมากมายหลายชาติ เราพยายามใส่ความหลากหลายเข้าไป เราคิดกันละเอียดมาก มีตัวละครกี่คน มีความไดเวอซิตี้ยังไง มาจากชาติไหนบ้าง ทำตัวอะไรยังไงกันบ้าง

มันเป็นดวงตาของยุคสมัยนี้ที่ไปมองยุคอดีต แต่ไม่ใช่ว่าสมัยนั้นจะไม่มีสิ่งนี้ กรอบเกณฑ์ทุกสิ่งทุกอย่างของชาติพันธุ์ ของอคติ ของเรื่อง มีมาตั้งแต่อดีตแล้ว

แมนสรวงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนปลดปล่อยตัวตนได้ ในแง่การดีไซน์เราใส่ทุกอย่างเข้าไปหมด

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

Cr. Kanok Shokjaratkul

ความเป็นไทยคืออะไร ตั้งแต่เกิดมาจนเราโต 30 กว่า คำถามนี้ก็ยังไม่จบอีก มันติดอยู่ที่ภาพลักษณ์อย่างเป็นทางการ

เราใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เราเห็นว่ามันมีเฉดที่หลากหลายมากในความเป็นไทย แต่เวลาไปนำเสนอในเวทีโลกที่เป็นทางการ เรามีแต่สิ่งที่ดูไกลตัวออกไป

แมนสรวง เล่าเรื่องราวใต้พรม ที่ไม่ถูกเล่า มันมีบาดแผล เรารู้สึกว่ามันถึงเวลาแล้ว ในโลกนี้ ตอนนี้ เราไม่ต้องการมองคน เห็นคน หรือเห็นใครที่เปอร์เฟคตลอดไป

ความเป็นตัวตนที่จริงแท้ มันขายได้ ถ้ามองในมุม Soft Power อย่างญี่ปุนเขาก็ไม่ได้มองแค่ที่เป็นทางการ ต้องกิโมโนเต็มไปหมด เขานำเสนอวัฒนธรรมคอสเพลย์ อนิเมะ อะไรต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นเมนสตรีม หรือหนังเกาหลีที่เล่าเรื่อง Parasite ก็เป็นจุดไม่ค่อยดีในสังคมด้วยซ้ำ

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

มันถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องมองหาแล้วก็ภาคภูมิใจ โอบรับกับสิ่งนั้นที่เป็นส่วนหนึ่งในความเป็นเรา เราแค่มองออกไปว่าฉันมีสิ่งนี้นะ ไม่ใช่เวลาที่แต่งตัวสวยงาม100%แล้วให้ชาวโลกชื่นชม

ตอนนี้เอกชนไทยขับเคลื่อนหนักมาก แต่ภาครัฐยังไม่ซัพพอร์ต อย่างหนังของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ทั่วโลกยอมรับ แต่ในไทยหนังโดนแบน

หรือ พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ดังในระดับโลก แต่มีปัญหากับทุกภาคส่วน เพราะเขาเอาโขนมาประยุกต์ แบบที่ไม่ต้องใส่เครื่องทรงครบ เอาโขนมาทำเป็นบัลเล่ต์ แต่ชาวโลกเห็นว่าสิ่งนี้งดงามมีความเป็นไทย เป็นแก่นของโขน ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีมาประกอบกัน สวยงาม เป็นมูฟเมนท์ เป็นจิตวิญญาณ

การที่จะทำให้ Soft Power ไทย มันไปไกล ต้องให้ความสำคัญกับทุกเฉด เรามีความเป็นไทยที่หลากหลาย ที่น่าอิจฉา มีอาหาร มีผู้คนน่ารักจิตใจงดงาม มีพลังขับเคลื่อน ถึงแม้รัฐจะไม่ซัพพอร์ตเราก็ตาม แต่เราก็สู้ไปด้วยตัวเองเยอะมาก

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

หลายประเทศสำเร็จเรื่องการผลักดัน Soft Power ด้วยการทูตทางวัฒนธรรรม เช่น Japan Foundation ของญี่ปุ่น Alliance Francaise ของฝรั่งเศส Goethe ของเยอรมัน

ประเทศที่ยิ่งใหญ่เขามีหน่วยงานแบบนี้ ถ้ามีคนไปดูหนังเกาหลี สนใจอาหารเกาหลี เขาก็มีหน่วยงานรองรับ หรือเราสนใจฝรั่งเศสก็ไปเรียน แต่ไทยไม่มีสิ่งนี้

การตั้งหน่วยงานที่มาดูเรื่อง Soft Power ไทย เราต้องหาสัดส่วนที่เหมาะสม มีนักวิชาการ มีคนในแวดวงจริง ๆ ไม่ใช่แค่ตั้งหน่วยงานหนึ่งให้ผ่านๆ ไป  

สิ่งนี้มันสำคัญ เหมือนคนต้องมีความหลากหลาย มีความเข้าใจ มีหลักการ ถ้ามีแต่ผู้ใหญ่แต่ไม่ขับเคลื่อนอะไรก็ไม่ได้ผลอะไร การลงทุนกับสิ่งนี้ไม่ได้ใช้เงินจำนวนมาก แต่มันกลับมายั่งยืน มหาศาลและกินไปยาว ๆ ได้”

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • เราทำงานบันเทิง ให้กับคนดูทุกกลุ่ม

ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา นักแสดงเรื่องแมนสรวง และ คินน์ พอร์ช เดอะซีรีส์ กล่าวว่า ตอนมาเล่นหนังเรื่องนี้ คนมีภาพจำว่าเล่นละครวาย แต่ในเรื่องของการทำงาน ไม่ได้ต่าง

“ตอนทำคินน์พอร์ช มันก็คืองานบันเทิงหนึ่ง คอนเทนต์หนึ่ง กลุ่มคนดูหลักอาจเป็นสาววาย แต่คนทำไม่ได้คิดว่าทำให้คนกลุ่มวายดู เราทำให้ทุกคนดูได้ มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ เธอเป็นผู้ชาย ฉันเป็นผู้ชาย มารักกันเถอะ

มาถึงเรื่องแมนสรวง การทำงานก็อยู่กับตัวละคร เข้าใจบท สร้างแบ็คกราวนด์ เหมือนกัน ต่างแค่วิธีการถ่ายทำ ที่เจาะซีนละเอียดมากกว่า ละเมียดละไมในการถ่ายมากกว่า

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน

Cr. Kanok Shokjaratkul

ในเรื่องการแสดง ตัวตั้งต้นมันไม่ได้เริ่มต้นจากวายไม่วาย ให้ลืมไปเลย เราเป็นหนังสืบสวนสอบสวนที่มีฉากช่วงปลายรัชกาลที่ 3 หลาย ๆ เรื่องตั้งต้นเล่าความเป็นไทยจ๋าเลย แต่เราไม่ได้เล่าอย่างนั้น

เราคือหนังสืบสวนสอบสวน ที่มีความเป็นไทย ตัวละครทุกตัวทุกสร้างมามีจุดประสงค์ มีเป้าหมาย ไม่ได้เข้ามาด้วยมิติที่ว่าเล่าได้มากแค่ไหน 

ถ้าเราต้องการขยายความเป็น Soft Power ไทย ต้องเป็นสิ่งที่สากลเข้าใจ ไม่ใช่ทำให้เราเข้าใจคนเดียว เวลาถามต่างชาติ นึกถึงเมืองไทย เขานึกถึงอะไร นึกถึงพัทยา มันคือสิ่งที่ทุกคนเข้าใจกันอยู่

‘แมนสรวง’ Soft Power ไทย จะไปทั่วโลก ต้องร่วมมือกัน
Cr. Kanok Shokjaratkul

เราจะทำยังไงที่จะเอาสิ่งใหม่ ๆ มาให้เป็นภาพจำของเขา แต่ไม่ได้ยัดเยียด คือการหยิบจับอะไรในบ้านเรานี่ล่ะ แล้วเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน เช่น อาหาร สถานที่

ในฐานะนักแสดง อยากให้มีการลงทุนสนับสนุนหนังหรือใครสักคน ไม่ใช่มาจากชื่อเรื่อง แต่มาจากเนื้อหา และให้ความสำคัญกับคุณภาพของงาน เป็นคอนเทนต์คุณภาพที่ส่งออกได้ และเล่าเรื่องที่คนเข้าใจ

อยากให้สนับสนุน เป้นกระบอกเสียงให้เรา เป็นตัวแทนนำเสนอ ติดต่อประสานงานให้เรา เพราะคุณมีพาวเวอร์ในเรื่องติดต่อประสานงานอยู่แล้ว อยากให้ใจกว้าง เปิดรับ เราสามารถทำให้ Soft Power ไทย ไปได้ไกลกว่านี้ได้”


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *