
ในอนาคต Neuralink อาจต่อยอดผลการทดลองไปยังการช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว เช่น ผู้ป่วยอัมพาต สามารถใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ด้วย สำหรับใครที่สนใจเป็นอาสาสมัครทดลองฝังชิปลงสมอง ก็สามารถดูคุณสมบัติต่างๆของผู้เข้าร่วมได้ดังนี้
คุณสมบัติในการเข้าร่วมทดลองฝังชิปลงสมอง Neuralink
- เป็นผู้ป่วยภาวะอ่อนแรงของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง จากการบาดเจ็บที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS
- ต้องป่วยด้วยอาการดังกล่าวมาอย่างน้อย 1 ปี โดยไม่มีสัญญาณว่าอาการจะดีขึ้น
- อายุ 22 ปีหรือมากกว่า
- มีผู้ดูแล
We are excited to share that we have received the FDA’s approval to launch our first-in-human clinical study!
This is the result of incredible work by the Neuralink team in close collaboration with the FDA and represents an important first step that will one day allow our…
— Neuralink (@neuralink) May 25, 2023
ขณะนี้ FDA ได้ส่งสัญญาณไฟเขียวให้กับ Neuralink เรียบร้อยแล้ว โดยการเปิดรับมนุษย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองมีขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยแอคเคาน์ของ Neuralink บน x.com ได้โพสต์เกี่ยวกับการได้รับอนุญาตดังกล่าวไปก่อนหน้านี้ แต่ครั้งนี้ได้เปิดรับอาสาสมัครอย่างเป็นทางการแล้ว
อย่างไรก็ตาม 5 ปีที่ผ่านมา การปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงในสมองของสิ่งมีชีวิตที่ Neuralink ดำเนินการ มีขึ้นเฉพาะในสัตว์เท่านั้น และมีรายงานว่าลิงตัวหนึ่งตายจากการทดสอบในปี 2022 ด้วย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทได้รับการพูดถึงและตำหนิอย่างมาก
ที่มา : report.az