“กรดยูริกสูง”ควรกินอย่างไร? แนะอาหารพิวรีนต่ำกินได้ทุกวันลดเกาต์


กินดี

หลายคนคงตกใจเมื่อผลตรวจสุขภาพออกมาพบกรดยูริกสูงเสี่ยงโรคเกาต์ แนะอาหารที่ควรกินได้บ่อย และควรหลีกเลี่ยง

.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}

อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์ หลายคนคงได้ยินมาบ้างแล้ว ซึ่งทางการแพทย์ต้องบอกว่าค่อนข้างจริง เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนสูง ที่หากสลายไปจะหลายเป็นกรดยูริก แต่ไม่ใช่อาหารอันตรายที่ห้ามกิน เพราะจริงๆ แล้วการกินไก่หรือสัตว์ปีกเป็นประจำไม่ได้ทำให้คนปกติกลายเป็นโรคเกาต์ได้ทันทีทันใด ขึ้นอยู่กับความถี่และปริมาณในการกิน อีกทั้งยังมีอาหารหลายชนิดที่มีปริมาณพิวรีนที่สูงกว่าเช็กเลยว่าหากเรามีภาวะกรดยูริกสูงควรเลือกกินอย่างไรอาหารที่ควรเลี่ยง

อาหารที่ผู้ป่วยเกาต์กินได้แต่พอดี-ควรเลี่ยง ป้องกันปวดข้อกำเริบ

6 อาหารกรดยูริกสูง กินได้แต่พอดี กินมากเสี่ยงเป็นโรคเกาต์

อาหารผู้มีกรดยูริกในร่างกายสูง อะไรควรกิน-ควรเลี่ยง

  • ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม แนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน  ได้แก่
    • เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาน้ำจืด ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม
    • ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
    • ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี) ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เจลลาติน
    • นมและผลิตภัณฑ์จากนม เนย

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีน 75-150 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม ควรเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มนี้สัปดาห์ละครั้ง ได้แก่

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู  เบคอน ลิ้นวัว เป็ด ห่าน นกพิราบ ปลาไหล หอยต่าง ๆ  ไข่นกกระทา
  • ผัก เช่น ตำลึง สะตอ ใบขี้เหล็ก (ครั้งละ ½ ถ้วยตวง)

5 อาหาร “แมกนีเซียม” สูงช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่-กระดูกพรุน

งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม

  • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • สัตว์ปีกทุกชนิด หน่อไม้
  • ยอดผัก
  • อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา)
  • น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม)

หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล

แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วย ที่สำคัญควรดื่มน้ำให้ได้วันละ1.5ลิตรเพื่อรักษาสมดุลร่างกาย

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ

ภาพจาก : shutterstock

5 อาหาร “ไขมันดี” ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

กินไก่เยอะ เสี่ยงเกาต์จริงหรือไม่? อะไรคือตัวการของโรคกันแน่?

วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

PPSHOP


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *