กรดไหลย้อน โรคไม่ร้ายแรง แต่ห้ามปล่อยให้เรื้อรัง


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

“กรดไหลย้อน” เป็นโรคที่วินิจฉัยและรักษาได้โดยอาศัยการวิเคราะห์อาการเป็นหลัก จะทำการตรวจเพิ่มก็ต่อเมื่อมีสัญญาณเตือน หรือไม่ตอบสนองการรักษาด้วยยาลดการหลั่งกรด ขณะที่ พญ.ศุภมาส เชิญอักษร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินอาหาร อธิบายเพิ่มเติมว่า “การรักษาที่ควรทำในทุกรายคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพียงแค่คนไข้ปรับพฤติกรรมก็เพียงพอ หรือตอบสนองต่อยารักษา เพราะไม่แน่ว่า อาการที่เป็นอยู่อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายอื่นก็ได้”

ไม่ใช่แค่แสบร้อนยอดอก แต่อาการเหล่านี้ก็เสี่ยง “กรดไหลย้อน”

คนไข้ที่มาพบหมอจะมาด้วยอาการ 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีอาการทางหลอดอาหาร คือมีอาการแสบร้อนยอดอก เรอเปรี้ยว เรอขม หรืออาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่ทั้งนี้ต้องทำการตรวจแล้วว่าคนไข้ไม่มีโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มที่มาด้วยอาการที่ไม่ได้เกิดบริเวณหลอดอาหาร เนื่องจากกรดหรือน้ำย่อยที่ไหลย้อนขึ้นมาจนถึงหลอดอาหารส่วนต้น มีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้คนไข้มีอาการไอเรื้อรัง หอบหืด เสียงแหบ หรือถ้าหากไหลย้อนขึ้นสูงกว่านี้ก็อาจมีปัญหาเรื่องของฟันผุ กลิ่นปาก คออักเสบเรื้อรัง ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเยื่อบุแก้วหูอักเสบได้

สัญญาณอันตรายจากกรดไหลย้อน ที่คนไข้ควรมาพบแพทย์

กลืนเจ็บ กลืนลำบาก กลืนติด น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ อาเจียนอย่างต่อเนื่อง หรือมีภาวะซีดที่อธิบายด้วยสาเหตุอื่นไม่ได้ อาการเหล่านี้ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่คนไข้ต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม

“กรดไหลย้อน” รุนแรงถึงขั้นกลายเป็น “มะเร็ง” ได้หรือไม่?

โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมีไม่เยอะ ประมาณ 10-15% ภาวะแทรกซ้อนที่เราเจอบ่อย คือ หลอดอาหารอักเสบ เป็นแผล หลอดอาหารตีบ หรือหากเรื้อรังมากๆ ก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ของหลอดอาหารส่วนปลาย กลายเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งในครอบครัวคนเอเชียเราพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารน้อยกว่า 1% เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่เมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน แม้อาการจะเป็นเรื้อรังและคุณภาพชีวิตไม่ดี แต่มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

“ปรับพฤติกรรม” ทางเลือกแรกของการรักษา

เบื้องต้นเราจะแนะนำคนไข้ในเรื่องการปรับพฤติกรรม หากคนไข้มีพฤติกรรมกินเยอะ กินเผ็ดจัด กินรสจัด กินแล้วลงไปอยู่ในท่านอนเร็ว น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย กลุ่มเหล่านี้จะต้องทำการปรับพฤติกรรมทั้งหมด แต่ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องได้รับยารักษา หรือถ้าหากกินแล้วไม่ตอบสนองก็อาจต้องตรวจเพิ่มเติม

เมื่อปรับพฤติกรรมไม่เห็นผล อาจต้องตรวจแบบเจาะลึก

การขอตรวจเพิ่มเติมในคนไข้ที่รักษาด้วยยาไม่ดีขึ้น อันดับแรก คือ การส่องกล้อง เพื่อดูว่ามีหลักฐานของการเป็นกรดไหลย้อน หรือมีภาวะแทรกซ้อนหรือยัง

ถ้าในกลุ่มที่มีหลักฐานชัดเจนก็จะดำเนินการรักษาตามกลุ่มที่ตรวจพบ แต่ถ้าหากไม่พบสิ่งผิดปกติแต่มีอาการ อาจสงสัยว่าเป็นการบีบตัวของหลอดอาหารที่ผิดปกติ หรือเป็นโรคอื่นหรือเปล่า หมอก็จะทำการตรวจด้วยเครื่อง Manometry และอาจมีการตรวจภาวะกรดไหลย้อน 24 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าใช่กรดไหลย้อนหรือไม่

กรดไหลย้อนนั้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของมนุษย์วัยทำงานที่หลายคนคาดไม่ถึง สำหรับคนที่ทำงานและมีอาการกรดไหลย้อนบ่อยๆ นั้น ก็ควรเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีความเผ็ดร้อนหรือเป็นกรดสูงในช่วงที่ทำงาน รวมทั้งควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย และหากมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาได้ทันก่อนสายเกินไป

บทความโดย : พญ.ศุภมาส เชิญอักษร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพญาไท 2


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *