
.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
รองโฆษกก้าวไกล “ภคมน หนุนอนันต์” วิจารณ์ ปม ครม.ออกกฎรักษาความลับเกี่ยวกับการประชุม ชี้ทำได้ แต่ต้องโปร่งใส แนะเปิดเผยวาระก่อนถกเหมือนกับสภาฯ
วันที่ 22 กันยายน 2566 นางสาวภคมน หนุนอนันต์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณี การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุม
ครม. และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน ระบุว่า “รักษาความลับทำได้ ควบคู่กับการเปิดเผยข้อมูล (รัฐโปร่งใส)” มีการพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์กัน จึงมีความเห็น 8 ข้อ ต่อเรื่องนี้ ดังนี้
1. โดยหลักการแล้วเป็นเรื่องยอมรับได้ และเป็นเรื่องปกติของความเป็นมืออาชีพในองค์กร ที่ไม่ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับบริหารหรือระดับปฏิบัติการ ให้ข้อมูลที่นอกเหนือนโยบายการสื่อสาร
2. แต่ในอีกด้าน การทำงานของรัฐบาล ซึ่งมีที่มาของอำนาจมาจากประชาชน ควรเปิดเผยข้อมูลของรัฐทุกภาคส่วนเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบด้วยเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ส่วนบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งรัฐ ควรมีการขอการพิจารณาลับเป็นกรณีๆ ไป เป็นข้อยกเว้น
3. ดังนั้น การประชุม ครม. จึงมีความพิเศษ ซึ่งเป็นการประชุมกิจการที่สำคัญของประเทศ ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นความลับพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีข้อมูลออกมามากเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนตรวจสอบได้เช่นกัน
4. ปัญหาของประเทศไทยคืออะไร? ปัญหาของประเทศไทยคือการเข้าถึงข้อมูลมติ ครม. ทำได้ยากเหลือเกิน และหลายครั้งมติ ครม. ที่มีการให้ข่าวออกมาไม่ใช่มติ ครม. ที่สำคัญ แต่มติ ครม. ที่สำคัญกับผลประโยชน์ของประชาชน เช่น โครงการที่ใช้งบประมาณมากๆ มักเป็นการพิจารณา “ลับ”
5. ในการแถลง Agenda หรือวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการเปิดเผยวาระการประชุมมาก่อนเหมือนกับรัฐสภา และสรุปมติ ครม. ที่ออกมาคือการออกมาแค่ที่ ครม. อยากให้ออก มีอีกหลายมติที่สำคัญ ไม่แม้แต่ปรากฏให้ประชาชนรู้ว่ามีการประชุมวาระนี้ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะมติ ครม. ที่เกี่ยวกับกิจการของกองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์ (ต่างจากสภาที่เรารู้ว่ามีวาระประชุมนี้ แต่วาระนี้พิจารณาลับ)
6. ช่องว่างในการปฏิบัติงานที่หลายครั้งเอกสารหลุดออกมา (ส่วนมากมักเป็นข้าราชการที่ทนเห็นความไม่ถูกต้องไม่ได้) จึงมีบทบาทสำคัญในหลายกรณีในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
7. เพื่อแก้ปัญหานี้ สิ่งที่รัฐบาลเศรษฐาเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงในรอบ 20 ปีตามที่ทำกันมา
7.1 มีการเผยแพร่วาระการประชุมล่วงหน้าให้ประชาชนได้รับรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ รัฐบาลพิจารณาเรื่องอะไร เสนอเรื่องโดยใคร และใช้ขอประมาณเท่าไร โดยในกรณีที่เป็นเรื่องพิจารณาลับ รัฐบาลอาจปิดวาระพิจารณาได้ แต่ควรเปิดเผยชื่อของหน่วยงานที่เสนอเรื่องให้พิจารณาและงบประมาณ (ถ้ามีการขอ)
7.2 ในบางประเทศ มีการเก็บ record (อาจเป็นบันทึกชวเลขหรือเทปบันทึก) เพื่อเอาไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยมีการกำหนดระยะเวลาเผยแพร่ในอนาคต
8. สรุป การออกมติ ครม. เรื่องการรักษาความลับเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็มีหน้าที่ทำให้การประชุม ครม. ที่กำหนดชะตาอนาคตของประเทศและเป็นพื้นที่จริงในการจัดสรรงบประมาณมีความโปร่งใสด้วย
อย่าลืมว่าพวกเราปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกการใช้อำนาจของรัฐบาลต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของประชาชน ถ้าการใช้อำนาจของรัฐบาลไม่ถูกมองเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องประชุม ครม. คงไม่ต่างอะไรกับการเอาเงินภาษีประชาชนมาแบ่งเค้กกันตามอำนาจที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงของแต่ละพรรคมี