ขับรถกลางคืนอย่างไรให้ปลอดภัย เคล็ดลับดี ๆ จากฟอร์ด



เคล็ดลับดี ๆ จากฟอร์ดวันนี้ ฟอร์ดจะมาบอกเล่าเคล็ดลับการขับขี่ยามค่ำคืนให้ปลอดภัย พร้อมแนะนำให้รู้จักกับเทคโนโลยีไฟหน้า เมทริกซ์ แอลอีดี ที่มาพร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา ช่วยเพิ่มทัศนวิสัยให้ผู้ขับขี่

คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าการขับรถในเวลากลางคืนนั้นอันตราย แต่ก็ไม่วายมีผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นและมือใหม่ รายงานบางฉบับเปิดเผยว่า อุบัติเหตุดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความเหนื่อยล้า การขาดประสบการณ์ และความสามารถในการตอบสนองที่ลดลง ไปจนถึงความสามารถในการปรับสายตาจากแสงไฟที่สาดเข้ามา1

สถิติจากสมาคมความปลอดภัยบนถนนทางของหลวงของสหรัฐอเมริกา (Governors Highway Safety Association)2 ระบุว่า ผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยหรือมือใหม่ มีแนวโน้มที่จะประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่ที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในช่วงเวลาระหว่าง 21.00 น. ถึงเที่ยงคืน มากกว่าช่วงกลางวันถึง 3 เท่า

ขณะที่ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน (ThaiRSC)3 ในประเทศไทยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างด้านอายุของผู้ขับขี่ที่มีแนวโน้มจะประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในเวลากลางคืน โดยพบข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสมจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ว่า ผู้ขับขี่ช่วงอายุระหว่าง 35-60 ปี มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติบนท้องถนนสูงสุด ตามด้วยผู้ขับขี่ในช่วงอายุ 25-35 ปี โดยช่วงเวลา 20.00 น. เป็นเวลาที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด ย้ำให้เห็นถึงอันตรายของการใช้รถและถนนในประเทศไทยในช่วงเวลากลางคืน

ในปีนี้ ฟอร์ด ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญกับการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน และได้สานต่อโครงการ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ หรือ Ford Driving Skills For Life (DSFL) เป็นปีที่ 16 พร้อมสนับสนุนให้ผู้ขับขี่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงจากการขับขี่ตอนกลางคืน โดยโครงการ Driving Skills For Life (DSFL) เป็นโครงการเพื่อสังคมภายใต้การสนับสนุนของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะการขับขี่ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และนับตั้งแต่เริ่มโครงการ มีผู้ผ่านการอบรมและเรียนรู้ทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัยแล้วกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

สำหรับเคล็ดลับการขับขี่อย่างปลอดภัยในเวลากลางคืนจากฟอร์ด มีดังนี้

เช็ดกระจกหน้ารถด้านในให้สะอาด

หลายคนคิดว่ากระจกบังลมหน้าสกปรกได้แต่เฉพาะด้านนอก จริง ๆ แล้วด้านในก็สกปรกได้ จากรอยนิ้วมือ หรือฝ้า แสงที่ส่องผ่านกระจกหน้าเข้ามาในบางมุมบางจังหวะอาจกระทบกับรอยเปื้อนเหล่านั้น ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ลดลง ดังนั้นจึงควรมีผ้าไมโครไฟเบอร์สะอาด ๆ ติดรถไว้อยู่เสมอ พร้อมเช็ดได้ทันที

เลือกใช้ไฟหน้าให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม

เวลาหมอกลง ก็ควรเปิดไฟตัดหมอก และในทางกลับกัน ถ้าไม่มีหมอก ก็ไม่ควรเปิด เพาะแสงไฟตัดหมอกอาจไปแยงตารถคันที่ขับสวนทางมาจนเกิดอุบัติเหตุได้ หลักการทำงานของไฟตัดหมอกคือสร้างลำแสงตัดทะลุหมอก ต่างจากไฟหน้าปกติที่แสงจะฟุ้งกระจายเมื่อกระทบกลุ่มหมอก และไม่ควรเปิดไฟสูง เพราะแสงจะจ้าจนทำให้มองไม่เห็นถนน นอกจากนี้ไฟเดย์ไลท์ (Daytime Running Light; DRL) ก็ไม่อาจทดแทนไฟตัดหมอกได้ เพราะไฟเดย์ไลท์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในเวลากลางวัน ให้รถคันอื่นสังเกตเห็นเราได้ง่ายและชัดเจนขึ้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตัดหมอก

อย่ามองไปที่แสงโดยตรง

เพราะตาคนเราต้องใช้เวลาในการปรับสภาพเพื่อให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ในสภาพแสงที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อมีแสงจ้าเกิดขึ้นกะทันหัน เช่น แสงไฟจากรถที่ขับสวนทางมา ตาของเราจะไม่สามารถปรับสภาพได้ทัน ส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็น จนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้1 ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว เราจึงไม่ควรมองไปที่แสงจ้าโดยตรง ช่วยปกป้องทัศนวิสัยการมองเห็นในเวลากลางคืนได้

ระวังสัตว์บนถนน

สัตว์หลายชนิดออกหากินในเวลากลางคืน บางชนิดเห็นไฟหน้ารถเป็นไม่ได้ ต้องวิ่งเข้าหาเหมือนแมงเม่า ดังนั้นเราจึงต้องใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น ป้ายจราจรที่ปักอยู่ข้างทางจะบอกให้เรารู้ว่าบริเวณนั้นมีสัตว์ชนิดใดที่ควรระวังบ้าง ช่วยให้สังเกตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ไฟรถจะสะท้อนดวงตาของสัตว์เหล่านี้ก่อนจะเห็นตัว ช่วยให้สังเกตเห็นได้ง่ายขึ้นอีกทาง

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำขณะขับรถตอนกลางคืนคือ มองให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเราคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ไกลเท่าไร ก็ยิ่งทำให้มีเวลาเตรียมตัวรับสถานการณ์ได้มากขึ้นเท่านั้น

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะส่องสว่าง

ปกติไฟต่ำจะส่องได้ไกลประมาณ 70 เมตร ขณะที่ไฟสูงจะส่องได้ไกลประมาณ 200 เมตร เทคโนโลยีไฟหน้าแบบ เมทริกซ์ แอลอีดี (Matrix LED) ในรถฟอร์ด เรนเจอร์ ฟอร์ด เรนเจอร์ แร็พเตอร์ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ ที่มาพร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) ไฟหน้าแบบนี้จะส่องสว่างโดยใช้หลอด LED หลายดวง ช่วยเพิ่มแสงสว่างให้กับถนน และช่วยให้มองเห็นอันตรายต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น


ไฟหน้าแบบ เมทริกซ์ แอลอีดี (Matrix LED) พร้อมระบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam)

เทคโนโลยีไฟหน้า เมทริกซ์ แอลอีดี (Matrix LED) พร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) จะทำงานร่วมกับกล้องหน้ารถ ตรวจจับรถคันข้างหน้าได้ไกลถึง 800 เมตร เมื่อระบบตรวจพบ ไม่ว่าจะเป็นรถที่วิ่งไปทางเดียวกันหรือรถที่สวนทางมา ไฟแอลอีดีจะถูกหรี่ลง เฉพาะบริเวณหน้ารถหรือท้ายรถคันนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟสูงไปรบกวน โดยยังคงประสิทธิภาพการมองเห็นในระยะไกลไว้ให้มากที่สุด

นั่นหมายความว่า ไฟสูงจะยังคงทำงาน และมอบความสว่างให้กับพื้นที่โดยรอบ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ขับขี่รายอื่น ๆ

ระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) จะทำงานภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

– เมื่อความเร็วเกิน 40 กม./ชม.

– เมื่อตรวจไม่พบรถคันหน้าภายใน ‘ระยะการมองเห็น’

– เมื่อเปิดใช้ไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา ผ่านระบบสั่งงานด้วยเสียง SYNC และเมื่ออยู่ในสภาพถนนที่มืดจนต้องใช้ไฟสูง

ถนนทุกสายไม่ได้เป็นเส้นตรง

เทคโนโลยีไฟหน้าแบบ เมทริกซ์ แอลอีดี (Matrix LED) ของรถฟอร์ด ยังมาพร้อมระบบ Dynamic Bending Lights ซึ่งจะทำงานเมื่อเปิดไฟต่ำ โดยเซ็นเซอร์จะคอยตรวจจับความเร็วและองศาการเลี้ยวของรถ แล้วเบนไฟหน้าไปตามทางโค้ง สูงสุด 15 องศา ซึ่งเพียงพอต่อการส่องสว่างบนโค้งหักศอก นอกจากระบบ Dynamic Bending Lights แล้ว รถฟอร์ด เรนเจอร์ เจเนอเรชันใหม่ ยังมาพร้อมไฟตัดหมอกแบบติดตามการเลี้ยวของพวงมาลัย (Static Cornering Lights) ที่ไฟจะติดขึ้นมาในขณะที่รถกำลังเลี้ยวโค้ง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อีกระดับหนึ่ง

ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beam Control)

ในกรณีที่ไฟหน้าไม่ได้เป็นแบบ เมทริกซ์ แอลอีดี พร้อมระบบป้องกันไฟแยงตา ก็จะมีระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beam Control) มาให้ใช้งาน โดยระบบจะทำงานร่วมกับกล้องหน้ารถ คอยตรวจจับรถที่อยู่ข้างหน้า ถ้าถนนมืดและโล่ง ระบบก็จะเปิดไฟสูงให้อัตโนมัติ


โครงการ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ หรือ Driving Skills For Life (DSFL)

โครงการ DSFL เป็นโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการขับขี่อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยหลักสูตรดังกล่าวได้รวบรวมเทคนิคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

การควบคุมรถขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน การควบคุมพวงมาลัย การเลี้ยวและเข้าโค้ง และการถอยจอด นอกจากนี้ ในประเทศไทย ฟอร์ดยังได้นำชุดจำลองสภาวะมึนเมามาให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสทดลองสัมผัสถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

สำหรับปีนี้ โครงการ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ หรือ DSFL ในประเทศไทย จัดขึ้นเป็นปีที่ 16 ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมสามารถติดตามข่าวสารของโครงการได้ทาง Facebook ของฟอร์ด ประเทศไทย

หมายเหตุ:

1 ราชสมาคมแห่งลอนดอนในการป้องกันอุบัติเหตุ (The Royal Society for the Prevention of Accidents), มิถุนายน2560, Driving at Night Factsheet, สืบค้นเมื่อเดือนมิถุนายน2566, จากเว็บไซต์: https://www.rospa.com/rospaweb/docs/advice-services/road-safety/drivers/driving-at-night.pdf

2 สมาคมGovernors Highway Safety Association ในสหรัฐอเมริกา, 1 พฤษภาคม2556, Promoting Parent Involvement in Teen Driving, สืบค้นเมื่อเดือนมิถุนายน2566, จากเว็บไซต์: https://www.ghsa.org/sites/default/files/2016-11/TeenDrivingParentReport%20low.pdf

3 ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน, 2565, สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิต สะสม ประเทศไทย ปี2566, สืบต้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2566, จากเว็บไซต์: https://www.thairsc.com/


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *