คนไทยจ่ายค่ามือถือ-เน็ตถูกหรือแพง โจทย์ใหญ่ กสทช.


สำนักงาน กสทช. เดินหน้าจัดทำดัชนีราคาโทรคมนาคม ตอบคำถามราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตบ้านแพงขึ้นหรือถูกลง ในบริบทบริการโทรคมนาคมแบบหลอมรวม ตั้งเป้ามีดัชนีรายงานทุกไตรมาส

วันที่ 15 กันยายน 2566 รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยว่า สายงานวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) อยู่ระหว่างจัดทำดัชนีราคาในกิจการโทรคมนาคมขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

“สืบเนื่องจากบริบทของบริการโทรคมนาคมในปัจจุบันมีลักษณะการหลอมรวม คือ ให้บริการพ่วงกันทั้งเครือข่ายเคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบ้านออกมาเป็นแพ็กเกจให้ผู้บริโภคใช้ จึงต้องมีการหาเครื่องมือหรือตังชี้วัดเพื่อมองว่าค่าบริการแบบหลอมรวมเหล่านี้แพงหรือถูก และมีผลต่อภาพรวมทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร”

ในต่างประเทศมีการสร้างดัชนีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มี จะต้องสร้างขึ้นผ่านการศึกษา และจัดทำต้นแบบดัชนี เพื่อหาคำตอบราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งแบบรายเดือน (Postpaid) แบบเติมเงิน (Prepaid) และราคาอินเทอร์เน็ตบ้านว่า ปัจจุบันคนไทยใช้บริการแพงขึ้นหรือถูกลง

รศ.ดร.ศุภัช เปิดเผยว่า ปัจจุบันกิจการโทรคมนาคมเข้าสู่การให้บริการแบบหลอมรวม ผู้ใช้บริการไม่ได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการโทรเพียงอย่างเดียว แต่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสื่อสารเปลี่ยนเป็นการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สามารถทดแทนกันได้ทั้งข้อความ ภาพ และเสียง ส่งผลให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และแพร่หลายในทุกช่วงวัย กลายเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เหมือนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถ

Advertisement
@media (min-width: 1139.98px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle1 { min-width: 336px;
min-height: 280px; } }@media (max-width: 768px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle1 { min-width: 336px;
min-height: 280px; } }

จากสถิติจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2565 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 126.4 ล้านเลขหมาย ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประชากรไทยเกือบหนึ่งเท่าตัว ขณะที่พัฒนาการของเทคโนโลยีมีผลอย่างมากต่อการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในไทยปี 2565 มีจำนวน 13.23 ล้านราย คิดเป็นอัตราการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต่อจำนวนครัวเรือนอยู่ที่ร้อยละ 56.11

“ดัชนีนี้จะทำให้เห็นภาพรวมของราคาได้เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าอื่น ๆ หรือเปรียบเทียบกับราคาในอดีต เราจะทำให้งานวิชาการเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของทุกคน และจะช่วยให้สำนักงาน กสทช. สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของแต่ละบริการได้ทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

การดำเนินการครั้งนี้เป็นการใช้สายงานวิชาการ ซึ่งเป็นสายงานใหม่ของ กสทช. ตั้งทีมทำงานมาได้ 3 เดือน เป็นการรวบรวมเอานักวิชาการ และพนักกงานจากหลายส่วนของ กสทช. เพื่อศึกษแลพจักทำต้นแบบ ผลจากการจัดทำดัชนีราคาโทรคมนาคมคาดว่าจะเสร็จสิ้นไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นผลของการควบรวมกิจการโทรคมนาคมจาก 3 รายใหญ่ของไทยเหลือเพียง 2 รายว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากผลของราคาที่จะแสดงออกมาให้เห็นจากการแข่งขันของผู้ประกอบการที่เหลือน้อยราย

สำหรับการจัดทำดัชนีราคาโทรคมนาคมจะถูกออกแบบมาเพื่อสะท้อนภาพราคาให้ผู้บริโภคเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่าผู้ใช้บริการได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือน และอินเทอร์เน็ตบ้านแพงขึ้นหรือถูกลงจากช่วงที่ผ่านมาอย่างไร เช่น ก่อนและหลังการควบรวมกิจการของผู้ให้บริการ ระดับราคาขึ้นหรือลงอย่างไร โดยจะแยกให้เห็นภาพของระดับราคา เป็นรายไตรมาส

Advertisement
@media (min-width: 1139.98px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle2 { min-width: 336px;
min-height: 280px; } }@media (max-width: 768px) { #ud-dfp-ad-pos-pc_inarticle2 { min-width: 300px;
min-height: 250px; } }

ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการได้ปรับการเสนอขายบริการ จากเดิมที่แยกราคาต่อหน่วยชัดเจน มาเป็นบริการในลักษณะแพ็กเกจ (bundle) เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าที่หลากหลาย แต่ก็ยิ่งทำให้ผู้ใช้บริการพิจารณาได้ยากว่า ราคาที่ใช้อยู่นั้นแพงขึ้น หรือถูกลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนมากขึ้น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *