จะดีแค่ไหน.. ถ้าทุกครัวเรือนมี “เฟอร์นิเจอร์สุขภาพประจําบ้าน” อย่างปรอทวัดไข้-เครื่องวัดความดัน 


“ธีระวัฒน์ แดงกะเปา” ผอ.รพ.สต. บ้านสี่แยกสวนป่า ตั้งเป้าชุมชนมี “เฟอร์นิเจอร์สุขภาพประจําบ้าน” ทุกครัวเรือน เน้นสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ อสม. ผู้นำชุมชน ชี้หากปชช.สุขภาพดีไม่ป่วย สามารถช่วยลดรายจ่ายภาพรวมของประเทศได้

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช ร่วมกับ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. พร้อมด้วยเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของชุมชนชวนคน ลด ละ เลิกเหล้า โดยมี นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา ผอ.รพ.สต.บ้านสี่แยกสวนป่า  อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช​​​​​​​ ร่วมด้วย

นาย​​​​​​​ธีระวัฒน์ เผยว่า ตนสวมบทบาทสำคัญอยู่เรื่องหนึ่งคือต้องการผ่าตัดความไม่รู้ด้านสุขภาพของคนในชุมชนให้คนในชุมชนมีความรู้ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพจะเอาตัวรอดสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้นี่ถือเป็นบทบาทสำคัญอีกอย่าง  ซึ่งหมออนามัยมีวิชาชีพทั้งหมด 6 คน ซึ่งพบว่า 1 พันกว่าครัวเรือน หรือ 4,095 คน ไม่มีคนไหนเลยที่หลุดรอดไปจากการดูแลของทีมหมออนามัยของเราโดยดูแลครอบคลุมทุกกลุ่มวัย

“ตนตั้งใจจะรักษาคนด้วยความรู้มากกว่าที่ให้ประชาชนเดินมาหาเราแล้วรักษาด้วยยา เพราะคิดว่าถ้าหาก เราให้ความรู้ไปหนึ่งครั้งอาจเป็นภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตก็ได้ แต่ถ้ารอให้เค้าเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วเดินมาหาเรา บุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งชีวิตก็จะได้ทำงานดูแลรักษาอยู่ตลอด แต่ถ้าทำให้เขามีสุขภาพที่ดีขึ้นอาจจะเป็นการลดภาระงานได้ด้วย และจะทำให้เขาไม่ต้องเดินมา รพ.สต. ในโรคที่ไม่จำเป็น” นาย​​​​​​​ธีระวัฒน์ กล่าว

ทีมสำคัญที่ทำให้สามารถเดินไปถึงปลายทางคือระบบสุขภาพต้นทุนต่ำ หรือ ภาคประชาชนเป็นแกนนนำ  ซึ่งขณะนี้หากใช้แค่คำว่า อสม. อาจจะไม่ครบถ้วน เพราะเรามีผู้ใหญ่บ้านผู้นำท้องถิ่นและทุกพรรคเข้ามาเกี่ยวข้องเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเราใช้ฐานโรงเรียน อสม. เป็นตัวสำคัญในการทำให้แกนนำนั้นมีความรู้เรื่องสุขภาพ นอกจากนี้เรายังมีโรงเรียนแกนนำ อสม. แห่งแรก ซึ่งสร้างมา 21 ปีแล้ว และไม่มีการหยุดการเรียนรู้เลย  

สิ่งหนึ่งที่เป็นรูปธรรมที่ทำให้งานสุขภาพชุมชนเข้มแข็งคือ “เน้นให้ทุกคนทำได้ ทำเป็น” ยกตัวอย่างเรื่องสำคัญเช่น เรามองว่าที่บ้านเราเองมีเฟอร์นิเจอร์อำนวยความสะดวกอะไรบ้างมีทั้งโทรทัศน์ตู้เย็นพัดลมหม้อหุงข้าวโทรโทรศัพท์มือถือเครื่องซักผ้า ซึ่งเมื่อลงเยี่ยมบ้านแทบจะมีทุกหลังคาเรือน แต่เมื่อถามว่า มีปรอทวัดไข้ไหม? มีเครื่องวัดความดันไหม? มีเครื่องเจาะเบาหวานไหม? ปรากฏว่าไม่มี  ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ตนผลักดันอยากให้ทุกบ้านมี “เฟอร์นิเจอร์สุขภาพประจำบ้าน” ควบคู่กับเฟอร์นิเจอร์อำนวยความสะดวก 

“ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของโรงพยาบาล เรื่องของอนามัย แต่ที่จริงเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ทำไมเขาไม่มีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน อย่าง 1,090 หลังคาเรือน ถ้าประชาชนมีเฟอร์นิเจอร์สุขภาพประจำบ้านจะสามารถตรวจสุขภาพด้วยตนเอง” นาย​​​​​​​ธีระวัฒน์ กล่าว

นาย​​​​​​​ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ เราต้องการให้ชุมชนเห็นคุณค่าของเฟอร์นิเจอร์สุขภาพประจำบ้าน ต้องการมองไปถึงระบบสุขภาพต้นทุนต่ำ ต้องการให้ 4,095 คน เข้าใจระบบสุขภาพและมีเครื่องมือใช้ในการดูแลสุขภาพและจะไม่เป็นโรคที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน โดยทีมหมออนามัยมีการเรียนรู้เครื่องมือสุขภาพมีการคัดกรองคนที่เป็นต้นแบบดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องเบาหวาน ความดัน อย่างพื้นที่มีการทดลองกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโดยการสังเกตพฤติกรรมการกินในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งเรามีเป้าหมายโดยให้กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นผู้ป่วย ลองนึกดูว่าคนกลุ่มนี้ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย อย่างน้อยเงินในส่วนของการซ่อมแซมสุขภาพในแต่ละปีภาพรวมประเทศช่วยให้ลดรายจ่ายงบประมาณได้ อีกทั้งถ้าทำให้ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ยังสามารถลดต้นทุนค่ารักษาได้ 

ทั้งนี้ ในยุคโควิดที่ผ่านมาเราไม่มียาแต่มีการตั้งธนาคารฟ้าทะลายโจร และได้มีการผลิตกันเองส่งไปให้พื้นที่ต่างจังหวัดได้อีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของพื้นที่ในช่วงสถานการณ์โควิด เป้าหมาย สูงสุดคือทำให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดียุทธศาสตร์ที่ได้ใช้และสำคัญที่สุดคือการสร้างสังคมและทีมหมออนามัยทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนเพื่อให้ยั่งยืน เราตั้งไว้ว่าทุกคนเป็นหมอของตัวเอง ถ้าหากสำเร็จจริงจะทำให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยเปลี่ยนไปอย่างมาก


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *