คอลัมน์ : สัมภาษณ์พิเศษ
ถือเป็นจังหวะที่ลงตัว เมื่อ “ประชาชาติธุรกิจ” มีโอกาสได้สัมภาณ์พิเศษ ดร.จุฬชาติ จงอยู่สุข หัวหน้าวิศวกรระดับภูมิภาค บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด คนไทยผู้ร่วมพัฒนาไฮลักซ์ รีโว่,ฟอร์จูนเนอร์
และล่าสุด กับรถที่ใครหลายคนเฝ้ารอ “กระบะ ไฮลักซ์ IMV 0” และ “ไฮลักซ์ BEV” จากค่ายโตโยต้า ที่กำลังเข้าคิว เตรียมแนะนำออกสู่ตลาด หลังจากเมื่อช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมา อดีตนายใหญ่ อากิโอะ โตโยดะ ได้ใช้เวทีฉลอง 60 ปี โตโยต้า ประเทศไทย ประกาศแผนงานชัดเจนว่า โตโยต้า เตรียมทำคลอดรถยนต์อีก 2 รุ่น เราไปเจาะลึกถึงแนวคิด การออกแบบ และที่ไปที่มาของทีมพัฒนาโปรดักต์
ต้องเข้าถึงง่ายขึ้น
ดร.จุฬชาติเล่าว่าย้อนกลับไปที่โครงการ IMV 0 หลายคนจะเริ่มรู้จักตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2565 ช่วงที่ คุณอากิโอะ โตโยดะ ประธานใหญ่โตโยต้าในขณะนั้น ได้มาร่วมงานฉลอง 60 ปี โตโยต้า ประเทศไทย พร้อมประกาศว่า โตโยต้ามีแผนจะแนะนำรถ IMV 0 และไฮลักซ์ BEV (ปิกอัพไฟฟ้า) ออกสู่ตลาด ซึ่งโดยปกติโตโยต้าจะไม่ทำแบบนี้ ทุกอย่างจะเป็นความลับจนใกล้ถึงวันทำคลอด
และนี่คือแนวใหม่ ที่โตโยต้าต้องการให้ทุกคนตระหนักว่า เราได้ทดลองอะไรใหม่ ๆ ไว้ให้ลูกค้า เช่น รถในตระกูล IMV 0 นั้น คือความพยายามทำให้ทุกคนเข้าถึงรถของโตโยต้าได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
จุดเริ่มต้น เราต้องมองก่อนว่าลูกค้าของ IMV 0 คือใคร ซึ่งโจทย์ของโตโยต้า ลูกค้า คือกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เป็นมอเตอร์ไซค์แบบพ่วงข้าง ที่โตโยต้าพยายามนึกว่าถ้าเป็นคนในกลุ่มนี้ต้องการจะใช้รถ สเต็ปถัดไปคือ อยากมี “รถส่วนตัว” และยังต้องการใช้รถนี้หาเงิน ใช้ในการทำมาหากินได้ นี่คือสิ่งแรกที่เป็นพื้นฐานของความต้องการของคนกลุ่มนี้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของ ไฮลักซ์ IMV 0 คอนเซ็ปต์เราคือ “MOBILITY For All”
โตโยต้าพยายามสื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง หลายคนเวลาคิดโปรดักต์อาจจะมองไปที่กลุ่มลูกค้ามีเงินนิดหนึ่ง มีความชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้ว แต่โตโยต้าเรากำลังมองว่า เราไม่ได้ลืมใครไว้ข้างหลัง นี่คือจุดที่มาของโครงการ IMV 0 จะเรียกได้ว่า IMV 0 นั้นจะกลับสู่พื้นฐานของคำว่า “รถยนต์มีไว้เพื่ออะไร” เรากำลังขยายฐานลูกค้า และกลับไปมองลูกค้าที่จะขยับจากผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ขึ้นมาที่รถยนต์ โตโยต้า คำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ปัญหาต้องน้อยที่สุด
ชื่อก็บอกไว้แล้วว่า คือ ไฮลักซ์ ดังนั้นพื้นฐานก็คือรถไฮลักซ์ เป็นต้นแบบ ซึ่งจุดนี้โตโยต้ามองว่า ไฮลักซ์มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก ดังนั้น โตโยต้าจึงใช้แพลตฟอร์มนี้มาตั้งแต่ปี 2558 (2015) กับไฮลักซ์ รีโว่ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะได้ลองตลาด ได้ฟีดแบ็กจากลูกค้าทั่วโลกมาปรับปรุงเพื่อให้เป็นรถที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ดังนั้น IMV 0 ที่จะทำรถให้คนที่ขยับขึ้นมาจากรถมอเตอร์ไซค์มาเป็นคันนี้ สิ่งหนึ่งที่เขากังวลคือ รถเขาต้องไม่เป็นอะไร down time ต้องน้อยที่สุด คอนเซ็ปต์คือรถไม่ควรจะพัง วิ่งหาเงินได้ตลอด ล้อต้องหมุนตลอดเวลา ซึ่ง IMV 0 ทำอย่างไรก็ได้ให้ปัญหาตรงนี้น้อยที่สุด ทำให้การบำรุงรักษาอยู่ในวงจำกัดมากที่สุด เราจึงเริ่มจากพื้นฐานของ “ไฮลักซ์” ตัวหัวเดี่ยว และโตโยต้าพยายามทำให้มั่นใจว่าจะต้องซ่อมน้อยที่สุด
ยึดคอนเซ็ปต์ ABC
คอนเซ็ปต์หลัก ๆ ง่าย ๆ ของ IMV 0 คือ คอนเซ็ปต์ ABC ตัว A คือ affordable เป็นรถที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย คนใช้รถจักรยานยนต์สามารถก้าวข้ามมาตรงนี้ได้ จ่ายเงินเพิ่มนิดหนึ่ง แต่เป็นเจ้าของรถได้ B คือ business focus อย่างที่บอกคือ ล้อหมุนแล้วเงินร่วง ทำอย่างไรก็ได้ ให้รถคันนี้เหมาะสำหรับการทำมาหากิน
และ C คือ conversion การแปลงด้านหลัง เนื่องจากเป็นกระบะหัวเดี่ยว หรือหัวกระสือ นี่คือเป้าหมายของเรา และด้านหลังจะทำอย่างไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการและธุรกิจของลูกค้า ทำอย่างไรก็ได้ให้รถคันนี้สามารถ convert ได้ง่าย แพลตฟอร์มเราพยายามออกแบบไม่ให้ขวาง ถ้าเทียบกับรุ่นปัจจุบันอาจจะต้องใช้ชิ้นส่วนบางอย่างที่ทำให้พื้นเรียบ ตัวนี้จะแก้ตรงนั้นแล้ว เมื่อพื้นเรียบแล้วก็สามารถออกแบบใช้งานได้หลากหลาย
นี่คือสิ่งที่เราตั้งเป้าว่าจะต้องแตกต่างจากตัวปัจจุบัน หน้าที่ IMV 0 จะเกิดมาเพื่อคนที่ยังก้าวไปไม่ถึงตัวซิงเกิลแค็บ ให้สามารถเป็นเจ้าของรถโตโยต้าได้ สามารถเข้าถึงคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความทนทาน
รองรับงานหลายรูปแบบ
ตัวรถ ทำจากโรงงานของโตโยต้าเลย คือ พื้นกระบะเรียบ/เป็นหัวเดี่ยวพื้นเรียบที่ทำออกมาจากโรงงาน พื้นเรียบจะต้องยกขึ้นมาในระดับไม่มาก เพื่อให้เรียบเวลาขนของไม่ต้องกังวลว่าจะติดซุ้มล้อ และรถคันนี้เกิดมาเพื่อธุรกิจแบบนี้เลยใช้พื้นที่ให้เต็มที่ และสามารถรองรับรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เรียกว่า infinity คอนเซ็ปต์ IMV 0 คันนี้ขึ้นมาแล้ว 70% ส่วนอีก 30% เป็นส่วนการออกแบบตามความต้องการที่ลูกค้าจะมาใส่เพิ่ม
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถออกแบบความต้องการร่วมกับโตโยต้า และพาร์ตเนอร์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำ คอก ตู้กระบะหลัง รถกาแฟ โมบายช็อป เวลาลูกค้ามาสั่ง ดีลเลอร์จะสามารถแนะนำ พาร์ตเนอร์ที่สามารถออกแบบ พัฒนาให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามความต้องการหลากหลายมาก ต้องรอดูจุดเด่นของโครงการนี้ โตโยต้า ให้พาร์ตเนอร์เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เขียนแบบ ไม่เหมือนโปรเจ็กต์ทั่วไป ที่ทำรถเสร็จแล้ว ไปให้เขาดูว่าทำอะไรได้บ้าง
และเมื่อใช้ไป คุณจะรู้ว่าโตโยต้าตั้งใจทำตรงนี้ออกมา พอได้ IMV 0 แล้ว จะต่อยอด สเต็ปอัพไปเรื่อย ๆ ตัวนี้จะเป็นบันไดขั้นแรก ให้ก้าวขึ้นมาก่อน และสุดท้ายคุณก็จะมีความสุขกับรถยนต์ของโตโยต้า IMV 0 คันนี้
กระบะ อีวี มาแน่
สำหรับปิกอัพEV อดใจรออีกอึดใจหนึ่ง เรามองว่าความต้องการของตลาดแบตเตอรี่อีวี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเพิ่มขึ้นในมุมไหน คือ ลูกค้าใช้งานในเมือง ทีมตรงนี้ก็พยายามศึกษาและผลักดัน ในมุมของรถคอมเมอร์เชียลจะเป็นอีกรูปแบบ ถ้ามองว่ากระบะซิงเกิลแค็บ จะไปใช้งานในเรือก สวน ไร่ นา เป็นส่วนใหญ่
ซึ่งยังมีจุดที่จะต้องสร้างอินฟราสตรักเจอร์ให้เหมาะสม กระบะไฟฟ้ามีทดลองวิ่งกันมาแล้ว ทุกคนรอคอย แต่เราเข้าใจว่าจะต้องมีไพโอเนียร์ (ผู้นำ) มาแน่ สำหรับตัวนี้ โตโยต้า BEV