.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
ชุมชนป่าเมี่ยงแม่พริก ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ในอดีตทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีอาชีพที่พึ่งพิงกับป่า ด้วยการปลูกชาอัสสัม หรือชาเมี่ยง เพื่อทำเมี่ยงหมัก และเก็บหาของป่า
แต่ด้วยประชากรเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีเริ่มเข้าไปในชุมชน ประกอบกับความนิยมบริโภคเมี่ยงหมักลดลง ชุมชนมีรายได้ลดลง ก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกป่าปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และใช้สารเคมีการเกษตรสูง ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในป่าที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชนเริ่มลดน้อยลง
พืชท้องถิ่นที่ชุมชนมีการใช้ประโยชน์ 19 ชนิด อยู่ในสถานภาพเป็นพืชหายากหรือใกล้สูญหายจากพื้นที่ ชุมชนต้องพึ่งพาอาหาร ยารักษาโรค และไม้ใช้สอยจากภายนอกมากขึ้น รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ปี 2558 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) โดยโครงการพัฒนา พื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี ได้เริ่มเข้ามาดำเนินโครงการในชุมชนป่าเมี่ยงแม่พริก วางเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคงด้านอาหาร และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ลดการบุกรุกป่า ฟื้นฟู อนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
โดยยึดหลัก “การพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนแบบโครงการหลวง” พร้อมนำแนวทาง “โครงการธนาคารอาหารชุมชนตามพระราชดำริ” (Food Bank) พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาดำเนินงานสร้างแหล่งอาหารในผืนป่าและในชุมชน เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคประจำวันและหมุนเวียนตลอดทั้งปี
เริ่มจากการสร้างแหล่งอาหารฝากไว้ในผืนป่า อันเปรียบเสมือนการฝากเงินในระบบธนาคาร มีการรักษาและปลูกพืชท้องถิ่นหลากหลายเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นอาหารทั้งของคนและสัตว์ เป็นยารักษาโรค และมีประโยชน์ใช้สอยต่างๆ เช่น ไม้ใช้สอย สีย้อมธรรมชาติ และแหล่งพลังงาน
ให้คนในชุมชนสามารถถอนออกมาใช้ประโยชน์ได้ เปรียบได้กับการถอนเงินในระบบธนาคาร และหากมีเหลือจากการบริโภคแล้ว สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างเป็นอาชีพและสร้างรายได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความหวงแหนและช่วยกันดูแลผืนป่าและแหล่งน้ำรอบชุมชน
ทำให้เกิดมีดอกเบี้ยความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชนมีเพิ่มขึ้นด้วย เปรียบได้กับดอกเบี้ยในระบบธนาคาร
ปัจจุบันชุมชนบ้านป่าเมี่ยงแม่พริกมีแหล่งอาหารจากพืชท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารจากธรรมชาติได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภค ช่วยลดรายจ่ายจากการต้องซื้อจากภายนอกลงกว่าร้อยละ 50
ก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร เพราะสามารถผลิตข้าวได้ปีละ 3,000 กก. และมีพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นสำหรับใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 53 ชนิด ชุมชนมีอาชีพที่หลากหลายและเกื้อกูลป่า สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ทำให้มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ “ก่อให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้” ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันต้นแบบ “ธนาคารอาหารในป่า” ของชุมชนป่าเมี่ยงแม่พริกมีการขยายผลเพิ่มขึ้นใน 2 บริบทพื้นที่ ได้แก่ บริบทชุมชนป่าเมี่ยง (ชาอัสสัม) และบริบทชุมชนปลูกข้าวโพด/ไร่หมุนเวียน ในพื้นที่เครือข่ายจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และน่าน รวม 25 ชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสร้างรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีพของชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อเป็นกลไกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน.
ชาติชาย ศิริพัฒน์