“นพ.สุรพงษ์” ยันเป้าหมายรัฐ ให้ 3 สิทธิ คุณภาพรักษาเหมือนกัน-บัตรปชช.ใบเดียวใช้ได้ทุกที่


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

“นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” ยอมรับ สิทธิบัตร 30 บาท คุณภาพการรักษาบางด้านดีกว่าสิทธิอื่น แต่ยืนยัน 3 สิทธิต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน จ่อคุยประกันสังคม-กรมบัญชีกลาง ดึงมาใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ โยนแรงงานพิจารณาให้จ่ายเบี้ยลดลง

วันที่ 18 พ.ย. 2566 นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ กล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ ในกรณีสงคมตั้งข้อสงสัยสิทธิรักษาพยาบาล 30 บาท กับประกันสังคม เหมือนไม่เท่าเทียมกัน จนหลายคนอยากออกจากระบบไปใช้สิทธิ 30 บาทแทน ว่า ปัจจุบัน ผู้ประกันตนในประเทศไทย มี 3 สิทธิคือ สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคมและสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค คือ เราเริ่มต้น 30 บาทนี้มาตั้งแต่ปี 2544 ก็คือ 22 ปีที่แล้ว โดยวันนี้แต่ละสิทธิ ก็มีการพัฒนากันไปตามลำดับ ซึ่งวันนี้อาจจะกล่าวได้ว่าสิทธิของ 30 บาทรักษาทุกโรคในบางด้าน อาจจะมีสิทธิที่ดีกว่าคนในระบบประกันสังคม ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะนิ่งนอนใจ ก็พยายามที่จะแก้ปัญหา แต่เป้าหมายสุดท้ายก็คือเราต้องการให้ทั้ง 3 สิทธินี้มีคุณภาพในการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานเหมือนกัน คือมีความสามารถในการรักษาพยาบาล ใช้ยาที่มีมาตรฐานเหมือนกัน มีระยะเวลาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้เหมือนกัน เป็นสิ่งที่เราตั้งเป้าที่จะให้ได้ตรงนั้น 

ส่วนในเรื่องการพัฒนาบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ตามสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคในวันนี้ก็เป็นการนำร่องในส่วนของสิทธินี้ก่อน 40 กว่าล้านคน ซึ่งเมื่อระบบเสถียรแล้วก็จะสามารถดึงประวัติการเจ็บป่วยของผู้ที่อยู่ในระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคได้ทุกคน

“ผมคิดว่าในอนาคตต่อไปสิทธิของระบบประกันสังคมและสิทธิข้าราชการก็จะต้องใช้ในรูปแบบเดียวกัน คือทุกคนสามารถจะรักษาได้ทุกที่ โดยจะต้องไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นโรงพยาบาลประจำตัวอีกต่อไป ดังนั้นเวลาเราตั้งระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงต้องมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ดูแลกรมบัญชีกลาง มาพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เราต้องการ ที่จะทำให้ทุกสิทธิได้รับมาตรฐานและความสะดวกสบายเหมือนกัน” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ

เมื่อถามว่าผู้ถือบัตรประกันสังคมจะได้ใช้สิทธิบัตรประชาชนใบเดียวสามารถรักษาได้ทุกสถานที่เหมือนกับบัตร 30 บาทได้เมื่อไหร่หรือจะมีการพิจารณาเมื่อใด

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่าขณะนี้เราได้เริ่มนำร่องใน 4 จังหวัดที่จะเริ่มในวันที่ 8 มกราคม 2567 คือ จังหวัดร้อยเอ็ด แพร่ เพชรบุรี และนราธิวาส จะเริ่มต้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคก่อน แต่เชื่อว่าเมื่อทำระบบนี้ไปสักระยะหนึ่ง ระบบฐานข้อมูลสุขภาพมีความพร้อมแล้ว เรื่องของการจ่ายเงินของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ก็จะมีการพูดคุยกับทางสำนักงานประกันสังคมและกรมบัญชีกลางต่อไปว่า จะเข้ามาอยู่ในระบบของการจ่ายเงินที่มีลักษณะร่วมกันได้หรือไม่ 

“อันนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาในเชิงนโยบายร่วมกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งผมเชื่อว่าในที่สุดแล้วเป้าหมายปลายทางก็จะต้องมีลักษณะเดียวกัน” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่า คุณภาพยาด้วยหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ใช่ จะต้องมีลักษณะเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยาตามบัญชียาแห่งชาติ ซึ่งในอนาคตก็จะมีการปรับปรุงตลอดเวลา โดยที่ผ่านมาอาจจะมีการพัฒนาปรับปรุง แต่อาจจะทิ้งเวลากันพอสมควรกว่าจะได้มีการปรับปรุงใหม่ แต่ภายใต้เทคโนโลยีแบบใหม่ ที่มี AI ก็จะสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพของยา รวมทั้งการรับไปและการจ่ายเงินมา AI ก็จะช่วยให้การทบทวนบัญชียาหลักทำได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น

เมื่อถามว่า ระบบใหม่จะมีแผนรองรับในเรื่องเตียงไม่เพียงพอหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ณ วันนี้ ปัญหาของ ความแออัดในโรงพยาบาลมีทั้งในส่วนของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยในส่วนของผู้ป่วยนอกหากระบบลงตัวแล้วจะทำให้ความแออัดในโรงพยาบาล และจะทำให้ผู้ป่วยนอกจำนวนไม่น้อย ประมาณครึ่งหนึ่งสามารถที่จะไปที่คลินิกเอกชนไปที่ร้านขายยา หรือไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีระบบเทเลเมดิซีนได้ ฉะนั้นความแออัดในผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ก็อาจจะน้อยลง

ส่วนในเรื่องของการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในวันนี้ก็จะมีเรื่องของเตียงในบางที่อาจจะไม่พอ แต่ในบางที่อาจจะเหลือ ภายใต้ระบบต่างๆ ฐานข้อมูลที่เราออนไลน์ทั้งหมด ก็จะสามารถทำให้เราวางแผนได้ว่า ที่ไหนมีเตียงมากเกินไปที่จะเกลี่ยได้ไปในที่ที่มีเตียงน้อยได้ รวมทั้งเรื่องบุคลากรด้วย ที่จะต้องมีการเพิ่มอัตราพยาบาลให้มากขึ้นอีก ก็จะทำให้สิทธิการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในของผู้ถือบัตร 30 บาทมีมาตรฐานได้ดีขึ้นอีก 

“ผมคิดว่า ต่อไปเรื่องของฐานข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายทรัพยากรทำให้เราวางแผนลดความแออัดที่จะสามารถแก้ไขได้ ขณะเดียวกันในอนาคตก็มีการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี ผมเองก็มีความรับผิดชอบ ก็อาจจะมีการประชุมครั้งใหญ่ที่จะพัฒนาโรงพยาบาลทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายเครื่องมือ เรื่องเตียง เพราะเราก็ว่างเว้นการพัฒนาขีดความสามารถอุปกรณ์ต่างๆ ของโรงพยาบาลมานานแล้ว วันนี้ถ้าหากเริ่มต้นที่เรื่องนี้จริงจัง เชื่อว่าใช้ระยะเวลาไม่นาน ที่เราจะสามารถเพิ่มการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลให้ทันสมัยได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสุขภาพ ที่รัฐมนตรีว่าการเคยพูดไว้ว่าจะพยายามทำให้เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ มีโมเดลที่จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ มีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีเรื่องการป้องกันไม่ให้บริโภคอาหารที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เรื่องลดน้ำตาล โดยเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำควบคู่กันไปให้ครบวงจร” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่าโมเดล 30 บาท plus จะเป็นผู้นำร่องในเรื่องนี้หรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่าเราใช้คำว่า 30 อัปเกรดยกระดับโมเดล 30 บาทรักษาทุกโรคจะเป็นโมเดลนำร่องที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุขครั้งใหญ่ อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าเราใช้ระบบแบบเดิมตั้งแต่เมื่อ 22 ปีที่แล้ว โดยให้แต่ละโรงพยาบาลรับมาแบบจ่ายไปรายหัว ซึ่งในขณะนั้นก็มีความจำเป็น ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีมันไปไม่ถึง 

“22 ปีที่แล้ว ไม่มีสมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไม่มีระบบคลาวด์ แต่วันนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราเคยฝันเมื่อ 22 ปีที่แล้ว เราทำได้แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มพัฒนาจากระบบ 30 บาทก่อน เมื่อระบบนี้เราสรุปบทเรียนแล้ว มีการศึกษาวิจัยข้อมูลอย่างถูกต้องแล้ว ระบบของข้าราชการ ระบบประกันสังคมก็จะมีการพัฒนาต่อไป” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่าจะมีข่าวดีให้กับคนที่ถือบัตรประกันสังคมจะสามารถจ่ายเบี้ยได้ลดลงต่อเดือนหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องการเก็บเงินประกันสังคมคงเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะต้องพิจารณา อันนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ จึงอาจจะตอบแทนให้ไม่ได้

ภาพ : เอกลักษณ์ ไม่น้อย


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *