นศ.จาก มทร.ล้านนา ผลิตน้ำปู๋กึ่งสำเร็จรูป ครั้งแรกในไทย กินง่าย สะดวกเก็บได้นาน


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

ทีมนักศึกษา มทร.ล้านนา เชียงใหม่โชว์ผลงาน “น้ำปู๋กึ่งสำเร็จรูป” แห่งแรกแห่งเดียวของเมืองไทย ปั้นซอฟต์พาวเวอร์อาหารเหนือ ให้กินง่าย เก็บไว้ได้นาน แถมการันตีคุณภาพน้ำปู๋ผลิตจากปูนาเกษตรอินทรีย์ ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว

เมื่อคิดถึงอาหารเหนือ หากไม่นับน้ำพริกหนุ่มกับแคบหมูแล้ว “น้ำปู๋” ถือเป็นหนึ่งอาหารพื้นเมืองคู่ครัวทางภาคเหนือมายาวนาน ไม่ต่างกับปลาร้าของชาวอีสาน เมนูที่จะขาดน้ำปู๋ไม่ได้มีหลากหลายมากมาย ทั้ง ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ โดยมี “น้ำพริกน้ำปู๋” เป็นเมนูยอดนิยมที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารของชาวล้านนา

ปัจจุบันมีกลุ่มชาวบ้านและวิสาหกิจ ใช้ปูนาผลิตเป็นน้ำปู๋บรรจุกระปุกฝาแดงจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของอายุการเก็บ และกลิ่นที่ค่อนข้างแรง ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ ผุดไอเดียเอาชนะข้อจำกัดของอาหารเหนือ โดยใช้ใช้นวัตกรรมอาหารผลิตน้ำพริกน้ำปู๋กึ่งสำเร็จรูป ได้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย

ดร.ลมัย ผัสดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคมและงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา กล่าวว่า เทรนด์อาหารที่เปลี่ยนไปทำให้คนรุ่นใหม่รู้จักและบริโภคน้ำพริกน้ำปู๋กันน้อยลง กลุ่มชาวบ้านผู้ผลิตก็ลดลงตามไปด้วยและทยอยเลิกทำกันไป จึงเกิดแนวคิดในการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน เพื่อให้มีความทันสมัยและก้าวเข้าสู่ตลาดที่กว้างขึ้น

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคมฯ มทร.ล้านนา กล่าวต่อว่า ทางมหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มผลิตน้ำปู๋วิสาหกิจชุมชนตำบลเขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ก่อนจะเริ่มโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น ด้วยการใช้นวัตกรรมอาหารยกระดับจากน้ำปู๋ฝาแดงแบบดั้งเดิม ด้วยการอบแห้งไล่ความชื้นออกจากน้ำปู๋ จนกลายเป็นน้ำพริกน้ำปู๋กึ่งสำเร็จรูปได้สำเร็จ ทำให้กินง่ายสะดวกสบาย เก็บได้นานไม่ต่างกับอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั่วไป ที่สำคัญก็ คือ น้ำปู๋จากตำบลเขื่อนผาก ผลิตจากปูนาจากนาเกษตรอินทรีย์จึงการันตีความสะอาดปลอดภัย

ดร.ลมัย กล่าวอีกว่า วิธีรับประทานก็แค่ฉีกซองเทลงในถ้วย เติมน้ำร้อนทิ้งไว้หกถึงเจ็ดนาที ก็จะได้น้ำพริกน้ำปู๋แสนอร่อย ได้รสชาติดั้งเดิม รวมทั้งยังนำไปปรุงรสอาหารเมนูอื่นๆ ได้อีกมากมาย ล่าสุดได้จดสิทธิบัตรพร้อมกับขอจดตราสินค้าแบรนด์ “ปรุงนา” เพื่อสร้างโอกาสให้น้ำพริกน้ำปู๋ผงอบแห้งยกระดับมูลค่าที่สูงขึ้นและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ล่าสุดมีคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกไปจำหน่ายให้กับคนไทยในประเทศออสเตรเลียแล้ว

ด้าน นางสาวลภัสนันท์ อินต๊ะสอน นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ตัวแทนทีมนักศึกษา บอกว่า น้ำปู๋หากินยากเพราะปูนาเกรดดีเริ่มน้อยลงและยังมีเพียงปีละครั้งในช่วงฤดูฝน เชื่อว่าการยกระดับจะทำให้ความต้องการของตลาดมากขึ้น นอกจากใช้นวัตกรรมทางอาหารเข้ามาช่วย นักศึกษายังเข้าไปช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ ในการจำหน่ายสินค้า รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนในการพัฒนาและอยากเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงให้ทำให้น้ำปู๋เป็นซอฟต์พาวเวอร์อาหารของภาคเหนือ และให้คนไทยรู้จักอาหารเหนือมากขึ้น

สำหรับผลงานผลิตภัณฑ์น้ำปู๋อบแห้ง ทีม Finn (ฟินน์) ประกอบด้วย น.ส.กันต์กรนัฐ กรวัฒน์ธยาน์, น.ส.อังคณา อุ่นนันกาศ, น.ส.ศุภนัดดา ชัยวุฒิ , น.ส.ประภาทิพย์ ศรีดวงแก้ว, น.ส.ลภัสนันท์ อินต๊ะ, น.ส.จุฑาภรณ์ ภูมิมาลา นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ประเภทกินดี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566.


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *