นักวิจัยชี้ ‘ผักเคล’ ซุปเปอร์ฟู้ดช่วยกู้โลก ลดภาวะเรือนกระจก


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

ผักเคล (Kale) หรือ คะน้าใบหยิก ฉายา ราชินีผักใบเขียว หนึ่งในผักที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ซึ่งมีสรรพคุณมากมายที่ส่งผลดีต่อร่างกาย นอกจากนี้แล้ว ผักเคล ในปัจจุบันยังถูกนำมาทำเป็นเครื่องประทินผิว โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าจะสร้างผลประโยชน์ที่ดีต่อโลกในเส้นทางแห่งความยั่งยืน และลดโลกร้อนได้อีกด้วย

ผักเคล (Kale) ผักในตระกูลของกะหล่ำ หนึ่งในฉายาราชินีผักใบเขียวที่มากด้วยสรรพคุณ โดยเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ซึ่งทาง ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม เคยกล่าวยืนยันไว้ว่า ผักเคลมีประโยชน์เยอะ หากรับประทานแค่นิดเดียวจะได้คุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารหลายสิ่ง รับประทาน 10 กรัม ได้วิตามินเคที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงเรียกได้ว่าเป็น super food สำหรับสายสุขภาพ

ผักเคล หรือ ผักคะน้าใบหยิก สามารถเติบโตได้ดีในอากาศเย็น ในประเทศสกอตเเลนด์ให้ความสำคัญกับผักเคลเป็นอันมาก เนื่องจากในช่วงหน้าหนาวพืชผลบางอย่างปลูกไม่ได้ ยกเว้นผักเคลที่เจริญเติบโตได้ดี จนเกิดสำนวน come to kale หากต้องการเชิญชวนใครมากินข้าวที่บ้าน  

ผักเคล มีมากมายหลายสายพันธุ์ อยู่ในตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลี วอเตอร์เครส บรอกโคลี กะหล่ำม่วง และดอกกะหล่ำ ประเทศไทยมีผักเคลที่นิยมอยู่ 2 สายพันธุ์ที่ปลูกง่าย และหารับประทานได้ทั่วไปประกอบด้วย

ผักเคลใบหยิก (Curly Kale) มีความโดดเด่นที่ขอบใบหยิก ลำต้นแข็ง รสชาติคล้ายกะหล่ำ ขมนิดๆ นิยมนำมากินเป็นสลัด และทำสมูตตี้ หรือปั่นเป็นน้ำผัก

ผักเคลใบตรง (Lacinato Dinosaur Kale) หรือบางคนเรียก เคลไดโนเสาร์ มีลักษณะสีเขียวเข้ม ใบกว้าง 2-3 นิ้ว มีความโดดเด่นที่ใบตรงแต่มีรอยย่น รสชาติออกหวานมากกว่าเคลใบหยิก นิยมนำมากินเป็น “สลัด” หั่นเส้นบางๆ หรือพอดีคำ แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำมันมะกอก และนอกจากนี้ผักเคลยังมีอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่แต่ละประเทศมีไม่เหมือนกัน โดยจะถูกนำมาปรุงแต่งอาหารได้หลากหลายรสชาติ ตามแหล่งปลูกในแต่ละประเทศ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ 

คุณค่า และสรรพคุณของ ‘ผักเคล’

  • ค่าไฟเบอร์สูง
  • เบต้าแคโรทีน
  • แคลอรีต่ำ  
  • สารโพแทสเซียม ที่ชะลอ และช่วยลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง 
  • ธาตุเหล็ก
  • แคลเซียม 
  • มีสารวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ, วิตามินเค, วิตามินซี ลูทีน และซีแซนทีน 
  • สารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง

ผักเคล นอกจากจะทานสด และนิยมนำมาเป็นสลัด และผักเคียงแล้ว ยังนิยมนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมทั้งชนิดของผง แคปซูล ให้สำหรับคนไม่ทานผักได้ทานเสริมกันด้วย 

ความนิยมของผักเคล ผักสารพัดประโยชน์ที่ทำให้คนทั่วโลกที่รักสุขภาพหันมาทานผักชนิดนี้กัน ซึ่งทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย แต่กลับเป็นการ “ทำร้ายโลกของเราด้วยขยะจากเศษผักเคล” เหล่านี้ที่หลงเหลืออยู่นั้นมีจำนวนมาก และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมหาศาล รวมถึงขยะจากผักชนิดอื่นๆ ด้วย

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าและวิจัยในการเปลี่ยนขยะที่เกิดจาก ‘ผักเคล’ ให้มาเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ในการดูแลประทินผิว ที่สามารถช่วยลดขยะจากอาหารจากผัก และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วย ซึ่งไอเดียการสกัดที่นำขยะผักเคลกลับมาใช้อย่างยั่งยืน และส่งผลดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นโดย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนันยาง ประเทศสิงคโปร์ (Nanyang Technological University) ที่มีการค้นคว้าและวิจัยให้นำเศษขยะจากผักเคลเหล่านี้มาสกัดและกรอง โดยใช้เป็นตัวทำละลายที่เรียกว่า NADES (ตัวทำละลายยูเทคติกจากธรรมชาติ เป็นของเหลวที่ปลอดสารพิษ ประกอบด้วยสารต่างๆ จากพืช เช่น กรดอะมิโน น้ำตาล และน้ำมันจากพืช)

ทีมวิจัยให้ความเห็นว่า “แม้ว่า NADES จะได้รับการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการแยกสารสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และยา มาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใครทราบเกี่ยวกับความสามารถในการสกัดสารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพประเภทต่างๆ จากขยะที่เกิดจากผัก” 

ทีมวิจัยของ NTU (Nanyang Technological University) ให้ความสนใจไปที่สารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผักเคล โดยได้วิจัยกับตัวลำละลาย NADES หลายชนิด ซึ่งนำไปผสมกับของเสียจากผักเคลที่แปรรูป เพื่อสังเกตดูว่าโมเลกุลต่างๆ นั้นมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างไร จากการทดสอบซ้ำ ทีมวิจัยพบว่าเมื่อนำของเสียจากผักเคล และส่วนผสมของ NADES มากวน และพักไว้ จะแยกออกเป็นชั้นๆ ตามธรรมชาติ ช่วยให้สามารถสกัดสารที่มีประโยชน์ต่างๆ จากผักเคล เช่น โพลีฟีนอล แคโรทีนอยด์ และคลอโรฟิลล์ ออกมาได้ง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านความร้อนที่ส่งผลกระทบต่อโลก

ทีมวิจัยกล่าวเสริมสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ว่า “การวิจัยนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนในการกรองของเสีย ช่วยลดขั้นตอนในการสกัด และต้นทุนที่ถูกลดลง” ทีมวิจัยของ NTU กล่าวว่า “พวกเขามั่นใจว่าวิธีการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้มีความคุ้มค่าและเป็นที่น่าดึงดูดสำหรับอุตสาหกรรมจากเศษขยะอาหาร ที่จะสามารถช่วยลดโลกร้อนได้อย่างง่ายดาย” 

ศาสตราจารย์ Hu Xiao จาก NTU School of Materials Science and Engineering (MSE) และผู้อำนวยการโครงการ Sustainable Chemistry & Materials สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมและน้ำนันยาง (NEWRI) กล่าวว่า “การใช้สารที่ไม่เป็นพิษ และตัวทำละลายจากธรรมชาตินี้ ทำให้ปลอดภัยกับผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น ในเวลาเดียวกัน วิธีการนี้ยังคงรักษาประสิทธิภาพ และสารที่มีประโยชน์ของผักเคลให้คงอยู่เกือบทั้งหมด ซึ่งทำให้เป็นที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

การวิจัยนี้มีเป้าหมายในการนำสารอาหารที่สกัดออกมาจากขยะจากผักเคลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้สูงสุด ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ดูแลประทินผิว เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสารสกัดจากสมุนไพรได้ 

ทีมงานจาก NTU ได้ให้ข้อสรุปว่า แนวทางนี้จะกลายเป็หนึ่งในการจัดการขยะอาหาร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้อย่างดี เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน โดยมีขยะเป็นศูนย์ ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงปารีสของสหประชาชาติ ในโครงการ Net Zero

การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Separation and Purification Technology และนับตั้งแต่มีการตีพิมพ์ออกไป ทีมวิจัยดังกล่าวยังได้ยื่นจดสิทธิบัตรในสิงคโปร์สำหรับนวัตกรรมนี้ และมีแผนพัฒนาต่อไปในอนาคต ในการสกัดสารประกอบที่เป็นประโยชน์จากผัก ผลไม้ประเภทอื่นๆ และพืชสมุนไพร เช่น แก้วมังกร ผักโขม และผักกาดหอม ที่มีประโยชน์ไม่แพ้กัน.

ข้อมูล : worldeconomicforum, royalparkrajapruek

ภาพ : istock


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *