วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 11.44 น.
26 พฤศจิกายน 2566 นายเทง จันทะวงค์ อายุ 60 ปี ชาวประมงบ้านดอนที่ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้นำเรือเล็กลงน้ำเพื่อสำรวจไซลั่น ซึ่งเป็นอุปกรณ์หาปลาพื้นบ้าน ริมแม่น้ำโขง ที่ใส่ทิ้งเอาไว้ประมาณ 2 เดือน โดยมีการย้ายบ้างเมื่อน้ำขึ้นลง โดยขณะที่ได้สำรวจไซลั่นอยู่ พบว่ามีไซ 1 อันประตูได้ปิดลงมา จึงเข้าไปสำรวจ พบว่าภายในมีปลาติดอยู่ภายในมีลักณะแปลก ไม่เหมือนปลาแม่น้ำโขงทั่วไป จึงได้เรียก นายสมศักดิ์ นันทะรัตน์ อายุ 46 ปี ชาวประมงใหมู่บ้านเดียวกันมาช่วยดูว่าเป็นปลาชนิดใด
หลังจากที่นายสมศักดิ์ เข้าไปดูที่ไซลั่น โดยครั้งแรกคิดว่าเป็นปลา สเตอร์เจี้ยน ซึ่งพักหลังจับได้มากแต่ พบว่าเกล็ดมีสีขาวและขนาดใหญ่ จึงคาดว่าจะเป็นปลาช่อนอเมซอน จึงได้นำขึ้นฝั่งเพื่อเปิดไซดู แต่เมื่อนำออกมาพบว่าที่จับได้มีปากคล้ายจระเข้ แต่ตัวเป็นปลา สร้างความแตกตื่นให้กับผู้ที่มาพบเห็น โดยนายสมศักดิ์ ระบุว่า ปลาดังกล่าวเป็นปลาอัลลิเกเตอร์ คาดว่าจะเป็นปลาที่มีคนเลี้ยงไว้เมื่อโตเต็มที่แล้วนำมาปล่อยเพราะเลี้ยงไม่ไหว หรืออาจจะหลุดมาจากบ่อที่เลี้ยงไว้ก็ได้
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะได้นำไปมอบให้สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ให้ดูแลและทำการวิจัยถึงการมีอยู่และการที่อยู่ในแม่น้ำโขงจะมีผลกระทบกับปลาพื้นที่ถิ่นหรือไม่
ทางด้าน ดร.ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ อาจารย์สาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ปลาชนิดนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ 5- 10 กิโลกรัม มีพื้นถิ่นฐานอยู่ในอเมริกาตอนใต้ มีการนำเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และมีการเพาะเลี้ยงเพื่อสันทนาการ ปลาชนิดนี้ ทนต่อภาวะออกซิเจนน้อย ปรับตัวได้ดีในแม่น้ำแล้ว ที่ผ่านมาพบว่าการบริโภคปลาชนิดนี้โดยนำเนื้อไปปรุงสุก แต่ไข่มีพิษเบื่อเมา เพื่อเป็นการเลี่ยงอันตรายควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อด้วย
“ในไทยยังไม่ได้มีการติดดามประเด็นเรื่องนี้นัก ที่ผ่านมาพบปลาชนิดนี้ในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศไทยทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และอีสาน คาดว่าหลุดมาจากการนำมาเลี้ยง หรือตั้งใจปล่อยเพราะเลี้ยงไม่ไหว ส่วนการขยายพันธุ์ จะเป็นไปได้ยากในธรรมชาติ หากว่าสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำธรรมชาติยังมีการจัดการที่ดี ปลาท้องถิ่นจะกั้นไม่ให้ปลาต่างถิ่นเข้ามามีโอกาสขยายพันธุ์ได้” ดร.ชัยวุฒิ กล่าว
ในส่วนของ สเตอร์เจี้ยน ที่พบบ่อยในแม่น้ำโขง มีการพบในแม่น้ำโขงพื้นที่ จ.เชียงราย ในฝั่งลาว จนถึงภาคอีสาน ปัจจุบันพบว่า เพราะมีการนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร และหลุดลอดมาในแม่น้ำโขง ในกรณีของปลาอัลลิเกเตอร์ ยังไม่ได้เป็นปลาที่นิยมนำมาบริโภคจึงคาดว่าจะเป็นการหลุดหรือนำมาปล่อยเพราะเลี้ยงไม่ไหว.012
<!–
window._taboola = window._taboola || [];
_taboola.push({
mode: ‘thumbnails-a’,
container: ‘taboola-below-article-text-links’,
placement: ‘Below Article Text Links’,
target_type: ‘mix’
});
–>