การปัสสาวะบ่อยแค่ไหน จึงจะถือว่าผิดปกติ ?
โดยปกติคนเราจะปัสสาวะเฉลี่ย 6 – 8 ครั้งต่อวัน ถ้าหากใครที่ปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งต่อวัน โดยไมได้มีพฤติกรรมการดื่มน้ำที่มากเกินไป อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกายหรือปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งการปัสสาวะบ่อยเกินไปเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บางคนไม่รู้ตัวว่าตนเองปัสสาวะบ่อยหรือมีอาการเข้าข่ายภาวะปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติ
ผู้ที่มีภาวะปัสสาวะบ่อยนี้จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าคนทั่วไป เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าคนทั่วไป ทำให้ทุกครั้งที่ปวดปัสสาวะจะมีอาการรุนแรงที่ต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ในทันที ซึ่งแม้ว่าภาวะปัสสาวะบ่อยนี้จะไมได้รุนแรงถึงชีวิต แต่ก็ปฏิเสธไมได้ว่าภาวะปัสสาวะบ่อย มักจะสร้างความทรมานและความรำคาญให้ผู้นั้น เนื่องจากในบางกรณีอาจปวดทุกชั่วโมงจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งในเวลากลางคืนด้วย
ภาวะปัสสาวะบ่อย
ผู้ที่มีภาวะปัสสาวะบ่อยมักจะปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งต่อวัน สามารถเปรียบเทียบความถี่ในการปัสสาวะของตนเองและคนรอบข้างในวัยที่ใกล้เคียงกันได้ รวมทั้งคอยสังเกตความสามารถในการควบคุมปัสสาวะของตนเองได้ว่า สามารถควบคุมได้มากหรือน้อยเพียงใด เนื่องจากผู้ที่มีภาวะปัสสาวะบ่อยมักจะไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะของตนเองได้ หากมีอาการปวดปัสสาวะมักจะต้องเข้าห้องน้ำทันที
ภาวะปัสสาวะบ่อยนี้ สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่อาจพบในช่วงอายุที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในผู้หญิงมักพบในวัยมหาวิทยาลัยหรือวัยทำงาน ในขณะที่ในผู้ชายมักจะพบในช่วงวัยที่มากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต่อมลูกหมากโตหรือการทำงานของสมองเริ่มบกพร่อง
ภาวะปัสสาวะบ่อยในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะปัสสาวะบ่อยในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เรียกว่า หลงปี้ (??) มาจากคำว่า หลง (?) แปลว่า อาการปัสสาวะขัด หรืออาการใด ๆ ที่ทำให้ปัสสาวะลำบาก และคำว่า ปี้ (?) แปลว่า ปิด
รวมคำว่า หลงปี้ (??) จึงหมายถึง ลักษณะอาการหนึ่งในศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งหมายถึง การปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะในปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะค้าง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการแปรสภาพของชี่ของกระเพาะปัสสาวะและซานเจียว (โดยเฉพาะเซี่ยเจียว) มีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ ความร้อนชื้นเคลื่อนลงสู่เบื้องล่าง ชี่ตับติดขัดเป็นเวลานาน ชี่ของไตพร่อง และเกิดการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุและกลไกการเกิดโรคภาวะปัสสาวะบ่อยในศาสตร์การแพทย์แผนจีน มาจาก 4 สาเหตุ ดังนี้
- ร้อนชื้นเคลื่อนลงสู่เบื้องล่าง (????) อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหวานมันในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดเป็นสิ่งสกปรกไหลลงสู่เบื้องล่างของร่างกาย และเกิดเป็นความร้อนชื้นสะสมขึ้น โดยผู้ป่วยมักจะปวดตึงบริเวณท้องน้อย ปากขมและเหนียว มักจะรู้สึกกระหายน้ำแต่ไม่อยากดื่มน้ำ ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหนียวเหลือง ชีพจรเฉินและซู่
- ความเครียดทำให้ชี่ของตับติดขัด (????) ปกติชี่ของตับจะต้องมีการระบายออก หากเกิดการติดขัดในด้านการระบาย ที่มักเกิดจากความเครียด ย่อมส่งผลให้อารมณ์ติดขัด ส่งผลต่อการกระจายชี่ของตับด้วยเสมอ ดังนั้น เมื่อชี่ของตับระบายออกได้ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อซานเจียว ( ? ?) ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งทางการแพทย์แผนจีนที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารน้ำ ทำให้การขับปัสสาวะมีปัญหา โดยผู้ป่วยมักจะปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ปวดบริเวณชายโครง ปากคอขม ฝ้าลิ้นขาวบาง หากตรวจชีพจรจะพบว่า ชีพจรเสียน
- โรคเรื้อรังเป็นเวลานาน (????) ส่งผลให้ไตอ่อนแอ ซึ่งในศาสตร์การแพทย์แผนจีนถือว่า ไตเป็นไฟแห่งชีวิต ดังนั้น เมื่อไตอ่อนแอ ไฟแห่งชีวิตจึงเสื่อมถอย (????) และเมื่อหยางไม่มี ย่อมส่งผลให้อินไม่เกิด (???????) ทำให้ไม่มีปัสสาวะ ผู้ป่วยจึงมักจะปวดเมื่อย ไม่มีชีวิตชีวา สีลิ้นซีด หากตรวจชีพจรจะพบว่า ชีพจรเฉินและซี่
- ทางเดินปัสสาวะอุดตัน (????) เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปัสสาวะติดขัด และปวดปัสสาวะบ่อยเกิดจากเลือดคั่ง ตะกอนหรือนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บอื่น ๆ โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแน่นที่ท้องน้อย สีลิ้นม่วงหรือมีจุด หากตรวจชีพจรจะพบว่า ชีพจรเซ่อ
แนวทางการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม โดยใช้วิธีการฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ ดังนี้
จุดฝังเข็มหลัก : GuanYuan (CV4), SanYinJiao (SP6), YinLingQuan (SP9), PangGuangShu (BL28)
จุดฝังเข็มประกอบ :
- กลุ่มร้อนชื้นเคลื่อนลงสู่เบื้องล่าง ใช้จุดฝังเข็ม ZhongJi (CV3), XingJian (LR2)
- กลุ่มชี่ของตับติดขัด ใช้จุดฝังเข็ม TaiChong (LR3), ZhiGou (TE6)
- กลุ่มชี่ของไตพร่อง ใช้จุดฝังเข็ม ShenShu (BL23), TaiXi (KI3)
- กลุ่มเลือดคั่ง ใช้จุดฝังเข็ม XueHai (SP10), GeShu (BL17)
จุดฝังเข็มบริเวณหู :
แพทย์จะเลือกใช้จุด Urinary bladder, Kidney, Triple Energizer, Urethra โดยเลือกใช้ครั้งละ 1 – 3 จุด ประกอบกับการกระตุ้นไฟฟ้าโดยใช้ความแรงปานกลาง และคาเข็มไว้ 40 – 60 นาทีและ/หรือใช้เมล็ดหวังปู่หลิวสิง ติดที่หูตามจุดดังกล่าวก็ได้
บทสรุปและคำแนะนำ
จากสาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากขาดการดูแลตัวเอง หรือมองข้ามความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หลายประการภาวะปัสสาวะบ่อยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการดูแลสุขภาพ แม้จะดูเหมือนเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาวะนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีความผิดปกติเกี่ยวกับการปัสสาวะตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ และเพื่อให้การรักษาได้อย่างถูกวิธีและรวดเร็ว โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา ซึ่งไม่เพียงแต่ให้การรักษาอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น แต่มุ่งเน้นการรักษาที่ต้นเหตุเป็นสำคัญ โดยวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการและลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้การรักษาถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว
สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ “ทีมหมอจีน” คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111
เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 – 16:00 น.
LINE OA: @huachiewtcm
Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic