เผยแพร่: 18 ต.ค. 2566 6
ไขข้อสงสัยกินยาเยอะแล้วอันตรายต่อตับ-ไต หรือไม่? แพทย์ย้ำผู้ป่วยโรคNCDsหรือมีโรคประจำตัวควรกินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็น กลุ่มของโรคประกอบด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันเลือดสูง อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด ถุงลม โป่งพองและมะเร็ง ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นหลัก หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะนำมาสู่การเป็นโรคร้ายแรงต่อไปและเสียชีวิตได้ ซึ่งนับเป็นภัยคุกคามของโรคที่คร่าชีวิตมากที่สุด ขณะที่คนไทยเองก็ป่วยมากถึง 14 ล้านคน อีกทั้งหลายคนไม่รู้ตัวว่าเสี่ยงสูงกว่าโรคจะสะสมก็ลุกลามรุนแรงแล้ว
สัญญาณ 7 โรค NCDs มะเร็ง-เบาหวานเรื้อรังเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวันอันควร
โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน
การรักษาโรคNCDs
เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ลดความเครียดและนอนหลับ ให้เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ แพทย์จึงต้องแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีความกังวลใจเกี่ยวกับการกินยารักษาโรคเหล่านี้เพราะได้ยินกันมาว่า “กินยานาน ๆ แล้วส่งผลเสียตับไต” ในความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูงและอ้วนลงพุงต่างหากที่ไม่รักษาอาจทำให้ไตเสื่อมลง เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง หรือเกิดภาวะไขมันพอกตับและตับแข็งในระยะเวลาต่อไปได้
3 นิสัย “วัยทำงาน” เสี่ยงกลุ่มโรคNCDs เรื้อรังอัตราเสียชีวิตสูง
กินยามากเสี่ยงผลเสีย ?
ในปัจจุบันยารักษาแต่ละกลุ่มมีกลไกการออกฤทธิ์ รวมถึงภาวะอันไม่พึงประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งยาและสารทุกชนิดในโลกนี้สามารถก่อให้เกิดผลเสียที่เราไม่ต้องการทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การสั่งยาต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยนั้น แพทย์จะพิจารณาโดยคำนึงประโยชน์และผลเสียจากยาเสมอ โดยหวังให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากยามากที่สุดและเกิดผลเสียให้น้อยที่สุด หลังสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วย แพทย์หรือเภสัชกรจะมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา นัดผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาและมีการเฝ้าระวังผลเสียหรือภาวะอันไม่พึงประสงค์ของยาที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ต่อไป ในส่วนของผู้ป่วยเองก็ควรรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเกิดจากยา หรือได้รับยาหรืออาหารเสริมนอกเหนือจากที่ได้รับจากแพทย์ ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยทุกครั้ง สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา
รู้อย่างนี้แล้วผู้ป่วยควรกินยาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกันการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรักษาและควบคุมโรคให้สงบเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพจาก : shutterstock
กินจุ-กินบ่อย-กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน สัญญาณเบาหวาน รู้ทันรักษาทัน!
กลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ภัยแฝงวัยทำงานสาเหตุเสียชีวิตอันดับ 1
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP