
เผยแพร่: 28 พ.ย. 2566 50
โรคไตไม่ไกลตัวแค่กินผิดชีวิตก็เปลี่ยน เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงก่อนป่วยไม่รู้ตัวเสี่ยงบั่นทอนสุขภาพเสียทรัพย์ค่ารักษา
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
โรคไตเป็นโรคที่น่ากลัว ไม่แค่โรคที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต บั่นทอนสุขภาพโดยรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายยังสูงและเสียเวลาในการมาฟอกไตตลอดชีวิตด้วย ซึ่งหลายคนมองข้ามการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไตโดยไม่รู้ตัวแนะวิธีป้องกันไตเสื่อม ทั้งคนที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว
การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคไต แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก
- กลุ่มที่มีโรคประจำตัว โรคเบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจ บุคคลกลุ่มนี้ต้องดูแลควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
เปิดสาเหตุโรคไต ที่ไม่ใช่แค่กินเค็ม อาการที่ต้องรีบพบแพทย์ก่อนไตวาย
เบาหวาน-ความดัน คุมไม่มีเสี่ยงไตวายแทรกซ้อน คำแนะนำผู้ป่วยตามระยะโรค

- กลุ่มคนทั่วไป สิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นประจำ คือการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อหาความผิดปกติ และเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรค
อาหาร-เครื่องดื่ม ตัวแปรสำคัญดูแลสุขภาพ
ทุกคนควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ คือ 2 ลิตรต่อวัน ส่วนอาหาร ที่ควรต้องลดทั้งรสหวานและรสเค็ม
- อาหารเค็ม องค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคเกลือประมาณ 2,000 มิลลิกรัม/วัน ขณะที่ อาหารไทย 1 อย่างส่วนใหญ่มีเกลืออย่างน้อย 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เช่น น้ำปลา 1 ช้อนชา มีเกลือ 400 มก. วันหนึ่งจึงไม่ควรกินเกิน 5 ช้อนชา ดังนั้น สิ่งที่เราสามารถเริ่มได้ด้วยตัวเองคือทำอาหารกินเอง เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- อาหารหวาน องค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่ควรเกิน 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชาต่อวัน ควรลดปริมาณขนม น้ำหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน ส่วนอาหารจำพวกแป้งและพืชผักชนิดหัวที่มีปริมาณน้ำตาลมาก อย่าง เผือก มัน ไม่ควรกินเยอะเกินไป
น้ำหนักแค่ไหน ไม่เสี่ยงโรคไต
ดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ควรอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระหว่าง 18-25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- ผู้ชาย – รอบเอวไม่ควรเกิน 90 ซม. หรือ 35.5 นิ้ว
- ผู้หญิง – รอบเอวไม่ควรเกิน 80 ซม. หรือ 31.5 นิ้ว
ไม่มองข้ามการออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณวันละ 30 นาที หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ สิ่งสำคัญคือเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และโปรตีนสมดุลกับกิจกรรมหรือชนิดกีฬาที่เลือก เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและพักผ่อนเพียงพอ
- การออกกำลังกายที่เน้นความแข็งแรงของหัวใจ (Cardio Vascular) หรือคาร์ดิโอ คือ การออกกำลังกายที่เน้นกระตุ้นการเต้นของหัวใจ บริหารระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ
- การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Weight Training) หรือเวทเทรนนิ่ง เป็นการใช้น้ำหนักเพื่อให้เกิดแรงต้านทาน อาจใช้อุปกรณ์อย่างดัมเบล บาร์เบล หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่
- การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ (Flexibility exercises) เช่น โยคะ รำมวยจีน
สัญญาณ “โรคไต” 1 ในโรค NCDs ที่อัตราป่วยคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
โปรตีนแค่ไหน เรียกว่าสมดุล
- ผู้ที่นั่งทำงานอยู่กับที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ควรได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ที่ออกกำลังกายแบบคาดิโอ ควรได้รับโปรตีน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
- ผู้ที่ออกกำลังกายแบบคาดิโอและเวทเทรนนิ่ง ควรได้รับโปรตีน 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สำหรับผู้หญิง และ 2-3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ในผู้ชาย อาทิ อกไก่ 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 23-25 กรัม ถ้าน้ำหนักตัว 50 กก.ต้องรับประทานอกไก่ 300 กรัม สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายแบบคาดิโอ
ปริมาณโปรตีนที่กล่าวไปนั้น ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคไต หรือไตเสื่อม เพราะผู้ป่วยไตเสื่อมจะต้องการโปรตีนเพียง 0.6-0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ซึ่งปริมาณโปรตีนจะขึ้นอยู่กับระดับความเสื่อมของไต เพราะเมื่อโปรตีนถูกเผาผลาญแล้วไตจะทำหน้าที่ขับของเสียนั้นออกจากร่างกาย แต่ถ้าไตเสื่อม ขับของเสียได้จำกัดและปริมาณของเสียมากจะส่งผลให้ของเสียค้างในเลือดสูง
ใช้ยาและสารเคมี ต้องระวังให้ดี
ส่วนใหญ่มีการบริโภคยาเกินความจำเป็น และมักมีผลต่อการทำงานของไตคือ “ยาแก้ปวด” ซึ่งผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัว อย่างการปวดขา เกาต์ มักซื้อยามากินเอง เพิ่มความเสี่ยงให้ได้ทำงานน้อยลง นอกจากนี้ สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดที่รับประทานแล้วทำให้ไตเสื่อม หรือบางกรณีของผู้ที่เป็นไตเสื่อมและเลือกไปรับประทานยาสมุนไพร มีผลให้ความเสื่อมเพิ่มขึ้นได้
ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ เหล่านี้คือสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่เพื่อตัวเราเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ภาพจาก : Freepik
5 ระยะไตวายเรื้อรัง ภัยเงียบที่ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแม้เสียไตไปข้างหนึ่ง!
5 อาหารบำรุงไต ปรับสมดุลร่างกายลดโรคเรื้อรัง ชะลอไตเสื่อมก่อนวัย
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP

