เผยแพร่: 27 ต.ค. 2566 9
ฝังเข็มหนึ่งใน ศาสตร์แพทย์แผนจีน ทางเลือกการรักษาที่ขึ้นชื่อเรื่องการรักษาสมดุลร่างกาย เช็ก 100 โรคที่ WHO ให้การรับรองและ ช่องทางการเช็กรายชื่อผู้ประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนจีนที่นี้!
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
อีกศาสตร์การรักษาที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันคือการแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine : TCM) ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย โดยเชื่อว่ามนุษย์มีพลังงานแห่งชีวิต 2 อย่าง ที่เรียกว่า “ชี่” (Qi) และ “เลือด” (Xue) ไหลเวียนทั่วร่างกายผ่านตามทางเดินของเส้นลมปราณหลักทั้งหมด 14 เส้น ซึ่งในแต่ละเส้นจะเชื่อมโยงกับอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ชี่และเลือดจะเป็นตัวให้พลังแก่อวัยวะต่างๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แพทย์เผยเคสปอดรั่วหลังฝังเข็ม ย้ำมีประโยชน์แต่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
เทคนิคฝังเข็ม “Dry Needling” ศาสตร์คลายจุดปวด ให้ไลฟ์สไตล์สมดุลชีวิต
การฝังเข็ม (Acupuncture)
เป็นหนึ่งในศาสตร์การแพทย์ที่มีการรักษามานานหลายพันปี โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมากฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกายตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน กลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันพบว่า การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณระบบประสาทของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ ตั้งแต่ชั้นผิวหนัง เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และหลอดเลือด ทำให้เกิดสัญญาณประสาทผ่านเข้ามาในไขสันหลัง ซึ่งสัญญาณประสาทส่วนหนึ่งจะย้อนออกไปจากไขสันหลังเกิดเป็นวงจรสะท้อนกลับ(reflex)
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื้ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น สัญญาณประสาทอีกส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองเพื่อไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่างๆในสมองให้มีการหลั่ง “สารสื่อสัญญาณประสาท” ออกมาหลายชนิดพร้อมกับการกระตุ้นสัญญาณประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทอัตโนมัติ
การฝังเข็มบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย ช่วยยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ ปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย ยับยั้งปฏิกิริยาภูมแพ้ที่ไวเกินไป ปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น ซึ่งการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มมีอยู่กว้างขวางมากมาย ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศให้การรับรองและระบุโรคและกลุ่มโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็มกว่า100โรค และมีรายงานวิจัยหลายรายงานพบว่า โรคบางโรครักษาโดยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่าหรือมากกว่าการใช้ยาการฝังเข็มจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูระบบต่างๆของร่างกายสู่สภาพสมดุลปกติ
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
- กลุ่มอาการปวดต่างๆ
- อัมพฤกษ์ อัมพาต และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคพาร์กินสัน
- โรคทางหู
- โรคภูมิแพ้
- โรคเครียด
- โรคทางผิวหนัง ความงาม
- โรคระบบทางเดินอาหาร และลำไส้
- โรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
- โรคเบาหวาน
- ลดความอ้วน กระชับสัดส่วน หรือเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
- เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด เป็นต้น
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
- โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายไป
“ปอดทะลุ” ภัยที่นักสูบเลือกเองเผยสัญญาณเสี่ยง รักษาไม่ทันอันตรายถึงชีวิต
ผลข้างเคียงในการฝังเข็มที่อาจเกิดขึ้นได้
- เป็นลม สาเหตุเกิดจากตื่นเต้น กลัวเข็ม ร่างกายอ่อนเพลีย ท้องว่าง หิวข้าว หรือเกิดจากการกระตุ้นเข็มมากไป
- เข็มติด เข็มงอ เข็มหัก สาเหตุเกิดจากมีการขยับตัวเวลาปักขับ ดังนั้นผู้ป่วยต้องพยายามอยู่นิ่งให้มากที่สุด
- เลือดออก สาเหตุเกิดจากการปักเข็มถูกเส้นเลือดที่อยู่ใต้ผิวหนังหรืออยู่ในกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์พยายามหลีกเลี่ยงอยู่แล้วแต่อาจเกิดได้ ตอนถอนเข็มต้องกดทันทีเพื่อหยุดเลือดไม่ให้ออก
- ลมขังในโพรงเยื่อหุ้มปอด ข้อแทรกซ้อนนี้ค่อนข้างรุนแรง แก้ไขโดยแพทย์ต้องระมัดระวัง ไม่ปักเข็มในบริเวณที่อาจทะลุเข้าปอดได้ และคนไข้ต้องอยู่นิ่ง ๆ ในขณะทำการฝังเข็ม
เตรียมตัวรักษาโดยการฝังเข็ม
- กินอาหารตามปกติก่อนมาฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าท้องว่างมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย
- ควรสวมเสื้อผ้าแบบสบาย ๆ กางเกงหลวม
- ขณะรับการฝังเข็ม ถ้าอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
อย่างไรก็ตามการเลือกการรักษาแพทย์แผนจีนควรรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรโดยกระทรวงสาธารณสุขมาแล้วเท่านั้นโดยตรวจเช็ครายชื่อโรคศิลปะแพทย์แผนจีน “คลิกที่นี้”
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลกรุงเทพและกรมการแพทย์
ภาพจาก : freepik และ shutterstock
ปอด หัวใจ สมอง 3 ระบบร่างกายสัมพันธ์กัน เกิดความผิดปกติเพียง 1 เสี่ยงสารพัดโรค
“ออร์โธปิดิกส์”ศาสตร์-เทคโนโลยีรักษากระดูกและข้อครอบคลุมกล้ามเนื้อ
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP