ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV 2566 ปีนึงต้องจ่ายเท่าไร


อย่างที่รู้กันดีอยู่ว่าใครที่มีรถยนต์นั้นจะต้องมีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี 2566 ซึ่งแน่นอนว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV ก็ต้องมีการเสียภาษีด้วยเหมือนกัน แต่สำหรับใครที่เพิ่งหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้าก็จะต้องมีการศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ดี วันนี้เราเลยจะมาบอกข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV 2566 ปีนึงต้องจ่ายเท่าไร มาเช็กกันดีกว่า


ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV 2566

ในปัจจุบันนั้นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าถือว่ากำลังเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยอย่างมาก เพราะมีหลายคนที่หันไปเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ทำให้รถ EV มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าการจะซื้อรถยนต์สักคันนั้นเรื่องของการศึกษาหาข้อมูลถือเป็นเรื่องที่สำคัญ หลายคนคงจะตั้งคำถามว่า รถยนต์ไฟฟ้าต้องจดทะเบียนไหม มีการเสียภาษีเหมือนรถยนต์สันดาปหรือไม่ ต้องบอกเลยว่ามีการเสียภาษีเช่นเดียวกัน แต่ภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกกว่ารถยนต์สันดาป

งั้นเรามาดูกันว่ารถยนต์ EV มีการเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง ตามมติครม. เห็นชอบให้ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าลง 80% ของอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน สำหรับรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 68

ภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ต้องเสียเท่าไหร่

รถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน

  • น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท

  • น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 60 บาท

  • น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 90 บาท

  • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 160 บาท

  • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 200 บาท

  • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 260 บาท

  • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 330 บาท

  • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 380 บาท

  • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 440 บาท

  • น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 480 บาท

  • น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 520 บาท

  • น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 560 บาท

  • น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 600 บาท

  • น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 640 บาท

  • น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 680 บาท

  • น้ำหนัก 7,001 กก. ขึ้นไป ต้องเสียภาษี 720 บาท

อ่านเพิ่มเติม : รถยนต์ไฟฟ้า EV แต่ละรุ่นลดเหลือเท่าไหร่? หลังใช้มาตรการลดภาษีและเงินอุดหนุน

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน

  • น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 15 บาท

  • น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท

  • น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 45 บาท

  • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 80 บาท

  • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 100 บาท

  • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 130 บาท

  • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก.ต้องเสียภาษี 160 บาท

  • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 190 บาท

  • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 220 บาท

  • น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 240 บาท

  • น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 260 บาท

  • น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 280 บาท

  • น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท

  • น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 320 บาท

  • น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 340 บาท

  • น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 360 บาท

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าประจำปี

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าประจำปี หลังวันที่ 30 กันยายน 2568

การลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าในข้างต้นนี้เป็นไปตามมติครม. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 68 เท่านั้น แต่ถ้าหากหมดช่วงลดภาษีรถไฟฟ้าไปแล้ว เราจะต้องจ่ายเท่าไหร่ ลองมาดูกัน

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน

  • น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท

  • น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท

  • น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 450 บาท

  • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 800 บาท

  • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,000 บาท

  • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 1,300 บาท

  • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,600 บาท

  • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,900 บาท

  • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 2,200 บาท

  • น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 2,400 บาท

  • น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 2,600 บาท

  • น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 2,800 บาท

  • น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 3,000 บาท

  • น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 3,200 บาท

  • น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 3,400 บาท

  • น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 3,600 บาท

ภาษีรถยนต์ EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน

  • น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 75 บาท

  • น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท

  • น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 225 บาท

  • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 400 บาท

  • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 500 บาท

  • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 650 บาท

  • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 800 บาท

  • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 950 บาท

  • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,100 บาท

  • น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,200 บาท

  • น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,300 บาท

  • น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,400 บาท

  • น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,500 บาท

  • น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,600 บาท

  • น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,700 บาท

  • น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 1,800 บาท

อ่านเพิ่มเติม : รวมรถยนต์ไฟฟ้า EV มือสอง ราคาถูก น่าซื้อที่สุดในปี 2023

ภาษีรถจักรยนต์ไฟฟ้า

ภาษีรถจักรยนต์ไฟฟ้า ต้องจ่ายเท่าไหร่

ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 68

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 10 บาท

  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 10 บาท

ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า หลังวันที่ 30 กันยายน 2568

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 50 บาท

  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 50 บาท

จดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ

  • หนังสือแจ้งจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต

  • หลักฐานการได้มาของรถ ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี

  • หลักฐานการประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

  • แบบคำขอจดทะเบียนรถรวมทั้งหนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)

  • นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อความถูกต้อง

ซื้อรถยนต์มือสอง one2car

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง one2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *