เผยแพร่: 14 ต.ค. 2566 13
ขึ้นชื่อว่ามะเร็ง หากรู้ตัวว่าป่วยเป็นใครก็ต้องตกใจ แต่กับมะเร็งเต้านมหากรู้ทันในระยะ 0-1 สามารถรักษาหายได้ขาด เผยวิธีปฏิบัติตนเมื่อผู้ว่าป่วย
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
มะเร็งเต้านม พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก ซึ่งสาเหตุของการก่อโรคมีมากมายจนใกล้ตัวผู้หญิงอย่างคาดไม่ถึง โดยหากเราโชคร้ายเข้ารับการตรวจคัดกรองหรือมีอาการข้างต้นคล้ายกับสัญญาณเตือนต่างๆของโรคมะเร็ง เมื่อแพทย์ได้ทำการแจ้งผลว่าป่วยเป็นมะเร็ง ไม่ว่าจะระยะใดก็ตาม สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือตั้งสติให้พร้อมรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และหากรู้เร็วสามารถรักษาหายได้อย่างแน่นอน
“ดู-คลำ-กด “ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง รู้ทันลดความรุนแรงของโรค
ลิสต์อาหารป้องกัน “มะเร็งเต้านม”ชะลอโรคลุกลามกระตุ้นภูมิคุ้มกัน!
มะเร็งเต้านม รักษาหายได้ หากรู้เร็ว
การรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันมีผลการรักษาดีมาก โดยเทียบตามระยะ (Stage) ผู้ป่วยมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ได้ถึง 5 ปี (5 year survival rate) จากข้อมูลของ American Cancer Society มี ดังนี้
- ระยะ 0 100%
- ระยะ 1 100%
- ระยะ 2 93%
- ระยะ 3 72%
- ระยะ 4 22%
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม
- คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
- ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือ บวมหนา เหมือนเปลือกส้ม
รวมถึงสีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- มีน้ำเหลือง หรือ ของเหลวไหลออกมาจากหัวนม
- อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ ผิวหนังของเต้านมอักเสบ
- ผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด
ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านม
เสียใจได้แต่อย่าสิ้นหวัง เพราะมะเร็งเต้านมสามารถรักษาได้ และควรรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งให้ผลการรักษาดี บางรายสามารถหายได้
- การตรวจเจอมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ควรจะดีใจมากกว่าเสียใจ เพราะการเจอมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ดีกว่าเจอตอนมีอาการ หรือคลำพบก้อนที่เต้านมแล้ว
- ควรพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม สามารถให้แนวทางการรักษามะเร็งที่ได้มาตรฐาน ทางเลือกในการรักษา แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร และสุดท้ายแพทย์จะวางแผน และแนะนำทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด
กินยาคุมกำเนิดนานแค่ไหน ? เพิ่มความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก-มะเร็งเต้านม
- ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลที่เพียงพอก่อนทำการรักษา ดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับตัวโรคว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดใด แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยมีความเชี่ยวชาญด้านใด และเชี่ยวชาญเฉพาะทางจริงหรือไม่
- มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร เช่น ถ้าเป็นมะเร็งระยะต้น ซึ่งหมายถึงจากการประเมินผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกายด้วยเครื่องแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์แล้ว คาดว่าเป็นระยะที่ 1 หรือ 2 ขั้นตอนต่อไปหลังจากทราบผลการตรวจชิ้นเนื้อ
- การรักษาวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย กับแพทย์แนะนำอย่างไร หากยังไม่แน่ใจในการรักษาของแพทย์ สามารถนำผลตรวจไปปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลอื่นได้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเข้ารับการผ่าตัด หลังผ่าตัด จะต้องมีการรักษาอะไรอีกบ้าง
เมื่อทราบดังนี้แล้ว ขอให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐาน ซึ่งแผนการรักษาในปัจจุบันมีทางเลือกเพื่อผลการรักษาที่ดี และมีโอกาสหายได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : รพ.เปาโล และ รพ.สมิติเวช
ภาพจาก : shutterstock
ผู้หญิงรูปร่าง “ลูกแพร์-แอปเปิล” เสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจกว่าหลายเท่า
ซีสต์-ก้อนเนื้อ-มะเร็งเต้านม ต่างกันอย่างไร? ทำไมผู้ชายถึงเสี่ยงด้วย?
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP