รวมโรคแฝงในอาหารรสจัด ที่คุณอาจคิดไม่ถึง อาหารรสจัดส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพร่างกาย?


6.โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ

ข้อนี้เราเจอกับตัวบ่อยเลยค่ะ หากช่วงไหนที่กินยำเยอะๆ กินบ่อยๆ จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนในท้อง รู้สึกปวดมวนท้อง ไม่สบายท้องและมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว นั่นเป็นเพราะอาหารยำๆ ที่ทั้งเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารมีสภาพความเป็นกรดสูงและเริ่มเกิดอาการระคายเคือง ถ้ายิ่งปล่อยไว้ให้เกิดการระคายเคืองนานๆ เป็นเวลาหลายปีก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

7.กรดไหลย้อนเรื้อรัง

อาหารรสจัดกับคนที่เป็นกรดไหลย้อนนี่เหมือนไม้เบื่อไม้เมากันเลยค่ะ เรียกได้ว่ากินเมื่อไหร่ก็มีอาการได้ง่ายมากๆ เพราะความเผ็ด ความแซ่บที่เรากินลงไปอาจตีย้อนขึ้นมาจนทำให้เรารู้สึกแสบร้อนหน้าอกได้ง่ายมาก หลายๆ คนอาจเข้าใจว่าอาการกรดไหลย้อนจะทำให้เราแสบร้อนหน้าอกแค่เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วนั้นกรดไหลย้อนส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด ทั้งทำให้มีอาการไอ แสบคอ เจ็บคอชนิดเรื้อรัง มีอาการหืดหอบและเสียงแหบแห้ง

รวมโรคแฝงในอาหารรสจัด อาหารรสจัดส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย กินเผ็ดมากมีผลเสียอย่างไร

8.โรคไขมันพอกตับ

ยำ ส้มตำเดี๋ยวนี้มีเมนูให้เลือกเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็นยำคอหมูย่าง ยำไข่แดงเค็ม ยำคอหมูทอด ส้มตำคอหมูย่าง (บางที่เรียกหมูตกครก) ซึ่งจะเห็นได้เลยว่าส่วนประกอบเหล่านี้มีไขมันสูงมากๆ การกินไขมันเยอะเกินไปจะทำให้ร่างกายสะสมพอกพูนไขมันไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะต้นแขน ต้นขา หรือหน้าท้องที่ใกล้ชิดกับอวัยวะในช่องท้องของเราจนทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นโรคตับแข็งได้ในอนาคต

แล้วแบบนี้เราควรกินยำอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น?

รวมโรคแฝงในอาหารรสจัด อาหารรสจัดส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย กินเผ็ดมากมีผลเสียอย่างไร

เข้าใจเลยค่ะว่าของอร่อย ของแซ่บ มันก็จะอดใจยาก แต่เราแนะนำว่าให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมมากขึ้น สุขภาพจะได้ไม่เสียและเราก็จะสามารถเอ็นจอยกับเมนูเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข

  • กำหนดโควตาที่กินได้ต่ออาทิตย์หรือต่อเดือน อย่างเราจะปล่อยให้ตัวเองกินยำแซ่บๆ จัดเต็มได้ประมาณ 1-2 ครั้งในหนึ่งเดือน
  • เน้นเมนูที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก เราอาจจะสั่งยำแซ่บๆ มาได้แต่ก็สั่งมาสัก 1-2 เมนู ส่วนเมนูที่เหลือก็เลือกเป็นของที่ดีต่อสุขภาพ ไม่เน้นของทอด ของมัน โดยเมนูที่เราสั่งบ่อยๆ คือ ลาบหมู ไก่ย่าง ต้มยำปลา ยำวุ้นเส้น ฯลฯ
  • เว้นส่วนของโซเดียมไว้ให้อาหารยำๆ ถ้าวันไหนที่เราแพลนไว้ว่าจะต้องกินส้มตำ ยำรสแซ่บๆ ช่วงก่อนหน้านั้นของทั้งวันเราก็เลือกกินอาหารที่มีโซเดียมน้อยๆ รสไม่จัดมาก เพื่อเว้นโควตาไว้ให้มื้อยำของเรา เป็นการลดปริมาณโซเดียม ไขมันและน้ำตาลให้น้อยลง
  • หากกินรสจัดมากๆ ให้ลองพยายามปรับความเข้มข้นของรสชาติลงค่ะ เช่น จากเผ็ดมากๆ ก็อาจสั่งแค่เผ็ดกลาง หรือถ้าอยากลดโซเดียมลงหน่อยก็อาจสั่งเป็นไม่ใส่ปลาร้า เพราะการกินอาหารรสจัดไปนานๆ อย่างไรก็สร้างผลเสียต่อสุขภาพแน่นอน

และนี่ก็เป็นโรคที่อาจแฝงมากับอาหารรสจัดๆ ที่เราอาจไม่เคยระวังตัวมาก่อน ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดกินไปเลยนะคะเพราะอย่างไรเราก็ต้องการมีความสุขกับอาหารและการได้กินของอร่อยๆ แต่เราก็จะต้องกินอย่างเหมาะสม เลือกกินให้ดีมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว


ภาพหน้าปกภาพที่1 โดย jcomp จาก freepik แต่งด้วย canva

ภาพในเนื้อหาทั้งหมด โดย ผู้เขียน

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *