ช่วงนี้แก๊งมิจฉาชีพมามุกใหม่ต้องระวัง! อ้างว่าโทรจากห้องฉุกเฉินให้โอนเงินผ่าตัดด่วนอย่าเพิ่งเชื่อ! เราขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ สิทธิ UCEP ที่หากผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต สามารถใช้สิทธิได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมง!
สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมง!
“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิ” กรณีเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญา 3 กองทุน (กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนประกันสังคม, กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) และในอนาคตจะขยายไปยังกองทุนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับ การคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการอย่างปลอดภัยโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นภาวะวิกฤต
ใครบ้างใช้สิทธินี้ได้?
เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้และเป็นโรคพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ โดยเริ่มที่สามกองทุนก่อน คือ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง
ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต หมายถึง ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการ ที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจสมอง การหายใจ ต้องได้รับการรักษาและดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้รวดเร็ว
6 อาการฉุกเฉินวิกฤติที่ส่งผลต่อชีวิตและอวัยวะสำคัญ
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลันและรุนแรง
- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วมด้วย
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด
- มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ “UCEP” เจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669
ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อการรอดชีวิต เมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงตนในการเข้ารับบริการ จะได้รับการรักษาจนอาการพ้นวิกฤติ จากนั้นโรงพยาบาลที่ให้การรักษาจะส่งตัวผู้ป่วยกลับไปยังหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่พร้อมให้การรักษาต่อไป
ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP
- ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
- ศูนย์ปะสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบกวนของข้อมูล
- กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
- กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หมายเหตุ : Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่อยฉุกเฉินวิกฤต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1. สายด่วน สปสช. 1330
2. ช่องทางออนไลน์