รู้จัก 10 วิธีขยายพันธุ์พืชยอดนิยม รักษาสายพันธุ์ดี เน้นผลผลิตคุณภาพ


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

การขยายพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มจำนวนพืช และรักษาลักษณะที่ดีของสายพันธุ์ อีกทั้งยังช่วยเกษตรกรให้มีต้นพืชที่แข็งแรงทนต่อโรค ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นิยมในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ได้รวบรวม 10 วิธีขยายพันธุ์พืชที่นิยมให้ได้เลือกนำไปใช้

การขยายพันธุ์พืช แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

การขยายพันธุ์พืช หมายถึง การเพิ่มปริมาณต้นพืชจากที่มีอยู่เดิม ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อดำรงสายพันธุ์นั้นไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ และรักษาลักษณะประจำพันธุ์ที่มีอยู่ในพืชนั้นให้คงอยู่ หากลักษณะทางสายพันธุ์หายไป แสดงว่าการขยายพันธุ์พืชนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ (กรมวิชาการเกษตร)

การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1) การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ มีวิธีเดียวคือการเพาะเมล็ด และ 2) การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ คือวิธีอื่นๆ นอกเหนือจากการเพาะเมล็ด เช่น ตอนกิ่ง, ทาบกิ่ง, ติดตา, แยกหน่อ เป็นต้น

ประเภทของการขยายพันธุ์พืช
ประเภทของการขยายพันธุ์พืช

10 วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ

การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชมีข้อดีอย่างไร แต่ละวิธีช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการเพาะปลูกได้อย่างไรบ้าง สรุปได้ดังต่อไปนี้

1. ขยายพันธุ์พืชโดยวิธีเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ใช้เวลานานกว่าวิธีอื่นๆ ต้องเริ่มจากการเลือกต้นพ่อ-ต้นแม่ มาผสมเกสร รอให้เกิดฝักจนผลสุกจึงจะเก็บเมล็ดได้ หลังจากนั้นต้องนำเมล็ดไปเพาะ เข้าสูตรวจสอบการงอก วิธีการนี้มักใช้กับเมล็ดผัก ไม้ดอกที่มีอายุสั้น และไม้ยืนต้นที่มีเมล็ดขนาดเล็ก เพื่อเตรียมกล้าเพาะก่อนปลูก ตัวอย่างพืชที่นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ได้แก่ มะเขือเทศ, กะหล่ำดอก, พิทูเนีย, ปาล์มขวด เป็นต้น

ข้อดีของการเพาะเมล็ด คือการได้ต้นพืชที่มีรากแก้วความแข็งแรง ส่งผลให้ลำต้นแข็งแรง เมื่อมีการย้ายต้นกล้า ย้ายที่ปลูก หรือใช้เป็นต้นแม่สำหรับทาบกิ่ง ชำกิ่ง ก็จะลำเลียงอาหารจำเป็นจากดิน สู่ส่วนต่างๆ ของพืชได้อย่างสมบูรณ์  

2. การปักชำ

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการปักชำ ช่วยเพิ่มจำนวนพืชได้อย่างรวดเร็ว ใช้ต้นทุนน้อย ไม่ยุ่งยาก โดยการนำส่วนต่างๆ ของพืชมาปักบนวัสดุปลูกภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเกิดราก และแตกยอด ส่วนที่นำมาปักชำ ได้แก่ กิ่งแก่, กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่, กิ่งอ่อน, ลำต้นเนื้อเยื่ออ่อนของไม้อวบน้ำ และไม้พุ่มเนื้อเยื่อ ตัวอย่างพืชที่นิยมนำมาปักชำ ได้แก่ เฟื่องฟ้า, มันสำปะหลัง, กุหลาบ, มะนาว เป็นต้น

วิธีการปักชำคร่าวๆ มีขั้นตอนดังนี้

1. เลือกพืชส่วนต่างๆ ของต้น เพื่อนำมาปักชำ
2. ปักชำลงในวัสดุปักชำ เพื่อล่อให้เกิดราก
3. รดน้ำให้ชุ่ม
4. อบด้วยการเข้ากระโจม หรือภาชนะที่ปิดฝา
5. ตรวจสอบความแข็งแรงของต้นพืช ดูแลรักษาให้แข็งแรงก่อนย้ายปลูก

ข้อดีของการปักชำ คือผลิตต้นใหม่ได้รวดเร็ว ใช้วิธีการดูแลรักษาไม่ซับซ้อนภายใต้ต้นทุนน้อยที่สุด และยังรักษาลักษณะเดิมได้ทั้งหมด

3. การตอนกิ่ง

การขยายพันธุ์พืชด้วยการตอนกิ่ง เป็นวิธีทำให้พืชเกิดรากขณะที่ยังอยู่บนต้นแม่ เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วจึงนำกิ่งนั้นไปปลูกต่อ ใช้กับพืชที่ออกรากด้วยวิธีปักชำไม่ได้

วิธีการตอนกิ่ง มีขั้นตอนดังนี้

1. ควั่นกิ่งทำให้เกิดบาดแผลบริเวณท่อลำเลียงอาหาร
2. ให้สารเร่งกระตุ้นให้เกิดรากบริเวณที่สะสมอาหาร
3. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเกิดราก โดยใช้วัสดุที่รักษาความชื้น ระบายอากาศได้ดี ห่อหุ้มส่วนที่ควั่นกิ่งเอาไว้ด้วยพลาสติก

4. การติดตา

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการติดตา เป็นการนำตาของพืชพันธุ์ดีไปติดกับต้นที่โตกว่า เพื่อให้ช่วยส่งอาหารผ่านตาเจริญเป็นกิ่งใหม่ วิธีนี้เหมาะกับผลไม้ เช่น ส้ม, แอปเปิ้ล หรือไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา เป็นต้น

วิธีการติดตา มีขั้นตอนดังนี้

1. กรีดรอยบนต้นแม่ ให้เผยอออกเป็นรูปตัว T, ตัว I หรือตัว H ที่เหมาะสมกับตาของต้นใหม่
2. สอดแผ่นตาจากกิ่งสายพันธุ์ดี ไปบริเวณแผลที่ทำไว้
3. พันแผลด้วยพลาสติกใส ให้ตาแนบตอสนิทโดยเว้นช่วงให้กิ่งใหม่แทงยอดออกมาจากตา

5. การต่อกิ่ง

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่อกิ่ง เป็นวิธีทำให้ท่อลำเลียงของกิ่งพืชชนิดเดียวกันเชื่อมประสานกันใช้เมื่อวิธีการติดตาไม่เหมาะสม มักนิยมใช้กับไม้ดอก หรือไม้ผล เช่น มะนาว, มะม่วง, ขนุน, ลองกอง เป็นต้น

วิธีการต่อกิ่ง มีขั้นตอนดังนี้

1. เลือกต้นตอ และกิ่งที่มีขนาดเหมาะสมต่อกัน
2. กรีดเปลือกต้นตอออก เผยอเปลือกไม้ให้มีรอยตัดเล็กน้อย
3. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีมาสอดบนแผลของต้นตอ
4. พันพลาสติกให้แน่น เพื่อให้มั่นใจว่ารอยแผลจะประสานกันดี

6. การทาบกิ่ง

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการทาบกิ่ง เป็นการนำต้นสายพันธุ์เดียวกันที่เพาะไว้ในถุง มาทาบบนกิ่งของต้นสายพันธุ์ดี เพื่อผลิตต้นใหม่ด้วยกิ่งสายพันธุ์ดีให้มีจำนวนมากขึ้น

วิธีการทาบกิ่ง มีขั้นตอนดังนี้

1. นำต้นตอจากการเพาะเมล็ดมาตัดยอดออก ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการเติบโตของแต่ละสายพันธุ์
2. ควั่นกิ่งจากต้นสายพันธุ์ดีให้เกิดแผล ก่อนนำต้นใหม่ที่ถูกตัดยอดแล้วมาทาบ
3. พันพลาสติกให้แน่น ให้บริเวณแผลแนบกันสนิท
4. ตรวจสอบความแข็งแรง ก่อนย้ายปลูก

7. การเสียบกิ่ง

การขยายพันธุ์พืชด้วยการเสียบกิ่ง เป็นการนำกิ่งของสายพันธุ์ดีมาเสียบไว้บนต้นของสายพันธุ์ใกล้เคียงกัน ด้วยการกระตุ้นให้เกิดแผลบนกิ่งต้นแม่ วิธีนี้ช่วยให้ควบคุมผลิตผลได้ดีขึ้น

8. การแยกส่วน 

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการแยกส่วน เป็นการนำ ลำต้น เหง้า จุก และไหล แบ่งไปเพาะในสิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นต้นใหม่ พืชที่ใช้วิธีขยายพันธุ์ด้วยการแยกส่วนได้ ต้องมีลักษณะจำเพาะ เช่น มอนสเตอร่า, บอนสี, สับปะรด เป็นต้น

9. การแยกหน่อ

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการแยกหน่อ นำหน่อที่เกิดขึ้นจากลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นที่พ้นดินไปปลูกใหม่ โดยระมัดระวังไม่ให้หน่อหัก หน่อที่นำมาใช้ปลูกใหม่ต้องมีรากติดมาด้วย เช่น พืชตระกูลกล้วย, พืชตระกูลปาล์ม และพืชตระกูลหมาก เป็นต้น 

10. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพิ่มจำนวนต้นพืช ผ่านวิธีทางห้องปฏิบัติการ โดยพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นจะมีลักษณะเหมือนกันทุกต้น

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. เลือกต้นพันธุ์ดีมาเลี้ยงในห้องปลอดเชื้อ
2. เพิ่มจำนวนในห้องปฏิบัติการ
3. อนุบาลต้นอ่อนพืชในอาหารเลี้ยงที่ทำไว้
4. ขยายและเพิ่มปริมาณต้นพืชในโรงเรือน
5. ย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมปกตินอกโรงเรือน

การขยายพันธุ์พืช มีประโยชน์อย่างไร

การขยายพันธุ์พืชเป็นวิธีช่วยเพิ่มผลผลิต มีประโยชน์ต่อเกษตรกร และเป็นการรักษาลักษณะสายพันธุ์ท้องถิ่น ของพืชหายากให้คงอยู่ไว้ สรุปประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช มีดังนี้

1. เพิ่มความหลากหลายทางสายพันธุ์ เช่น การขยายพันธุ์ผลไม้ ถือเป็นการปรับปรุงผลผลิตให้มีรสชาติตามตลาดต้องการ
2. เพิ่มความแข็งแรงให้กับสายพันธุ์ ยกตัวอย่างการนำพืชต่างถิ่นมาปลูก เมื่อใช้วิธีขยายพันธุ์กับสายพันธุ์ท้องถิ่นก็จะทำให้ได้สายพันธุ์ที่แข็งแรง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้มากขึ้น
3. อนุรักษ์พันธุ์พืช รักษาลักษณะเด่นของสายพันธุ์ให้คงอยู่
4. เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ที่นำวิธีการขยายพันธุ์พืชปรับปรุงใช้กับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ จะคำนวณระยะเวลาการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวได้ ทำให้รักษารายได้เกษตรกรได้มั่นคงขึ้น
5. บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับแปลงเกษตรที่มีพื้นที่จำกัด การขยายพันธุ์พืชอย่างเป็นระบบ ก็ช่วยจัดสรรการปลูก กับทรัพยากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

อ้างอิง

1. การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร., http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs1-2.htm
2. การขยายพันธุ์พืช (Plant Propagation) โดย ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย., https://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=1106
3. องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สู่การเป็น Smart Officer การขยายพันธุ์พืช., การขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร. 


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *