ด้านหน้าของพระอุโบสถมีหอพระตรงกลาง ประตูทางเข้าซ้าย-ขวา เดินเข้ามาด้านในพระอุโบสถเพื่อนๆจะเห็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย 3 องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปูน และพระพุทธรูปนาก รอบข้างเขียนจิตรกรรมฝาผนังไว้อย่างวิจิตร เรามาส่องรายละเอียดพระพุทธรูปกันดีกว่าครับ
- พระพุทธรูปทองคำ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สังเกตจากพระพักตร์และพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ทำจากทองสัมฤทธิ์ สีทองสดใสสะท้อนแสงไฟจนเห็นเด่นชัด อยู่ด้านซ้ายมือของเพื่อนๆ และองค์จะเล็กที่สุดใน 3 องค์
- พระพุทธรูปปูนปั้น เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ทำจากปูนปั้น ลงรักปิดทอง องค์ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ตรงกลาง
- พระพุทธรูปนาก เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หน้าตักเท่ากับพระพุทธรูปทองคำ แต่สูงกว่านิดหน่อย องค์จะออกสีแดงค่อนข้างชัดเจน อยู่ด้านขวามือของเพื่อนๆว่ากันว่าพระพุทธรูปทองและพระพุทธรูปนาก แต่เคยถูกห่อหุ้มด้วยปูนปกปิดเนื้อในเอาไว้ เพราะเหตุผลหลายๆประการ เช่น ศึกสงคราม การเมือง หรือเหตุผลอื่นๆของคนสมัยนั้น เหมือนกับพระพุทธรูปสำคัญสำคัญ หลายองค์ในประเทศไทยเรา เมื่อกาลเวลาผ่านไป เนื้อในของพระพุทธรูปได้ถูกเผยออกมา ให้เราได้กราบไหว้ ได้ชมความงดงามของศิลปะอันล้ำค่าของไทยเราจวบจนปัจจุบัน
พระวิหารเซียน
เดินออกมาจากพระอุโบสถ เพื่อนจะสังเกตเห็นพระวิหารเซียนซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ข้างๆกันกับพระอุโบสถ โดยภายนอกจะเหมือนกันกับพระอุโบสถ แต่ไม่มีใบเสมาล้อมรอบ เมื่อเดินเข้าไปด้านในของพระวิหารเซียน จะพบพระพุทธรูปปางค์มารวิชัย ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีสูง ด้านบนประดับฉัตร 7 ชั้น ที่เห็นจะแปลกตาคือจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนลวดลายเป็นเครื่องถ้วยโถโอชาม แบบจีนไว้อย่างวิจิตร ให้ความรู้สึกอีกแบบอบ่างบอกไม่ถูกเลยครับ
ตำนานรักเจ้าสายน้ำผึ้ง พระนางสร้อยดอกหมาก
เดินออกมาด้านล่างของกลุ่มพระวิหารจะ บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก จะสังเกตเห็นอาคารลักษณะเป็นคล้ายๆศาลเจ้าจีน จุดนี้คือศาลพระนางสร้อยดอกหมาก ศาลที่มีเรื่องราวความรักที่จบแบบโศกอนาถกรรม ซึ่งมีตำนานมาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้ากรุงจีน มีพระธิดาที่มีพระสิริโฉมงดงามนามว่า “สร้อยดอกหมาก” ครั้นเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นได้มีการมั่นหมายกับเจ้ากรุงอโยธยานามว่า “เจ้าสายน้ำผึ้ง” เจ้าสายน้ำผึ้งนั้นได้นำเรือพระที่นั่งไปรับพระนางสร้อยดอกหมากถึงกรุงจีน เมื่อเสด็จพากันกลับมาที่กรุงอโยธยา เจ้าสายน้ำผึ้งทรงให้พระนางสร้อยดอกหมาก ปักสมอสำเภารออยู่ที่บริเวณท่าน้ำบางกะจะ(หน้าวัดพนัญเชิงปัจจุบัน) หลังจากนั้นได้ทรงไปจัดเตรียมตำหนักไว้รออภิเษก จึงส่งเสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ออกไปรับ พระนางสร้อยดอกหมาก เมื่อเห็นดังนั้นพระนางก็ทรงน้อยเนื้อต่ำใจตัดพ้อต่างๆนา เป็นเหตุให้เจ้าสายน้ำผึ้งต้องเสด็จมารับด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จมาถึงเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่าพระนางพูดเล่นจึงแกล้งสัพหยอกไปว่า หากไม่อยากไปก็ให้อยู่ที่นี่ พระนางสร้อยดอกหมาก ได้ฟังก็คิดว่าเจ้าสายน้ำผึ้ง พูดจริงจึงได้กลั้นใจตาย อยู่บนเรือสำเภานั่น หลังจากพระนางถึงแก่ความตาย เจ้าสายน้ำผึ้งทรงให้อัญเชิญพระศพลงมาทำพิธีพร้อมตั้งศาลไว้บริเวณนี้ เรื่องราวของพระนางสร้อยดอกหมาก กับ เจ้าสายน้ำผึ้ง อาจจะเป็นตำนาน ปรำปราที่อาจจะไม่มีเค้าโครงของความเป็นจริงอยู่บ้าง แต่เรื่องราวนี้จะแสดงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่าง ไทย-จีน ที่มีมาอย่างยาวนาน จวบจนปัจจุบัน
ให้อาหารปลา ท่าน้ำวัดพนัญเชิง
มาถึงสถานที่ที่ผมชอบมากและเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้คือการให้อาหารปลาบริเวณท่าน้ำวัดพนัญเชิง เมื่อเดินผ่านประตูกลุ่มวิหารออกมาบริเวณริมแม่น้ำป่าสัก เพื่อนๆจะเห็นทางเดินที่สามารถลงไปแพด้านล่างเหนือแม่น้ำครับ
เดินผ่านสะพานลงมาด้านล่าง จะเป็นแพ ด้านซ้ายมือจะเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหน้าเพื่อนๆเป็นแม่น้ำป่าสัก ด้านบนแพมีซุ้มขายอาหารปลา และขนมปังตามแต่เพื่อนๆจะชอบใจกันครับ อ่อลืมบอกไปย้อนกลับไปตอนขับรถเข้ามาที่วัดเพื่อนๆจะเห็นซุ้มขายอาหารปลา ก็สามารถแวะซื้อเข้ามาให้ที่วัดได้เช่นกันครับ
แน่นอนครับปลาที่นี่ค่อนข้างเยอะ ถึงเยอะมาก ที่มากคือปลาสวายตัวใหญ่ๆ และปลาตะเพียนหางแดงตัวเล็กๆ ที่แหวกว่ายรอเพื่อนๆมาให้อาหารอยู่ครับ
พาเพื่อนๆเที่ยวทริปนี้หวังว่าเพื่อนๆน่าจะอิ่มบุญกับการไหว้พระ และให้อาหารปลาที่วัดพนัญเชิง พร้อมทั้งได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ไปด้วย ตอนนี้ผมขอชิลล์ๆกับการให้อาหารปลาก่อน พร้อมขอลาทริปนี้ไปเพียงเท่านี้ครับ พบกันทริปหน้า บ๊ายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
- ภาพ : JaturongT.
- ออกแบบตกแต่ง : Canva
วัดพนัญเชิงวรวิหาร
- ที่อยู่ : วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
- พิกัด : https://maps.app.goo.gl/baeKULNza3n9MrYz6
- โทรศัพท์: 035-243-867
- Facebook : วัดพนัญเชิงวรวิหาร
- เวลาเข้าชม : 07.00-17.00 น.
- อัตราค่าเข้าชม : –
อยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !