วิธีสมัครบัตรทอง บัตรทอง 30 บาท ทำอย่างไร?


วิธีสมัครบัตรทอง บัตรทอง 30 บาท ทำอย่างไร คุณสมบัติผู้สมัครมีอะไรบ้าง เช็กที่นี่

การสมัครบัตรทอง หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถทำได้โดยเริ่มจากเตรียมเอกสาร และสามารถดำเนินการได้ทั้งออนไลน์และที่สำนักงานที่กำหนด 

บัตรทอง หรือ บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นสิทธิตามกฎหมายของคนไทยที่ใช้ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข และการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย ส่งเสริมด้านสุขภาพ และการป้องกันโรคต่างๆ

อันที่จริงแล้ว บัตรทอง มีชื่อเต็มว่า “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ที่สำนักงานประกันสังคมแห่งชาติ หรือ สปสช. ออกให้คนไทยเพื่อใช้รักพยาบาลฟรี ยกเว้นคนที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่น เช่น สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ เป็นต้น

คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้บัตรทอง

  • บุคคลสัญชาติไทยตั้งแต่แรกเกิด
  • เป็นคนที่ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้
    • บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป หรือสมรส) และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
    • บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน)
    • ผู้ประกันตนที่ขาดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม)
    • ข้าราชการที่เกษียณอายุ หรือออกจากราชการโดยไม่ได้รับบำนาญ
    • ผู้มีอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน

เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนบัตรทอง มีดังนี้

เอกสารประกอบการลงทะเบียน/เปลี่ยนหน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ประจำ สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง

ดาวน์โหลดแบบคำร้องการลงทะเบียน ไปที่เว็บไซต์ สปสช. จากนั้นไปที่ www.nhso.go.th เลือกหัวข้อเมนูประชาชน เลือก icon แบบคำร้องการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ หรือ (คลิก) 

  1. บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) หรือ บัตรหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีเลขประจำตัวประชาชน

    กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนใช้สูติบัตร (ใบเกิด) พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองกรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน แสดงใบคัดสำเนาทะเบียนบ้านทร.14/1 หรือ แสดงใบคัดทะเบียนประวัติบุคคล ทร.12

  2. กรณีลงทะเบียนไม่ตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชนแสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

    • หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
    • หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน
    • หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
    • เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ

วิธีสมัครบัตรทอง 30 บาทวิธีสมัครบัตรทอง 30 บาท

วิธีสมัครบัตรทอง 30 บาท

สำหรับข้าราชการองค์กรรัฐ /พนักงานส่วนท้องถิ่น ที่เกษียณอายุ ผู้ประกันตนที่หมดสิทธิประกันสังคม และผู้ที่เป็นสิทธิว่างไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลอื่นใด เป็นคนไทยที่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก สามารถลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง 30 บาท ได้ดังนี้

ผู้ที่ต้องการสมัครบัตรทอง สามารถดาวน์โหลดแบบคำร้องได้ ที่นี่ หรือขอรับได้ ณ จุดลงทะเบียนสมัครบัตรทอง

ติดต่อสมัครบัตรทอง ด้วยตนเองได้ที่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ในวัน-เวลาราชการ
  2. โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน ในวัน-เวลาราชการ
  3. ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ในวัน-เวลาราชการ
  4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13 ตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย ในวัน-เวลาราชการ

สมัครบัตรทองออนไลน์

  1. ลงทะเบียนผ่าน Line @nhso โดยเพิ่มเพื่อนแล้วคลิกเลือกเมนู สิทธิบัตรทอง จากนั้นทำตามขั้นตอนที่กำหนด หรือคลิกดูวิธี ที่นี่
  2. แอปพลิเคชัน สปสช. โดยมีขั้นตอนดังนี้
    • ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
    • เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช”
    • กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
    • กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
    • กรอกเลขบัตรประชาชน
    • สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอปฯ
    • เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน ให้กด ลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน

สิทธิบัตรทองรักษาโรคอะไรได้ ?

สิทธิบัตรทอง สามารถใช้รักษาโรคต่างๆ และอาการเจ็บป่วยได้ฟรี เช่น ไอ ท้องเสีย เจ็บ หวัด รวมถึงจนถึงโรคเรื้อรัง และโรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น มะเร็ง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หัวใจ HIV และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

all

นอกจากนี้ บัตรทอง ยังสามารถใช้สิทธิเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ 16 อาการ เช่น ไอ เจ็บคอ เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ฯลฯ โดยผู้ใช้สิทธิบัตรทองไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเสมอไป สามารถแวะไปรับยาเองได้ที่ “ร้านยาคุณภาพของฉัน” ที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช. ที่เภสัชกรจะคัดกรองอาการเบื้องต้นพร้อมจ่ายยาให้

16sive

app

ในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม มีอาการเจ็บป่วยด้วย 42 กลุ่มโรคและอาการ เช่น ตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ ปวดศีรษะ ฯลฯ สามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น และส่งยาให้ถึงบ้านได้

วิธีเช็กสิทธิบัตรทอง ทำได้ 2 วิธี

วิธีที่ 1 ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ได้แก่

  • เว็บไซต์ www.nhso.go.th เลือก สำหรับประชาชน เลือก ตรวจสอบสิทธิ หรือ คลิกที่นี่
  • แอปพลิเคชัน สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS เลือก ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  • ตรวจสอบสิทธิผ่าน ไลน์ สปสช. โดยสแกน QR CODE หรือ คลิกที่นี่ เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

วิธีที่ 2 โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2

ลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำทำได้ 2 ช่องทาง

ช่องทางที่ 1 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

  • แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู เปลี่ยนหน่วยบริการ
  • ไลน์ สปสช. (พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso ในช่องเพิ่มเพื่อน) หรือคลิกที่นี่ เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง

ช่องทางที่ 2 ติดต่อด้วยตนเอง

  • พื้นที่ต่างจังหวัด : ติดต่อด้วยตนเองได้ที่ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ ที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ
  • พื้นที่กรุงเทพมหานคร : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี (ทิศตะวันตก) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ในวันเวลาราชการ

สิทธิประโยชน์ของบัตรทอง

  1. เสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค
    • การตรวจคัดกรองหาภาวะเสี่ยง เช่น คัดกรองมะเร็งปากมดเล็ก เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหินสูง
    • การให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพ เช่น การวางแผนครอบครัวการคุมกำเนิด ยาคุม ถุงยางอนามัย การเลิกบุรี่
    • การสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การฉีดวัคซีน การให้ยาบำรุง การเคลือบฟลูออไรด์
  2. ค่าเวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามกรอบบัญชียาหลักและยาที่มีราคาสูง
  3. ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัวในหน่วยบริการ
  4. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วย และผู้ทุพพลภาพ
  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ทั้งกายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และบริการอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้พิการตามเกณฑ์ที่กำหนด
  6. บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคทางศิลปะ
  7. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
  8. การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  9. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
  10. ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล
  11. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่มีคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ไม่เกิน 6 คะแนน หรือผู้ที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีสิทธิขอรับผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับการขับถ่าย

สิทธิประโยชน์ของบัตรทองสิทธิประโยชน์ของบัตรทอง

การติดต่อสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางออนไลน์ ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *