.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
วิริยะประกันภัย เผยเบี้ยรถไฟฟ้าสูงกว่ารถสันดาป 10-15% ย้ำลูกค้ามั่นใจเรื่องเคลม พร้อมดูแลทั้งตัวถัง และเครื่องยนต์ด้วยช่างมืออาชีพ
นายอมร ทองธิว กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี ในปี 66 ที่ผ่านมาถือว่ามีอัตราเร่งตัวขึ้นมาก ซึ่งในปีนี้เราได้เตรียมรับมือการดูแลลูกค้ารถยนต์ไฟฟ้าไว้แล้ว
ทั้งนี้ แม้การประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า จะมีเบี้ยที่สูงกว่ารถสันดาปเฉลี่ย 10-15% ซึ่งในปี 66 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแรกที่วิริยะประกันภัยรับทำประกันภัยรถ EV ซึ่งมีเข้ามากว่า 400 ล้านบาท หรือประมาณ 1% ของพอร์ตเบี้ยประกันภัยรถยนต์ของบริษัท
สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการบริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการให้บริการต่างๆ โดยยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในปีนี้จะมุ่งเน้นไปที่การส่งมอบประสบการณ์ความคุ้มค่าให้กับลูกค้า ภายใต้แนวคิด ปีแห่งความมั่นคงและเป็นธรรม : มากกว่าความคุ้มครอง คือ ความคุ้มค่า
โดยตลอดระยะเวลา 77 ปี ของการดำเนินงาน บริษัทฯ ยังคงยืนหยัดเคียงข้างดูแลเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงด้วยระบบประกันภัยให้กับประชาชนในสังคม พร้อมตอกย้ำความมั่นคงแข็งแกร่งด้วยสินทรัพย์ที่มีอยู่ถึง 68,335 ล้านบาท และอัตราส่วนเงินกองทุน (CAR) อยู่ที่ 180% ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่ามาตรฐานของเงินกองทุนฯ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดประกันวินาศภัย อันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 31 โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 14% เช่นเดียวกันกับตลาดประกันภัยรถยนต์ที่วิริยะประกันภัย ยังครองส่วนแบ่งตลาด เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 36 โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 22% ผลสำเร็จนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคง แข็งแกร่ง และความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ
ทั้งนี้ ผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวมทั้งสิ้น 40,077 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ 35,633 ล้านบาท และประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ 4,444 ล้านบาท โดยในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 43,000 ล้านบาท แบ่งเป็นประกันภัยรถยนต์ 38,000 ล้านบาท และประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ 5,000 ล้านบาท
ปัจจุบันเรามีผลิตภัณฑ์ประกันภัยออกสู่ตลาดมากกว่า 60 ผลิตภัณฑ์ โดยมีการนำข้อมูล Big Data อันมาจากการได้ดูแลบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับลูกค้ากว่า 8 ล้านกรมธรรม์ จึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลที่ลงลึกถึงความต้องการและความเสี่ยง ทำให้สามารถนำมาประเมินผลเพื่อกำหนดความคุ้มครองให้ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า รวมถึงกำหนดเบี้ยประกันภัยอย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่าและพึงพอใจอย่างสูงสุด
อีกทั้งบริษัทฯ ยังมุ่งสร้างประสบการณ์อันคุ้มค่าผ่านตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัยที่มีอยู่เกือบ 6,000 คนทั่วประเทศ ที่พร้อมเข้าไปดูแลลูกค้าในพื้นที่ละแวกใกล้กับสำนักงานตัวแทน และที่สำคัญสำนักงานมาตรฐานตัวแทนของวิริยะประกันภัย ยังถูกยกระดับการบริการให้สามารถดำเนินการออกกรมธรรม์ให้แก่ลูกค้าได้โดยตรงเทียบเท่ากับสาขาของวิริยะประกันภัย
เน้นให้ความรู้เรื่องรถอีวี เน้นเรื่องแบตเตอรี่เป็นหลัก
นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมามีรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาพร้อมๆ กันหลากหลายแบรนด์ สิ่งที่ประกันภัยอย่างเราต้องเผชิญคือ ปัญหาทางเทคนิค เพราะรถไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ใหม่มากแตกต่างกับรถยต์สันดาปทั่วไป
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานที่เปลี่ยนไป กระบวนการซ่อมของรถยนต์ไฟฟ้าก็เปลี่ยนไป โจทย์ที่ทำของเราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่ซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้ากับวิริยะฯมีความรู้สึกเดียวกับการซื้อประกันรถยนต์สันดาปทั่วไทย เราจึงต้องมีมีวิศวะกรให้คำแนะนำ ดูแลใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด โดยเฉพาะเพราะแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิคที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล
ขณะเดียวกันเราได้จัดอบรมความรู้หลักสูตรเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุ เจ้าหน้าที่สรุปความเสียหาย รวมไปถึงบริษัทคู่ค้าตัวแทนประกันวินาศภัย และศูนย์ซ่อมมาตรฐานของวิริยะประกันภัยทุกภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อรองรับการให้บริการลูกค้าได้อย่างมืออาชีพอีกด้วย
นายสยม กล่าวอีกว่า นับเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับธุรกิจประกันภัย และวิริยะประกันภัยที่ได้ ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการลูกค้า ซึ่งต้องผสมผสานการทำงานร่วมกันกับคน เนื่องจาก Human Touch เป็นเรื่องสำคัญและเปราะบางมากสำหรับธุรกิจประกันภัย ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใดการนำมาใช้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสมและความพอดี
สำหรับงานบริการประกันภัยส่วนหน้าที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์คับขัน เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เจ็บไข้ได้ป่วย สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง คือ ได้รับการดูแลที่ดีจากพนักงานวิริยะประกันภัย
ในเรื่องนี้บริษัทฯ ก็ต้องบริหารจัดการด้วยความระมัดระวัง นับตั้งแต่ขั้นตอนการรับแจ้งเคลมจากลูกค้าผ่าน Contact Center หรือ Application การให้บริการลูกค้า ณ จุดเกิดเหตุ และการดูแลลูกค้า ณ จุดบริการต่างๆ (Touch Point) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างชื่อเสียงและการยอมรับด้านการบริการให้วิริยะประกันภัยมาโดยตลอด
ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังมองถึงโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ และในอนาคต ทั้งในเรื่องของเทรนด์การดูแลสุขภาพและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายมากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับบริษัทฯ ในการขยายผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อตอบทุกโจทย์ของการใช้ชีวิตสมัยใหม่ เช่น ประกันคุ้มครองเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ประกันรถยนต์ตามระยะทางที่ขับจริง ประกันไซเบอร์ ฯลฯ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าได้มากขึ้น ความท้าทายในเรื่องของ Claim Inflation การบริหารจัดการต้นทุนสินไหมที่เพิ่มสูงขึ้น
รวมถึงเรื่องของ Cost Technology ในการดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยี ตลอดจนการบริหารจัดการความคาดหวังของลูกค้า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยความท้าทายสำคัญที่บริษัทฯ ต้องบริหารจัดการอย่างพิถีพิถันด้วยเช่นกัน
นางฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้มีการวางแผนขยายประกันภัย Non-Motor ให้เติบโตเพิ่มขึ้น 11% โดยจะมุ่งเน้นไปที่การรับประกันความเสี่ยงภัยรายย่อยด้านส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยบ้าน และประกันภัยความรับผิด
นอกจากนี้ เรายังมีนโยบายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองแนวคิด ESG Responsibilities ออกมาในรูปแบบ Green Insurance ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ช่วยส่งเสริมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงนำแนวคิด Green Insurance มาพัฒนาร่วมกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีอยู่ อาทิ ให้ความคุ้มครองการทดแทนสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยวัสดุในการปลูกสร้างที่เป็น Eco-Friendly ในการประกันอัคคีภัย
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ส่วนลดเบี้ยประกันพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้ใช้วัสดุในการปลูกสร้างที่เป็น Eco-Friendly มากขึ้น ถึงแม้จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ แต่เชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยลดปัญหาของสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้อีกด้วย