.fb-comments,.fb-comments span,.fb-comments span iframe[style]{min-width:100%!important;width:100%!important}
ทางคุณเดือน วัย 57 ปี สื่อคนเมืองเจียงใหม่ ก็ว่าไม่แปลกและรู้จักคุ้นเคยและทำเมนูนี้เป็น เพราะมันเป็นอาหารพื้นบ้าน ทำและกินตั้งแต่เป็นละอ่อน สมัยที่เตาแก๊ส ไมโครเวฟ เครื่องปั่น และอาหารสำเร็จรูปยังไม่มีขาย แต่ถ้ามาถามคนสมัยนี้รู้จักน้อยมาก ยิ่งคนที่ไม่เคยทำกับข้าวเองยิ่งแทบไม่รู้จัก วันนี้ก็เลยลงมือทำ กว่าจะเสร็จเหงื่อแตกเหงื่อแต๋น เพราะอากาศมันร้อน ที่สำคัญเมนูแบบนี้ละอ่อนสมัยนี้ทำไม่เป็น กินไม่เป็น ถึงทำให้กินก็ไม่กินอีก วันนี้เลย”ตำจิ้นแห้ง” แต่เอามาเป็นน้ำพริกส้ามะเขือผ่อย(เปราะ) เพราะอยากกินส้ามะเขือเป็นมื้อเที่ยง
และเชื่อว่าแต่ละเมนูที่เขาประกาศออกมา ก็น่าจะเป็นอาหารพื้นบ้านที่มันเริ่มขาดหายไป และอีกไม่นาน แกงหยวก ส้าผักจุ๋มปล๋า อะหยั๋งพวกนี้ก็คงจะหากิ๋นยาก เนื่องจากวิถีชีวิตมันเปลี่ยนไป คนเราเลือกที่สะดวก ง่ายและหาได้ตามร้านค้า …ก็วัฒนธรรมแต่ละที่มีรากเหง้าที่แตกต่างกัน…
ส่วนคุณชัยพินธ์ ขัติยะ วัย 68 ปี สื่ออาวุโสอาวุโสคนเมืองเชียงใหม่ ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับ”ตำจิ้นแห้ง” 1 จังหวัด 1 เมนู ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ประกาศออกมา ก็ไม่เห็นด้วย ถึงแม้จะเคยกินสมัยเป็นเด็กก็ตาม ส่วนอาหารที่ควรจะเป็น ก็คือ “คั่วโฮะ” หรือ “แกงโฮะ” เพราะสมัยเด็ก ๆ เมื่อตอนเป็นเด็กวัด ช่วงเทศกาลสำคัญ ชาวบ้านจะนำอาหารประเภทแกงเนื้อ หรือห่อนึ่ง ไปถวายที่วัดจำนวนมาก พระ-เณร ฉันท์อาหารไม่ทันก็จะนำอาหารเหล่านี้ใส่หม้อ หรือกระบอกไม้ไผ่ฝั่งดินไว้ เพื่อป้องกันแมลงวันตอมเป็นวีถีถนอมอาหารไว้อีกรูปแบบหนึ่งเพราะไม่มีตู้เย็นใช้เหมือนปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ๆ ก็จะขุดดิน นำอาหารขึ้นจากดินมาปรุงใหม่ ใส่ผักสดลงไปตามใจชอบที่เรียกกันว่า “คั่วโฮะ “ หรือ”แกงโฮะ”มีรสชาติที่อร่อยมากทีเดียว
ในปัจจุบัน”คั่วโฮะ” หรือ”แกงโฮะ” ยังมีผู้นิยมทำบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในร้านอาหารก็มีการทำขายกัน และเป็นที่นิยมบริโภคของชาวต่างจังหวัดด้วย แต่วิธีถนอมอาหารนั้นจะเปลี่ยนจากนำไปฝั่งดิน มาเป็นเก็บไว้ในตู้เย็นแทนเท่านั้น