เผยแพร่: 27 ก.ย. 2566 26
กรมการแพทย์แผนไทยฯ แนะประชาชน ดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแผนไทย เผยสมุนไพร“เหง้าข่า”สรรพคุณช่วยรักษาอาการโรคน้ำกัดเท้า วิธีทำยาสมุนไพรและวิธีการใช้ยาให้หายเร็ว!
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำประชาชน ดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรค โดยเฉพาะ4 ภัยสุขภาพ ที่มักเจ็บป่วยได้ง่ายในช่วงฤดูฝน เช่น โรคน้ำกัดเท้า อาการท้องเสีย โรคไข้หวัดหรือไข้เปลี่ยนฤดูกาล และอาการที่มาจากการรับประทานเห็ดพิษ ตามศาสตร์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกหนักและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ทำให้ประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคน้ำกัดเท้า ที่เป็นภาวะที่ผิวหนังบริเวณเท้าเปื่อยลอก มักเกิดจากการแช่ในน้ำเป็นเวลานาน
8 กลุ่มโรคอาการที่ต้องระวังเมื่อต้องลุยน้ำท่วมเท้าเปล่า-วิธีป้องกัน
รับมือ “ฝนราชการ” ลุยฝนกลับบ้านยังไงไม่ให้เป็นหวัด
โรคน้ำกัดเท้าแยกได้เป็น 2 ระยะ
- ระยะแรก: อักเสบระคายเคือง ผิวหนังจะแดงลอก มีอาการเท้าเปื่อย คันและแสบ ระยะนี้อาจยังไม่มีการติดเชื้อ
- ระยะที่สอง: ติดเซื้อแทรกซ้อบ เนื่องจากผิวหนังที่ชื้นและเปื่อย เท้ามีกลิ่นเหม็น ซึ่งพบบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
ขอแนะนำสมุนไพร “เหง้าข่า” สรรพคุณช่วยรักษาอาการโรคน้ำกัดเท้า ในส่วนขั้นตอนวิธีการทำยาสมุนไพรรักษาโรคน้ำกัดเท้าในรูปแบบทิงเจอร์เหง้าข่าไว้ใช้เอง ในครัวเรือน คือ
- นำเหง้าข่าแก่สดมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบพอแหลก ใส่ลงในโหลแก้ว
- เติมแอลกอฮอล์ล้างแผลพอท่วม
- ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 7 วัน หมั่นคน เช้า-เย็น
- เมื่อครบกำหนด กรองเอาแต่น้ำ บรรจุลงในภาชนะ
วิธีใช้เหง้าข่ารักษาโรคน้ำกัดเท้า
- ทาบริเวณที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
- เมื่อหายดีแล้วให้ทาต่อเนื่องไปอีก 2 สัปดาห์ เพื่อให้โรคดังกล่าวหายขาด
“กระชายดำ” สมุนไพรไทยเพื่อคุณผู้ชาย สรรพคุณเด่นเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
วิธีป้องกันน้ำกัดเท้า
- รักษาความสะอาด และลดความชื้นของเท้า และรองเท้าให้มากที่สุด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรก และรีบล้างเท้าหลังสัมผัสทันที ด้วยสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว
- หลังจากล้างและเช็ดเท้าจนแห้งแล้ว ทาครีมให้ความชุ่มชื้นหรือยาขี้ผึ้งบริเวณผิวหนังที่ลอก เพื่อลดโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านผิวหนังจนเกิดความชื้นและผิวเปื่อย
- ในกรณีที่มีเหงื่อออกมา เช่น บริเวณฝ่าเท้า อาจใช้แป้งโยหรือยาทาลดเหงื่อ เพื่อให้ช่วยดูดซับเหงื่อส่วนเกิน
- หากเกิดบาดแผล ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสของแผลกับน้ำที่ท่วมขัง
นอกจากการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคด้วยภูมิปัญญาศาสตร์แผนไทยในช่วงฤดูฝนแล้ว ประชาชนควรหลีกเลี่ยงการตากฝน ถ้าหากมีเหตุจำเป็นที่ต้องตากฝนหรือลุยน้ำขัง ให้สวมรองเท้าบูท หลังจากตากฝนแล้ว ก็ควรอาบน้ำชำระร่างกายเช็ดตัวให้แห้ง ดูแลความสะอาดของนิ้วเท้าและง่ามเท้าอยู่เสมอ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหรือถุงเท้าที่เปียกชื้น และ ควรรักษาความอบอุ่นของร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์แผนไทย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ภาพจาก : shutterstock
4 สมุนไพรมีฤทธิ์ช่วยรักษากรดไหลย้อน สมานแผลในกระเพาะได้เร็วขึ้น
5 สมุนไพรที่วัยทองควรติดบ้าน บำรุงเลือดลมสตรีและประจำเดือนมาไม่ปกติ
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP