ลักลอบนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน การกระทำเช่นนี้ถือว่าขัดต่อระเบียบการบิน
และยังเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้โดยสารคนอื่นด้วย
เราเลยขอพาไปดูว่าหากเราต้องการนำสัตว์เลี้ยงเดินทางไปด้วยอย่างถูกต้อง
มีขั้นตนอย่างไรบ้าง
การนำสัตว์เลี้ยงเดินทางไปกับเครื่องบินนั้น
ผู้โดยสารควรศึกษาระเบียบข้อปฎิบัติและเตรียมตัวมาให้พร้อม
เพราะแต่ละสายการบินก็จะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป
ทั้งในเรื่องของเส้นทางที่ให้บริการ สายพันธุ์สัตว์เลี้ยง อายุ เอกสารรับรองต่าง ๆ
ที่สนามบินปลายทางต้องการ
การนำสัตว์เลี้ยงเดินทางด้วยเครื่องบินมีทั้งสิ้น
3 วิธี ได้แก่
1. PETC (Pet In Cabin)
คือให้สัตว์เลี้ยงโดยสารไปกับเราในห้องโดยสารได้เลย แต่ส่วนใหญ่เบื้องต้นจะกำหนดเงื่อนไขให้
สัตว์เลี้ยงต้องมี น้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม
และงดให้อาหารสัตว์เลี้ยงก่อนเดินทาง 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอาเจียนระหว่างการเดินทาง
โดยปัจจุบันในประเทศไทย ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องโดยสารแล้ว
แต่สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศนั้น
จะมีบางสายการบินที่ยังอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงนั่งไปข้างๆ กับเราได้อยู่
2. นำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องแบบ Check Baggage (AVIH) การเดินทางชนิดนี้เมื่อพาน้องไป
Check-in ได้ที่
Passenger Terminals เจ้าหน้าที่จะนำสัตว์เลี้ยงของเราไปโหลดไว้ที่ห้องบรรทุกสัมภาระพิเศษใต้ท้องเครื่องบินที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง
และมีระบบรักษาความปลอดภัยพิเศษ
3. นำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง แบบบรรจุภัณฑ์ (ULP) เป็นการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องโดยที่เราไม่ได้เดินทางไปด้วย
เป็นการขนส่งสัตว์เลี้ยงไปให้ผู้รับที่ปลายทาง โดยเราจะต้องพาสัตว์เลี้ยง
ไปที่อาคารคลังสินค้า แจ้งกับเจ้าหน้าที่สายการบินล่วงหน้า ทางเจ้าหน้าที่จะได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม
สำหรับในประเทศไทย มีสายการบินที่ให้บริการเดินทางกับสัตว์เลี้ยง
หรือขนส่งสัตว์เลี้ยงทั้งสิ้น 2 สายการบิน ได้แก่
–Thai Airways ต้องแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า
48 ชั่วโมง และเช็กอินล่วงหน้า 2
– 3 ชั่วโมง
–Bangkok Airways ต้องแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า
24 ชั่วโมง และเช็กอินล่วงหน้า 2 –
3 ชั่วโมง
การจะนำสัตว์เลี้ยงโดยสารเครื่องบินไปด้วย
ยังต้องอยู่ภายเงื่อนไข ที่สัตว์เลี้ยงต้องแข็งแรงสุขภาพดี ไม่ตั้งครรภ์หรือเจ็บป่วย
สัตว์เลี้ยงต้องอยู่ในกรงที่ได้มาตรฐานสากล ที่สำคัญ
ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพที่ด่านกักกันสัตว์ก่อนเดินทาง 1 – 3 วัน
เจ้าของสัตว์เลี้ยง ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม
-สำเนาพาสปอร์ตเจ้าของสัตว์เลี้ยง (กรณีนำสัตว์เลี้ยงออกนอกประเทศ)
-ใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกประเทศ
-ใบอนุญาตนำเข้าสุนัขและแมวสำหรับประเทศนั้น
-ใบรับรองสุขอนามัย
-ใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
-เอกสารอื่นที่ประเทศปลายทางต้องการ
การนำสัตว์เลี้ยงออกนอกราชอาณาจักรของผู้โดยสาร
มีเอกสารที่ต้องนำมาแสดง
-หนังสือเดินทาง (Passport)
-ใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
-ผู้โดยสารต้องยื่นคำขออนุญาตส่งสัตว์ออก (แบบ
ร.1/1) และตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนการเดินทางไม่เกิน 3 วัน ที่ด่านกักกันสัตว์สัตว์เลี้ยงมาที่ด่านกักกันสัตว์
โดยหลังจากสัตวแพทย์ประจำด่านตรวจสอบเอกสารและสุขภาพสัตว์เรียบร้อยแล้ว
จะดำเนินการออกใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร (แบบ ร.9)
พร้อมเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ (Health
Certificate) ให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์
(Health Certificate) นี้
ผู้โดยสารจะนำไปแสดงต่อหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของประเทศปลายทางที่จะนำสัตว์นั้นไป
ทั้งนี้ สถานที่ตั้งของ
ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ
ซึ่งดำเนินการตรวจสุขภาพสัตว์และออกใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร (แบบ ร.9)
นั้น ตั้งอยู่ที่ อาคารศุลกากรตรวจสินค้าขาออก (CE-1) เขตปลอดอากร
คลังสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น 1
การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้โดยสารในลักษณะนำเข้ามาพร้อมกับตน
เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
-หนังสือเดินทาง (Passport)
-หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) ต้นฉบับ
-ผู้โดยสารเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
และ/หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอื่นๆ
ผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทางโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
และรับสัมภาระและสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข,แมว
– ไปที่ด่านกักกันสัตว์ ณ ท่าอากาศยาน
เพื่อขออนุญาตนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักร
โดยหลังจากสัตวแพทย์ประจำด่านตรวจสอบเอกสารและสัตว์เลี้ยงดังกล่าวแล้วไม่พบว่าเป็นโรคระบาดหรือพาหะของโรคระบาด
จะดำเนินการออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ร.7) ให้แก่ผู้โดยสาร
-ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงและใบอนุญาตฯ (แบบ ร.7)
จากกรมปศุสัตว์ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องตรวจมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare) เพื่อชำระค่าภาษีอากรและรับใบเสร็จรับเงิน
ที่มา : ท่าอากาศยานไทย , กรมปศุสัตว์