วันพุธ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 17.56 น.
เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ผู้บริหารแอลจี (LG) ผู้ผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยีเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือแบรนด์ระดับโลก ซึ่งมีบริษัทในไทยที่ชื่อว่า “แอลจี มิตร” ภายใต้การดูแลของตระกูลเจ้าของแบรนด์ “ไดสตาร์” ได้เคยกล่าวว่า วันหนึ่งโทรศัพท์มือถือจะเป็นทุกอย่าง ทำอะไรได้ทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว
ประโยคดังกล่าวกลายเป็นจริงขึ้นมา เมื่อวันนี้โทรศัพท์มือถือสั่งอาหารได้ ตัดต่อวีดีโอได้ ทำอะไรได้หมดด้วยเทคโนโลยี ซึ่งเหตุที่ทำให้แอลจีสามารถทำนาย หรือ พยากรณ์เทคโนโลยีได้นั้น เพราะแอลจีเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญด้านวิจัยและพัฒนามาตลอดโดยไม่หยุดแม้แต่ก้าวเดียว
อาคารเทคโนโลยีของแอลจีที่ประเทศเกาหลีใต้ สามารถเปิดปิดประตูด้วยม่านตาของคนตั้งแต่ปี 2545 หรือเมื่อ 21 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น “เกาหลีใต้” จึงนับว่า ยืนอยู่ในจุดผู้นำด้านเทคโนโลยีมานาน
ขณะที่วิศวกรด้านโทรคมนาคมชาวญี่ปุ่นที่ทำงานในไทยก็ยอมรับเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ แม้ว่าจะมีเรื่องประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศที่ไม่ลงรอยกันบ้าง แต่ก็พบว่า วิศวกรชาวญี่ปุ่นก็ใช้โทรศัพท์มือถือของแบรนด์ “ซัมซุง”
รวมทั้งพบว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้ว “เกาหลีใต้” ลงทุนอย่างหนักในการก้าวสู่การเป็นผู้นำเทคโนโลยี “6จี” โดยโคเรียเฮอรัลด์รายงานว่า แอลจีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มดำเนินการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี 6G เพื่อเป็นผู้นำตลาดในอนาคต โดยเปิดศูนย์วิจัย 6G ภายในสถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี ( KAIST Institute) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี ในเมืองแทจอน โดยมีโช ดง โฮ ศาสตราจารย์ด้านวิศกรรมไฟฟ้าเป็นหัวหน้าศูนย์ดังกล่าว
เกาหลีใต้กับความร่วมมือด้านวิจัยในไทย
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือ สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาวิจัยแนวทางป้องกันปัญหาฝุ่นละออง ด้วยการตรวจสอบการทำงานของเทคโนโลยีในเครื่องฟอกอากาศ แอลจี เพียวริแคร์ (LG PuriCare) และเครื่องปรับอากาศภายในบ้านของแอลจี ที่มีคุณสมบัติในการฟอกอากาศและดูดฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กถึง 1.0 ไมครอน (PM 1.0) และ เทคโนโลยีที่นำมาศึกษาวิจัยในครั้งนี้ถูกนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาแนวทางในการลดปัญหาภาวะวิกฤติฝุ่นของประเทศไทยในอนาคต
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ตามนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมเมือง เช่น วิกฤติฝุ่น ซึ่งการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับแอลจีทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าผลลัพธ์จากการศึกษาวิจัยจะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต และเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของคนไทย
ความล้ำของ “เกาหลีใต้”รัฐบาลไทยจับมือเป็นกัลยาณมิตรยาว
ศาสตราจารย์พิเศษเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย วิทยาศาสตร์ และ นวัตกรรม กล่าวบนเวทีในการพิธีเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ” ครั้งที่ 18 มีเนื้อหาสาระสำคัญที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
“มาคิดถึงงานวิจัยของตนเองว่าจะใส่เข้าไปอย่างไรในภาพรวมของการวิจัย ผมเพิ่งกลับมาจากเกาหลีใต้ ก็นำคณะพีเอ็มยูดี (PMUD) ซึ่งหมายถึงหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ระดับแนวหน้า ของฟอนเทียร์ซายส์และที่ให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับเบรนเพาเวอร์ (brain opower ) แมนเพาเวอร์ และ ก็ให้คนอื่นๆด้วยไปพบกับผู้บริหารระดับสูงของเกาหลีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและนวัตกรรม
ปีหนึ่งที่ผ่านมา ผมไปเกาหลี 3 ครั้ง ที่ผมไปขนาดนั้น เพราะต้องการให้เกิดผลงาน ผมใช้เวลาไปยู่ต่างประเทศ ด้วยวาระของกระทรวง ไม่ได้ไปด้วยวาระของตัวเอง ผมพยายามจะดึงเกาหลีมาเป็นพันธมิตรนานาชาติที่สำคัญยิ่งของเรา นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นว่า เราจะวิจัยนวัตกรรมอย่างไรให้เกิดระโยชน์กับประเทศชาติได้มาก ประการแรกต้องมีพันมิตรจากต่างประเทศ ซึ่งมีศักยภาพและมีความเข้มแข็งในทางวิทยาศาสตร์สูงจริงๆ รวมทั้งความสามารถที่จะผนึกเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผนึกเข้ากับธุรกิจ ผมเห็นเกาหลีทำอะไรระสบความสำเร็จในทางธุรกิจแทบทั้งสิ้น และ การประสบความสำเร็จทางธุรกิจของเกาหลีคือชักนำวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีของเกาหลีให้มุ่งข้างหน้าให้เร็วเป็นพิเศษ เช่น เราคิดจะทำเศรษฐกิจ-โอกาส และ วิทยาศาสตร์-โอกาส เราก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเอาเกาหลีมาเป็นพันมิตร เพราะเกาหลีสนใจเราเป็นพิเศษ อยากจะมาทำสเปซ บอร์ด (space board) ในประเทศไทย เขาก็พร้อมที่จะมาทำ ฟิซซิบิลิตี้ สตัดดี้ (Feasibility Stydy) ในประเทศไทย
เราก็เตรียมเสนอสถานที่ที่ดีๆให้เขา มากไปกว่านั้น ต้องการที่จะให้เกาหลีใต้กับไทยเป็นมิตรประเทศที่เกื้อกูลกัน ถ้าเราจะทำวิทยาศาสตร์ โอกาส เศรษฐกิจ โอกาส แบบที่เราเคยทำๆกันมา ก็ทำได้ แต่มันจะช้า กับในโลกยุคปัจจุบัน เร็วหรือช้า มันชี้ขาด เพราะไม่ใช่ยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นยุคที่ปลาเร็ว เพราะฉะนั้นทำอะไรต้องเร็ว ผมก็คิดว่า ถ้าเราจะทำเรื่องวิทยาศาสตร์ โอกาส เศรษฐกิจ โอกาส เราต้องทำเร็ว ถ้าจะทำเร็ว เรามาขืนเรามาทำแต่ของเราเอง ไม่ทันการณ์ แน่นอนการพึ่งตนเอง การเจริญเติบโต ความสามารถที่เป็นจริงของคนไทยเรานั้น เป็นอะไรที่เป็นความมุ่งมั่นที่สุด
แต่ว่าวิธีการที่จะไปอาศัยกำลังของประเทศอื่น ที่สนใจประเทศเรา อยากจะเป็นพันธมิตรกับเรา เห็นความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ของเรา เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่เห็น ในระยะเวลาหนึ่งปี ที่ผมเดินทางไป 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีความสำคัญ ที่ทำมาแต่เดิม ไม่ใช่ไม่เคยทำ แต่ครั้งนี้ทำเป็นกันระดับรัฐมนตรีกับรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกับหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของเขา อย่างเป็นระบบ เขาก็ยินดีที่จะร่วมเป็นพันธมิตรในเรื่องเศรษฐกิจโอกาส
ประเด็นสำคัญคืออย่างนี้ ถ้าเราทำอะไรจะต้องเริ่มต้นนับหนึ่งอยู่เรื่อยๆ มันช้า มันจะไม่ทันการณ์ กว่าเราจะทำอะไรได้ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้น เราต้องหัดนับหก นับเจ็ด สมมติว่าทั้งหมดมันต้องนับสิบ เพื่อจะไปสู่ความสำเร็จ เราจะต้องเริ่มนับหกนับเจ็ด ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะเริ่มนับหกนับเจ็ดได้โดยอาศัยพลังของต่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นรักของคนทั้งโลก นี่ไม่ใช่คำเยินยอ ไม่ใช่คำสุภาพแต่เป็นเรื่องจริง ผมเดินทางมาสิบกว่าประเทศแล้วในรอบหนึ่งปีเศษๆที่ผ่านมา ทุกที่ เวลาผมไปพบกับเขา เขายิ้มแย้มแจ่มใส และ เขาก็พูดว่า เขาเคยมาประเทศไทย ชอบประเทศไทย รักอาหารไทย รักน้ำใสใจคอของคนไทย และ โดยทั่วๆเขาพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับเรา เพราะเขามองว่าเราเป็นประเทศสำคัญที่สุดของอาเซียน ขนาดเศรษฐกิจของประเทศไทยใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 24 ของโลก อันนี้เป็นเรื่องที่ซัมติง (something) ไม่ใช่เรื่องของน๊อตติ้ง (nothing)
นักวิจัยของเราจำนวนยังไม่ได้ตระหนักว่า ขนาดเศรษฐกิจของไทยเป็นขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 24 ของโลก เกาหลีใต้ใหญ่เป็นอันดับที่ 10-13 ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 24 ประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดคือสหรัฐอเมริกา อันที่สองคือ จีน อันดับสาม คือ ญี่ปุ่น อาเซียน ซึ่งเวลาต่างชาติคิดถึงประเทศไทยคิดถึงอาเซียน เพราะความที่ประเทศไทยเป็นฮับ (HUB) ของอาเซียน
เพราะฉะนั้นเวลาผมไปทำงานต่างประเทศ ผมก็จะบอกทุกครั้งว่า ถ้าคุณทำอะไรประเทศไทย คุณก็ทำอะไรกับอาเซียนด้วย เพราะว่าประเทศไทยเป็นฮับที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ฮับทางการคมนาคม ฮับทางด้านการค้า ฮับทางด้านการลงทุน แต่เป็นฮับทางวัฒนธรรม ประเทศในอาเซียนชอบวัฒนธรรมไทย ไปมาหาสู่ทางวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทย เป็นวัฒนธรรมที่มีแต่โบร่ำโบราณมาแล้ว ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เพราะฉะนั้น การมาตกลงกับประเทศไทยในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเท่ากับว่าคุณกำลังเข้าสู่ประเทศที่มีบริเวณของโลกที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 อาเซียนที่พวกเราอยู่มันเป็นซัมติ้ง ไม่ใช่น๊อตติ้ง 10 ประเทศ ถ้านับรวมเสมือนเป็นประเทศเดียว มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก”
นี่คือ เนื้อหาเพียงบางส่วนที่สะท้อนให้เห็นว่า โอกาสที่ไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอาเซียนนั้นได้นั้น จะต้องมีประเทศที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดีอย่าง “เกาหลีใต้” เพราะนกจะบินได้สูงต้องมีขน ถ้านกไม่มีขนก็คือนกถูกจับฆ่าเพื่อนำไปทำอาหาร ไม่สามารถบินต่อไปได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การไม่มีเพื่อนที่ดี ไม่มีกัลยาณมิตรที่ดี ก็เปรียบเสมือนนกที่ถูกจับฆ่าไปแล้ว ดังนั้น นกจึงต้องมีขน คนต้องมีเพื่อน ย่อมบินขึ้นสู่ที่สูงได้ เสมือน “เกาหลีใต้” และ “ไทย” ที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน เสมือนเกื้อกูลรักษาขนให้กันและกันในการบินขึ้นสู่ที่สูงนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
https://www.prachachat.net/world-news/news-283239
https://brandage.com/article/12612
https://www.facebook.com/v2maungprakarn/photos/a.329039967919668/342833563206975/?type=3