คืบหน้า…อาการและการดูแล “พลายเดือน” ลูกช้างป่าพลัดหลง อุทยานแห่งชาติทับลาน


1. ลูกช้าง มีความอยากกินนมปกติ อุจจาระเหลวเป็นน้ำมีเนื้อปนมา จึงมีการลดปริมาณนมต่อมื้อแต่เพิ่มความถี่ในการให้นม ปัสสาวะปกติ
2. กิจวัตรประจำวันในการดูแลลูกช้าง มีการพาเดินเล่นช้าๆโดยยังอยู่บนอุปกรณ์ช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลาโดยยกสองขาหลังที่เข้าเฝือกเหนือพื้นเล็กน้อย ขาหน้าไม่มีการดึงรั้งสามารถลงน้ำหนักได้เต็ม 2 ฝ่าเท้า ทำความสะอาดลดความชื้นของเฝือก การเปลี่ยนถุงหุ้มเฝือกเพื่อลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรก เช็คระดับรอกให้เหมาะสมทุกครั้งในการยืน และสลับให้เปลพยุงเพื่อลดแผลกดทับบริเวณขาหนีบ
3. ทำการให้แคลเซียมสำหรับกิน ผงโปรไบโอติก ยาลดกรดในกระเพาะ และยาลดปวดลดอักเสบ พร้อมทั้งทำความสะอาดสะดือและแผลบริเวณขาหนีบจากการกดทับ
4. ทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetotherapy Vet) ระบบดูแลกระดูก ควบคู่กับการรักษาทางยา โดยจะทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามโปรแกรมการรักษา
5. อุณหภูมิร่างกายปกติ
6. สำหรับอาการท้องเสีย ได้ปรับการกินนม ให้ยาปฏิชีวนะ และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าอยู่ในช่วงระดับปกติ
7. พบอาการท้องอืด จึงช่วยนวดท้องด้วยมหาหิงค์ และให้ยาลดอาการท้องอืด
8. ทาครีมบำรุงผิวหนัง เพื่อลดการแตกแห้งของผิวหนัง
ทั้งนี้อาการโดยรวมยังคงเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดโดยสัตวแพทย์ จะมีการประเมินอาการวันต่อวัน
