.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
ส.อ.ท.ปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 66 ลงอีก 5 หมื่นคัน เหลือ 1.85 ล้านคัน หลังไฟแนนซ์คุมเข้มปล่อยสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนไทย ขณะที่รถอีวีเริ่มตีตลาด
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. กล่าวว่า เราได้ปรับประมาณการผลิตรถยนต์ปี 2566 ใหม่ จากเดิมที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,900,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,050,000 คัน เพื่อการจำหน่ายในประเทศ 850,000 คัน โดยปรับลดเหลือการผลิตทั้งสิ้นที่ 1,850,000 คัน
ทั้งนี้ แบ่งเป็นการปรับลดในส่วนของการผลิตเพื่อการจำหน่ายประเทศลง 50,000 คัน เหลือ 800,000 คัน แต่ยังคงเป้าการผลิตเพื่อส่งออกที่ 1,050,000 คัน ส่งผลให้การผลิตที่ปรับใหม่เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีการผลิตทั้งสิ้น 1,883,515 คัน ลดลง 1.78%
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องปรับเป้าอีกครั้ง เนื่องจากก่อนหน้ามีความเข้มงวดของการอนุมัติสินเชื่อโดยเฉพาะรถกระบะค่อนข้างมาก เคยคิดว่าจะรอรัฐบาลใหม่มา เผื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ก็ยอมรับว่าดีมานด์มีอยู่ แต่การจำหน่ายในประเทศลดลงจากปัจจัยหลัก สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้ไม่ผ่านเครดิตบูโร ไฟแนนซ์บางแห่งให้วางเงินดาวน์สูง 30-40% ถือเป็นการปฏิเสธโดยปริยาย
ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์เดือน ก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 164,093 คัน ลดลงจาก ก.ย. 65 คิดเป็น 8.45% ส่งผลให้ 9 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-ก.ย. 66) มียอดผลิต 1,385,971 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.61% ซึ่ง 9 เดือนแรกผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 218,991 คัน คิดเป็น 45.52% ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.04% ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 เดือน อยู่ที่ 576,007 คัน คิดเป็น 41.56% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.74%

สำหรับยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 62,086 คัน ลดลงจากเดือน ก.ย. 65 คิดเป็น 16.27% จากยอดขายรถกระบะที่ลดลงถึง 45% เพราะการเข้มงวดสินเชื่อ ประกอบกับเดือน ก.ย. 65 มีการเติบโตสูงจากที่เริ่มได้รับชิป ส่งผลให้ 9 เดือนแรกมียอดขาย 586,870 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.39%
ขณะที่การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ 97,476 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 65 คิดเป็น 2.90% เพราะฐานสูงในปีที่แล้วที่ได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น และ 9 เดือนแรกส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 821,899 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.34%
โดยมีมูลค่าการส่งออก 519,435.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.27% ทำให้การส่งออกทั้งปีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ หากสถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาส ไม่บานปลายขยายวงกว้างไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางโดยรวม
ส่วนยานยนต์ไฟฟ้ายังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยพบว่ามียอดจดทะเบียนใหม่ หรือ ป้ายแดง เดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ 6,839 คัน เพิ่มขึ้น 542.16% และรวม 9 เดือนแรก ปีนี้อยู่ที่ 50,000 คัน เพิ่มขึ้น 757.63%