หนังปลากรอบกับโซเดียม


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

หนังปลากรอบ อาหารทานเล่น เครื่องเคียงที่คนไทยนิยมทานแกล้มกับก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ ยำ น้ำพริก หรือทานแกล้มกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หนังปลากรอบเป็นอาหารที่หาซื้อง่าย ราคาถูก ทำจากหนังปลาหลายชนิด เช่น หนังปลาแซลมอน หนังปลานิล หนังปลากะพง หนังปลาคอด กรรมวิธีการผลิตเริ่มจากนำหนังปลามาขอดเกล็ด ทำความสะอาด ผึ่งให้หนังปลาแห้งแล้วนำไปหมักกับเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น เกลือ พริกไทย จากนั้นนำไปคลุกกับแป้งทอดกรอบแล้วทอดในน้ำมันให้หนังปลาขึ้นฟู มีสีเหลืองกรอบ แล้วปรุงรสชาติด้วยผงปรุงรสต่างๆ เช่น รสบาร์บีคิว รสเกลือ รสต้มยำ รสหมาล่า รสไข่เค็ม ในขั้นการหมักและปรุงรสชาติหนังปลากรอบนั้น ส่วนประกอบที่ใช้หมักหรือปรุงมักมีโซเดียมสูง จึงส่งผลให้หนังปลากรอบมีโซเดียมอยู่ด้วย แม้โซเดียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากๆ หรือมากเกินไปเป็นประจำ จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง ไตทำงานหนัก เสี่ยงต่อการเป็นโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดได้

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ปริมาณโซเดียมสูงสุดที่บริโภคต่อวันแล้วไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย คือ ปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างหนังปลากรอบจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ที่ขายในท้องตลาดเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณโซเดียม

ผลวิเคราะห์พบว่า หนังปลากรอบทั้ง 5 ตัวอย่าง ในปริมาณ 100 กรัม (1 ขีด) มีปริมาณโซเดียมอยู่ในช่วง 127.89-1,178.18 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคได้สูงสุดต่อวัน เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว ท่านที่ชื่นชอบหนังปลากรอบสามารถทานได้อย่างสบายใจ แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม เช่น ไม่เกิน 1 ขีดต่อวัน เพราะอย่าลืมว่าอาหารอื่นที่เราทานในแต่ละวันจะมีโซเดียมอยู่ด้วยในปริมาณไม่มากก็น้อย ขอแนะว่าเพื่อสุขภาพที่ดี ลดเค็ม ลดโรค.

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *