“หมอดื้อ” แนะต้องรู้ให้ได้ก่อนที่อาการจะออก “สมองเสื่อม” นำไปสู่การป้องกัน ชะลอ รักษา


วันที่ 5 ก.ย.66 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก  “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ระบุข้อความว่า  …

การปฏิวัติรูปแบบการวินิจฉัยสมองเสื่อม,

“ ต้องรู้ให้ได้ก่อนที่อาการจะออก”

และนำไปสู่การป้องกัน ชะลอ รักษา

การประชุมประจำปี Alzheimer’s Association International Conference (AAIC) ที่ อัมสเตอร์ดัมในเดือนกรกฎาคม 2023

* ทั้งนี้ กระบวนการปฏิวัติเริ่ม ตั้งแต่ปี 2017 จนกระทั่งถึง ในปัจจุบันนี้

* สมาคมโรคอัลไซเมอร์ อเมริกา และนานาชาติ เห็นพ้องที่ต้องปรับปรุงระบบในการวินิจฉัยสมองเสื่อม จากการที่ต้องทำแบบทดสอบต่างๆอย่างเดียว โดยรอจนเกิดอาการชัดเจน และแม้แต่โดยที่ใช้คอมพิวเตอร์สมองแม้กระทั่ง MRI ก็ตามยังเป็นการสายเกินไป

ทั้งนี้เนื่องจาก ถ้ารอให้ สมองเสียหายจนกระทั่งแสดงอาการ หมายความว่าจะเริ่ม “กู่ให้กลับยากขึ้น”

* และเป็นที่มาที่ต้องรู้ว่ามีสมองเสื่อมปะทุ แล้วหรือยังโดยแม้ยังไม่มีอาการแสดงออกยิ่งดี

* เป็นที่มาของการพัฒนาการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบแต่เนิ่นๆ โดยการตรวจนี้ พัฒนาจากคนที่ทำการตรวจ MRI และ PET scan จนกระทั่งถึงการเจาะน้ำไขสันหลัง และได้ค่ามาตรฐานว่าระดับใดถือว่าปกติหรือไม่ปกติ

* โดยวิธีที่ใช้ในการครวจ เช่น ทำด้วย SIMOA single molecule assay

ทั้งนี้ด้วยการตรวจเลือดซึ่งสามารถระบุชนิดของสมองเสื่อมระยะขั้นตอนและความรุนแรงได้ ตั้งแต่ก่อนมีอาการ

การปฎิบัติตัว ตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่เดี๋ยวนี้

* หมายถึงตั้งแต่ เริ่มเข้าใกล้อายุ 35

* ด้วยการกินอาหารเข้าใกล้มังสวิรัติ งดแป้ง งดเนื้อสัตว์บก ทั้งหมด

* หันมากิน กุ้งหอย ปูปลาได้ ไม่กินขนมหวาน ออกกำลังสม่ำเสมอตากแดด

* ถ้าจะดื่มแอลกอฮอล์ต้องอยู่ในระดับพองาม 30 กรัมต่อวัน

* กาแฟที่มีหรือไม่มีคาเฟ่อีนช่วยสมองได้

* กินชาดำแดงเขียวชาจีนได้

ในเรื่องของยา

ยาหลายตัวที่อาจไม่มีประโยชน์เลยและเกิดผลแทรกซ้อนและ/หรือ อาจเป็นไปได้ที่เร่งให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น ควรหลีกเลี่ยง

ยาในกลุ่มที่รักษาความดันหรือเบาหวาน มียาบางตัวในกลุ่มนั้นๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการลดความเสี่ยงการเกิดสมองเสื่อมด้วย ควรเลือกใช้

* ยาที่มีผลในการรักษา โดยเฉพาะ อยู่ในการศึกษาในมนุษย์ระยะที่สามอย่างน้อย 30 รายการด้วยกัน

* และผ่านขั้นตอนของกลไกในการออกฤทธิ์ในหลอดทดลอง

ในสัตว์ทดลองหรือใช้ สมองน้อย organoid มาในการศึกษาว่ายาดังกล่าวจะเก่งหรือไม่ จนกระทั่งผ่านขั้นตอนที่หนึ่งและที่สองใน มนุษย์ ในเรื่องของความปลอดภัยและขนาดที่ควรจะใช้ที่เก่งต่อโรค จนมาถึงระยะที่3 แล้ว

ถึงแม้รู้ว่าเริ่มมีสมองเสื่อมปะทุ ก็มีทางแล้ว


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *