
.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
Foreign Affairs Insights and Review รายงานข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯเรื่องการผลิตข้าวตั้งแต่ ค.ศ.2018/2019 ถึง 2022/2023 (เป็นเวลา 5 ปี) โดยเฉลี่ยร้อยละ 84 ของการผลิตข้าวมาจากเพียง 10 ประเทศ จีนผลิตได้ 147.691 ล้านตัน อินเดีย 125.039 ล้าน บังกลาเทศ 35.51 ล้าน อินโดนีเซีย 34.36 ล้าน เวียดนาม 27.10 ล้าน ไทย 19.39 ล้าน พม่า 12.53 ล้าน ฟิลิปปินส์ 12.24 ล้าน ปากีสถาน 7.53 ล้าน และบราซิล 7.37 ล้าน
ข้อมูลจาก Statista ผู้ส่งออกข้าวของโลกใน ค.ศ.2022/2023 คือ อินเดีย 21.5 ล้านตัน ไทย 8.2 ล้าน เวียดนาม 6.8 ล้าน ปากีสถาน 3.8 ล้าน พม่า 2.4 ล้าน จีน 2.2 ล้าน สหรัฐฯ 2 ล้าน กัมพูชา 1.6 ล้าน บราซิล 1.1 ล้าน และอุรุกวัย 0.9 ล้าน
โลกเคยขาดแคลนข้าวรุนแรงใน ค.ศ.2003-2004 จากการวิเคราะห์ของฟิตช์ โซลูชั่นส์ ค.ศ.2022-2023 โลกจะขาดแคลนข้าวเป็นสถิติสูงสุด 8.7 ล้านตัน เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกที่กระทบต่อการปลูกข้าว รวมทั้ง สงครามรัสเซีย-อูเครนที่ยืดเยื้อมานานเกิน 1 ปี ประเทศผู้ผลิตข้าวทั้งหลายโดนกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญแทบทั้งสิ้น
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯค้นคว้าจริงจังว่าประเทศไหนจะผลิตได้ลดลงประมาณเท่าใด ปรากฏว่าปากีสถานที่เคยครองส่วนแบ่งตลาด ข้าวโลกร้อยละ 7.6 จะมีผลผลิตลดลงร้อยละ 31 ปีที่แล้ว อินเดียครองส่วนแบ่งตลาดข้าวมากกว่าร้อยละ 40 เมื่อ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา อินเดียประกาศระงับการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบัสมาติ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาของตลาดภายในประเทศ แทบทุกประเทศผลิตและส่งออกได้น้อยลง ยกเว้นเวียดนามที่ประมาณการว่าตนจะสามารถผลิตข้าวในปีนี้ได้ 28 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 20 ล้านตัน และจะมีข้าวส่งออกมากถึง 8 ล้านตัน
จีนที่เคยผลิตข้าวและธัญพืชได้ในแถบตอนบนของประเทศ ที่มณฑลจี๋หลิน มณฑลเฮย์หลงเจียง และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (3 มณฑลผลิตข้าวได้ร้อยละ 23 ของการผลิตข้าวของจีนทั้งประเทศ) แต่ปีนี้ได้รับอิทธิพลของไต้ฝุ่นทกซูรี เกิดอุทกภัยรุนแรงเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้จีนไม่มีข้าวพอกิน ต้องนำเข้าข้าวทำให้ราคาข้าวโลกจะปรับตัวสูงขึ้น ประเทศไทยเองก็มีคำขอร้องจากทางรัฐบาลให้ชาวนาปลูกข้าวน้อยลงเพื่อประหยัดน้ำ สถานการณ์การผลิตและส่งออกข้าวในปีนี้จึงจะแย่ลง
คนฟิลิปปินส์ร้องโอดโอยโหยหวนเพราะราคาข้าวแพงขึ้นมาก ถึงขนาดประธานาธิบดีมาร์กอสจูเนียร์ต้องลงนามในคำสั่งบริหารกำหนดเพดานราคาข้าวทั่วประเทศ ให้ข้าวขาวทั่วไปอยู่ที่ 41 เปโซต่อกิโลกรัม และข้าวที่สีคุณภาพดีอยู่ที่ 45 เปโซต่อกิโลกรัม ตอนนี้ที่ฟิลิปปินส์มีการกักตุนข้าวจากบรรดาพ่อค้าผู้นำเข้า โดยพ่อค้าเหล่านี้ทำนายทายว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้ข้าวราคาแพงขึ้น และพวกตนจะได้กำไรมหาศาล
มกราคมและกุมภาพันธ์ 2023 ผมบินไปบราซิลเพื่อจัดหาน้ำตาลทรายที่จะส่งจากบราซิลเข้าไปยังเมืองจีน เพราะสถานการณ์ ความต้องการน้ำตาลของจีนในปีนี้มีสูงมาก ที่บราซิลก็มีปัญหาเช่นกัน ผมได้รับความเมตตาจากประธานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของบราซิลแห่งหนึ่งช่วยพาตระเวนไปทั่วบราซิล เพื่อพบลูกค้าของธนาคาร และพบว่าแทบ ทุกแห่งก็มีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำตาลได้น้อยกว่าปกติ
ไม่กี่ปีก่อน พ่อผมขับรถจากเมืองโคซีฟ จังหวัดอีวาโน-ฟรานสคีฟสค์ ของอูเครน ไปตามจังหวัดต่างๆ ที่ผลิตน้ำตาลจากชูการ์บีท อูเครนเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่แห่งหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในอูเครน ทำให้การผลิตน้ำตาลลดลง หรือบางจังหวัดในอูเครนผลิตน้ำตาลไม่ได้เลย
การผลิตน้ำตาลโลกลดลง ไม่ว่าจะผลิตจากอ้อย (ไทย บราซิล และอินเดีย) หรือผลิตจากชูการ์บีทอย่างอูเครน คาดการณ์กันว่าน้ำตาลก็จะมีราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก ทั่วโลกอยู่ในอาการตระหนกตกใจเพราะความมั่นคงทางอาหารมีความสำคัญต่อการดำเนินประเทศ เราคงต้องเฝ้าระวังการผลิตและการส่งออกอย่างใกล้ชิด หลายประเทศเริ่มมีปัญหาการกักตุน น่าเห็นใจครับ ผลิตได้น้อย แถมยังเจอปัญหาการกักตุนอีก.
นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
[email protected]