อาหารเสี่ยงโรคหัวใจกำเริบ ตัวการทำคอเลสเตอรอลพุ่งหลอดเลือดตีบ


กินดี

อาหารนับเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่หากกินอาหารให้ถูกหลักจะช่วยลดอาหารป่วยชะลอการกำเริบของโรคได้ และรู้หรือไม่?มีอาหารบางประเภทที่กระตุ้นอาการให้รุนแรงขึ้น!

.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}

การกินอาหารเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของเราได้เลย ยิ่งถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ที่ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกกินเพื่อป้องกันไม่ให้โรคหัวใจกำเริบ และรู้หรือไม่ ? มีอาหารบางอย่างที่อาจเข้าไปกระตุ้นอาการของโรคให้กำเริบได้ เช็กเลย อาหารอะไรบ้างที่ผู้ป่วยไม่ควรกิน!

7 อาหารที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยง!

  • อาหารไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันเลวสูงอย่างไขมันจากสัตว์ น้ำมันหมู มันหมู ขาหมู มันไก่ 

รู้จัก “ไขมันทรานส์” ตัวการเสี่ยงโรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ในอาหารจานโปรด

สธ.ยัน ยังไม่มีวิจัยชี้ “ไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป” เป็นสารเร่งไขมันพอกตับ

หรือน้ำมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ บรรดาของทอด หรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย มาการีน ชีส

  • อาหารแปรรูป อย่างไส้กรอก เบคอน แฮม กุนเชียง หมูยอ เป็นต้น เพราะหากไขมันในเลือดมีปริมาณมาก (เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันตามผนังเส้นเลือด เพิ่มความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจวาย หรือโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบได้
  • อาหารคอเลสเตอรอลสูง รู้หรือไม่ ? อาหารบางอย่างอาจดูไม่มีไขมันมาก แต่แฝงไปด้วยคอเลสเตอรอลสูงจนเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ เช่น ปลาหมึก มันกุ้ง เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ไข่แดง ไข่นกกระทา เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น เพราะการปล่อยให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงก็อันตรายต่อหัวใจ ดังนั้นพยายามคุมคอเลสเตอรอลในเลือดอย่าให้เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ไขมันทรานส์ ไม่ถึงกับห้ามแต่อยากให้เลี่ยงการรับประทานเบเกอรี่ต่าง ๆ เช่น คุกกี้ พัฟ พาย เค้ก เพราะในอาหารประเภทนี้มักจะมีไขมันทรานส์แฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมาร์การีน เนยขาว ครีมเทียม หรือน้ำมันที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ซึ่งไขมันทรานส์จะเพิ่มปริมาณไขมันเลวในร่างกาย เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ กระตุ้นภาวะไขมันอุดตันเส้นเลือด เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือดได้
  • อาหารรสเค็มจัด เช่น ผงปรุงรส ซอสปรุงรส น้ำจิ้มสำเร็จรูป หรืออาหารดองเค็มอย่างผักดอง กะปิ น้ำปลา ปลาเค็ม หรือเนื้อเค็ม เพราะอาหารรสเค็มมักจะมีโซเดียมสูง รวมไปถึงอาหารรสหวานจัดอย่างขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม ผลไม้น้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า เพราะน้ำตาลในอาหารเหล่านี้หากสะสมอยู่ในร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นไขมันในที่สุด
  • อาหารฟาสต์ฟู้ด พิซซ่า ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ หรือแฮมเบอร์เกอร์ เป็นอาหารที่หลายคนโปรดปราน แต่เมนูเหล่านี้มีไขมันและคอเลสเตอรอลค่อนข้างสูง และบางอย่างก็แฝงไขมันทรานส์สุดอันตรายไว้ด้วย ดังนั้นหากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยง

มื้อเช้าวันหยุดแบบไหน? ที่แย่สำหรับสุขภาพหัวใจ-ไขมันและโซเดียมสูง

  • กาแฟ ไม่เพียงแค่กาแฟเท่านั้น แต่เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนก็ควรเลี่ยงไว้ เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหดตัว เวลาดื่มกาแฟจึงอาจมีอาการใจสั่น กระสับกระส่าย ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคหัวใจควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ หากอยากกินจริงๆ ขอให้กินนิดๆหน่อยๆ ให้พอหายอยากและไม่ควรกินบ่อยเน้นกินอาหารครบ 5 หมู่อย่างหลากหลายเพื่อบำรุงหัวใจและร่างกายให้แข็งแรงไปพร้อมๆ กัน 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพจาก : Shutterstock 

มื้อเช้าวันหยุดแบบไหน? ที่แย่สำหรับสุขภาพหัวใจ-ไขมันและโซเดียมสูง

อาหารผู้ป่วยมะเร็งให้คีโม ไขมัน-คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ควรเลือกแบบไหน?

AVC-Woman2023-31B AVC-Woman2023-31B
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

PPSHOP


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *