ฮือฮา พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคโบราณ ที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ในป่าอินโดฯ


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

นักวิทย์ตะลึง หลังกล้องดักสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าฝนอินโดนีเซีย สามารถบันทึกภาพของตัวกินมดหนามจะงอยปากยาว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคโบราณ ที่ถูกเข้าใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ถือเป็นข่าวดีของวงการวิทยาศาสตร์ เมื่อกล้องดักสัตว์ป่าของโครงการสำรวจป่าของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในพื้นที่ป่าฝนอินโดนีเซีย สามารถบันทึกภาพของ “แอตเทนบะระ อิคิดนา” หรือตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคโบราณ ที่ถูกเข้าใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ได้ 4 คลิป ความยาวคลิปละ 3 วินาที ซึ่งนับเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่า สัตว์สายพันธุ์นี้ไม่ได้สูญพันธุ์อย่างที่วิตกกัน หลังจากที่ไม่มีบันทึกการพบสัตว์ตัวนี้มานานกว่า 60 ปีแล้ว โดยสัตว์หายากสายพันธุ์นี้ถูกตั้งชื่อตาม เซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ

ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ มีขนปุกปุย และมีหนามทั่วร่างกาย แถมยังมีจะงอยปากเหมือนนก โดยนับว่ามันเป็นสัตว์โบราณตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน ในยุคที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่บนโลก

ดร.เจมส์ เคมป์ตัน ผู้นำทีมวิจัยลงสำรวจพื้นที่ในเทือกเขาไซคลอปส์ ซึ่งเป็นป่าฝนที่อยู่สูง 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลของอินโดนีเซีย เป็นเวลานาน 1 เดือน ระบุว่า วินาทีที่เขาได้เห็น แอตเทนบะระ อิคิดนา ผ่านวิดีโอดักสัตว์ เขาตะโกนบอกเพื่อนร่วมทีมด้วยความดีใจ ว่าเราพบมันแล้ว และมันยังมีอยู่ โดยเขาได้ไล่เปิดดูการ์ดข้อมูลจากกล้องทั้งหมดจนมาถึงแผ่นสุดท้าย จากกล้องตัวสุดท้ายที่เก็บกลับมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการสำรวจด้วย โดยนอกจากการค้นพบตัวกินมดหนามที่สูญหายแล้ว ทีมสำรวจยังได้ค้นพบแมลง และกบสายพันธุ์ใหม่ๆ อีกหลายสายพันธุ์ และคาดว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากที่ยังรอการสำรวจในพื้นที่เทือกเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวท้องถิ่นต่างร่วมกันดูแลเป็นอย่างดี.

คลิกอ่านข่าวต่างประเทศไทยรัฐออนไลน์ ที่นี่


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *