เผย 5 เทคนิคกินดีอยู่ดีของจริง ที่หนุ่มวัยเรียนและวัยทำงานห้ามพลาด


ปัจจุบันชีวิตของวัยรุ่นและวัยทำงาน ยังเต็มไปด้วยความเร่งรีบและความเครียด ไม่ใช่แค่เรื่องการเดินทางหรือเร่งรีบให้ทันเวลางานเท่านั้น ความเครียดจากการเรียน การประชุม การแข่งขัน เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน นำไปสู่นิสัยการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพและอาจทำให้ขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้ ถ้าไม่มีเวลาออกกำลังกายหรือพักผ่อนจะยิ่งพาสุขภาพเสียหาย จึงขอแนะนำเทคนิค 5 ข้อ ในการดูแลสุขภาพของคนวัยรุ่นและวัยทำงาน ดังนี้ 

1.พลังงานของมื้อเช้า

โดยทั่วไปทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน มีความต้องการพลังงาน 1,800 – 2,000 แคลอรี่ต่อวัน โดยกระจายไปตามมื้ออาหารต่าง ๆ ทั้งมื้อหลักและของว่าง การศึกษาพบว่าการไม่รับประทานอาหารเช้า อาจส่งผลเสียต่อความพร้อมของร่างกายในการทำกิจกรรมระหว่างวัน ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หมอกในสมอง มึนงง ขาดสมาธิ และอาจเกิดอาการหลอนได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเช้าจะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็น เพื่อการทำงานอย่างเหมาะสมตลอดทั้งวัน

2.จัดสัดส่วนของมื้อกลางวัน

หลักการเลือกเมนูอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้แนวคิดการควบคุมปริมาณอาหาร  เพื่อให้จำง่าย ขอแนะนำหลัก 2-1-1 ควบคู่ไปกับหลักการลดปริมาณน้ำตาล ไขมัน และเกลือ ซึ่งให้จำง่าย ๆ แบ่งจานตามสัดส่วนของอาหาร ครึ่งหนึ่งของจานควรประกอบด้วยผัก 2 ส่วน ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 4 ควรเต็มไปด้วยเนื้อสัตว์ ข้าว หรือธัญพืช อย่างละ 1 ส่วน เน้นการลดน้ำตาล ไขมันเสีย และโซเดียม

3.เพิ่มความสดชื่นด้วยน้ำเปล่า

นอกจากการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว การดื่มน้ำให้เพียงพอยังช่วยเพิ่มความจำ อารมณ์ และการทำงานของสมองได้อย่างมาก ขณะเดียวกันก็ช่วยลดความเครียดด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรลืมที่จะดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือ 1.5 ลิตร การถือขวดน้ำขนาดใหญ่และจิบตลอดทั้งวัน หรือตั้งเตือนให้ดื่มน้ำทุก ๆ ชั่วโมง เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

4.รองท้องด้วยอาหารเบาๆ ถ้าต้องทำกิจกรรมต่อเนื่อง

สำหรับคนทำงานและวัยรุ่น วัยเรียน มักจะมีตารางงาน ตารางเรียน และการทำกิจกรรมที่ยุ่งจนส่งผลให้ต้องทำงานล่วงเวลา ต้องประชุมนาน ต้องติวหนังสือต่อเนื่อง หรือต้องทำกิจกรรมไปยาว ๆ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกหิวจัดในช่วงเย็น จึงนำไปสู่การบริโภคอาหารมากกว่าปกติ จึงควรเตรียมของว่างเพื่อสุขภาพไว้ล่วงหน้า ช่วยลดความหิว ตัวอย่างของของขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ คือ เครื่องดื่มจากพืช ผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ นม และผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ ซึ่งของขบเคี้ยวเหล่านี้ไม่เพียงแต่ให้สารอาหารที่หลากหลายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มได้นานเลยทีเดียว

5.ควรมีเวลาพักเบรกบ้าง

การติดอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ และพิมพ์งาน โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากนัก หรือการไปเรียนที่ต้องนั่งยาวหลายชั่วโมง รวมไปถึงการเล่นมือถืออยู่ตลอด อาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายและความตึงเครียดในร่างกาย โดยเฉพาะในดวงตา  ดังนั้น เมื่อมีอาการตาล้า สิ่งสำคัญคือต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ อกกำลังกายเบา ๆ ให้เข้ากับกิจวัตรประจำวัน จะช่วยจัดการความเครียดที่มากเกินไป

แม้ว่าผู้ใหญ่วัยทำงานและวัยรุ่นที่กำลังเรียนอยู่อาจจะยุ่งจนมีเวลาน้อยมาก แต่ก็ยังต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเป็นอันดับแรก ด้วยการทำตามเทคนิค 5 ข้อนี้ เพื่อสุขภาพที่ดี เน้นเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผ่อนคลายให้เต็มที่ และดูแลสุขภาพให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *