เรื่องนี้ไม่ต้องอี๋ “สีอุจจาระ” เป็นเรื่องจำเป็น


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

  • เราควรสังเกตสีของอุจจาระในการขับถ่าย หากมีการเปลี่ยนแปลงของสี ลักษณะ และรูปร่าง อาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติ รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและลำไส้ได้
  • สุขภาพลำไส้ที่ดี จะส่งผลต่อระบบการขับถ่าย ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงการดูแล และรักษาลำไส้ในระยะยาว หากพบความผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาป้องกันก่อนที่โรคลุกลาม
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ช่วยตรวจคัดกรอง และประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นระยะเริ่มต้น ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ทั้งผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

หากสังเกตอุจจาระทุกวัน จะเห็นความแตกต่าง ทั้งปริมาณ รูปทรง และสี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหารในแต่ละวัน บางครั้งการเปลี่ยนแปลงของอุจจาระ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพเพียงเล็กน้อย แต่บางกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติร้ายแรงของระบบทางเดินอาหารก็เป็นได้

สีอุจจาระ สัญญาณสุขภาพ

สีของอุจจาระเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป รวมถึงปริมาณน้ำดี ซึ่งเป็นของเหลวสีเหลืองเขียวที่ย่อยไขมันในอุจจาระ เมื่อเม็ดสีน้ำดีเดินทางผ่านทางเดินอาหาร จะถูกเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยเอนไซม์ ทำให้เม็ดสีเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นอุจจาระปกติมักเป็นสีเขียวและน้ำตาล

  • อุจจาระสีแดง
    อาหารสีแดง เช่น บีทรูท หรือน้ำมะเขือเทศ อาจทำให้อุจจาระเป็นสีแดง แต่ถ้าไม่ใช่อาหาร ต้องสังเกตว่าอุจจาระมีเลือดปนหรือไม่ หากมีเลือดปนออกมา อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเป็นโรคริดสีดวงทวาร หรือมีเลือดออกในลำไส้ส่วนล่าง เช่น ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือทวารหนัก หากพบว่าอุจจาระสีแดง มีเลือดปนเป็นประจำ ควรรีบพบแพทย์ทันที
  • อุจจาระสีดำ เพราะอะไร
    เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น อาหารเสริมธาตุเหล็ก ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth Subsalicylate) หรือยาลดกรด รวมถึงอาหารที่อาจทำให้อุจจาระสีดำ เช่น ลูกหม่อน หรือบลูเบอร์รี นอกจากนี้อุจจาระสีดำยังบ่งบอกถึง การมีเลือดออกบริเวณลำไส้ส่วนต้นได้อีกด้วย
  • อุจจาระสีดำเหนียวคล้ายยางมะตอย
    เกิดจากการที่เลือดทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร มักเกิดจากเลือดออกบริเวณกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ส่วนต้น ทางการแพทย์เรียกอุจจาระปนเลือดลักษณะนี้ว่า เมเลนา (Melena) ทั้งนี้ การเกิดอุจจาระสีดำเหนียวอาจบ่งบอกถึงโรคระบบทางเดินอาหารทั้งที่เป็นชั่วคราวหรือเรื้อรัง รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก็ได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการอักเสบ แผล หรือโรคบางโรค
  • อุจจาระสีขาวหรือสีเทาอ่อน
    เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอาจมีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน ส่งผลให้ขาดน้ำดี นอกจากนี้แบเรียม ซึ่งเป็นสารสีขาวที่ใช้สำหรับการตรวจทางรังสีวิทยาของทางเดินอาหาร รวมถึงยาบางชนิดที่มีอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ เช่น ยาลดกรด สามารถทำให้อุจจาระเป็นสีขาวได้เช่นกัน
  • อุจจาระเป็นมันลอย อุจจาระเป็นเมือกไขมัน
    มักจะมีกลิ่นเหม็นร่วมกับการถ่ายบ่อย ไม่เป็นก้อน เกิดจากภาวะไม่ย่อยไขมัน ซึ่งพบได้ในโรคของตับอ่อน ขาดน้ำย่อยไขมัน หรือการกินยาบางประเภทที่ทำให้ไม่เกิดการย่อยไขมัน เช่น Orlistat
  • อุจจาระเป็นสีเขียว
    มักเป็นสีของน้ำดี หรือสีจากอาหารพวกผักใบเขียวที่ยังไม่ย่อย และมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เร็วเกินไป มักพบในภาวะท้องเสีย ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน จึงควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
  • อุจจาระสีน้ำตาลหรือสีเหลืองทอง
    เป็นสีอุจจาระปกติ จากการทำงานของระบบย่อยและระบบทางเดินอาหารเป็นปกติดี

รูปร่างของอุจจาระบอกอะไร

  • อุจจาระเรียวคล้ายกล้วยหอม
    ไม่แข็งหรือว่าเป็นน้ำจนเกินไป เป็นอุจจาระที่ดี และมีสุขภาพการขับถ่ายปกติ
  • อุจจาระเรียวยาวแต่แข็ง
    ผิวขรุขระและขับถ่ายยาก คือ ภาวะของการขาดน้ำ หรือดื่มน้ำต่อวันน้อยเกินไป ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • ถ่ายเป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อน
    อาจหมายถึง มีอุจจาระสะสมในลำไส้เป็นเวลานาน จนเกิดภาวะท้องผูก
  • อุจจาระชิ้นสั้นๆ
    ขับถ่ายไม่ยาก ยังถือว่าอยู่ในสภาวะปกติ แต่อาจต้องเพิ่มการดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • ถ่ายเหลว
    อาจเป็นอาการเริ่มต้นของท้องเสีย ควรระวังเรื่องชนิดของอาหารและความสะอาดให้มากขึ้น
  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายเหลวทุกวัน เกิดจากอะไร
    เกิดภาวะท้องเสีย หากถ่ายหลายครั้งต่อวัน ควรดื่มเกลือแร่ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเกลือแร่ที่สำคัญ หากรู้สึกอ่อนเพลีย หรือมีการอาเจียนร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันที

โรคที่แฝงมากับอุจจาระที่ผิดปกติ

  • ริดสีดวงทวารหนัก
    เกิดจากภาวะหลอดเลือดบริเวณทวารหนักโป่งพอง อาจมีติ่งริดสีดวงปลิ้นออกมาจากรูทวาร รวมถึงถ่ายเป็นเลือดแดงสดรวมกับอุจจาระ หรือไม่ปนกันก็ได้ ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารอาจมีอาการปวดแสบระคายเคืองบริเวณรูทวารหนัก ผู้ที่มีภาวะท้องผูกบ่อยๆ หรือท้องเสียเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อโรคริดสีดวงทวารหนักมากกว่าผู้ที่มีการขับถ่ายปกติ
  • เลือดออกในลำไส้ใหญ่
    หากพบว่าขณะขับถ่ายมีเลือดสดหรือลิ่มเลือดไหลปนอุจจาระออกมา แต่ไม่รู้สึกปวดหรือระคายเคืองทวารหนัก หรือคลำไม่พบติ่งริดสีดวง อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว
  • เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก
    อาจพบการอาเจียนเป็นสีดำหรือเป็นเลือดแดง หรือไม่อาเจียนเลยก็ได้ ตามมาด้วยการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสีคล้ำเข้ม หรือดำยางมะตอย หรือสีแดงเข้มปนดำ (Maroon) สีเลือดนก กลิ่นเหม็นคาวมาก หากพบว่าอุจจาระมีเลือดสดจำนวนมาก ควรรีบพบแพทย์ทันที
  • โรคลำไส้ขาดเลือด
    ภาวะเซลล์ลำไส้ไม่ทำงาน เนื่องจากเลือดไม่สามารถเข้าไปไหลเวียนในลำไส้ได้ ในที่สุดลำไส้จะเริ่มเน่าและเกิดแบคทีเรีย มักพบอาการปวดท้องรุนแรงและถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย อาจปวดเกร็งช่องท้องมากจนหมดสติ เป็นภาวะฉุกเฉิน หากไม่รีบรักษา อาจเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
    โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบมากในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แต่มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนวัยรุ่นและวัยทำงานได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุผนังด้านในของลำไส้ใหญ่ หากมะเร็งอยู่ใกล้ทวารหนัก อาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ปวดเบ่งถ่ายไม่สุด หรือถ่ายเป็นเลือดสด

8 ข้อปฏิบัติ ดูแลสุขภาพลำไส้ ขับถ่ายอุจจาระดี

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลือกรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีกากใยสูง ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
  • เลี่ยงอาหารเนื้อแดงและอาหารแปรรูป การรับประทานเนื้อวัว เนื้อหมู ไส้กรอก หมูยอ ปริมาณมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
  • ควบคุมน้ำหนัก ด้วยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยลดภาวะน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก นอกจากนี้การเคลื่อนไหวร่างกาย ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  • งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และมะเร็งทวารหนักมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) แนะนำว่า ผู้ชายไม่ควรดื่มเกินสองแก้วต่อวัน และผู้หญิงไม่ควรเกินหนึ่งแก้วต่อวัน เนื่องจากการบริโภคแอลกอฮอล์มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
  • เพิ่มโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ช่วยระบบการย่อย
    ดื่มน้ำให้มาก การดื่มน้ำน้อยเกินไปส่งผลให้ท้องผูกได้ ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบย่อยและขับถ่ายได้

อาการผิดปกติที่ควรมาตรวจสุขภาพลำไส้

  • หากเป็นผู้มีความเสี่ยง เนื่องจากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองก่อนอายุ 45 ปี โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ
  • จากการศึกษาพบว่า การเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ทันสมัยผ่านทางกล้อง เช่น NBI (Narrow Band Image) EMR (Endoscopic Mucosal Resection) และ Endobrain (เป็น program AI) ที่ช่วยประเมินความเสี่ยงของติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ และหากพบความผิดปกติ แพทย์สามารถตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ออกจากลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้ ด้วยการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery- MIS) ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดแผลหน้าท้อง ลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น ที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่ทำให้ต้องกังวล

บทความโดย พญ.ศิริพร สรรพโรจน์พัฒนา อายุรแพทย์ ด้านโรคระบบทางเดินอาหาร รพ.สมิติเวช


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *