เทศกาล กินเจ เป็นเทศกาลที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากถือเป็นช่วงเวลาของการละเว้นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์หลังจากที่กินมาตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หากกิน อาหารเจ อย่างไม่ระวัง อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและอาจทำให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นได้
น.พ.ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี แพทย์ทางด้านโภชนาการ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า อาหารเจ เป็นอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งอาจรวมถึงไข่และนมด้วย เพราะฉะนั้นในช่วงเทศกาล กินเจ หลายคนจึงมักไปเน้นการกินผักและผลไม้เป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม อาหารเจ ส่วนใหญ่มักมีการประกอบอาหารด้วยการผัด ทอด และปรุงรสชาติที่เข้มข้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน ,โรคความดันโลหิตสูง, โรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มโรคดังกล่าวควร กินเจ อย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยทำให้โรครุนแรงขึ้น
คำแนะนำการ กินเจ สำหรับผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรเลือกกิน อาหารเจ ที่มีไขมันต่ำ เช่น อาหารเจต้ม ผัด นึ่ง ย่าง หลีกเลี่ยงอาหารเจทอด
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเลือกกิน อาหารเจ ที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น อาหารเจต้ม ผัด นึ่ง ย่าง หลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานเจ น้ำหวานเจ
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรัง ควรเลือกกิน อาหารเจ ที่มีโซเดียมต่ำ เช่น อาหารเจต้ม ผัด นึ่ง ย่าง หลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารเจสำเร็จรูป อาหารเจกระป๋อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว หากจำเป็นต้อง กินเจ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารเพื่อขอคำแนะนำในการกินเจที่เหมาะสมกับโรคของตัวเอง