แนวทางการบริโภคโปรตีน-โซเดียมของผู้ป่วยโรคไตระยะหลังฟอกไต


กินดี

การกินโปรตีนและโซเดียมสำหรับผู้ป่วยในปริมาณที่เหมาะสมกับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระวัง แนะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตก่อนและหลังฟอกไต

.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}

การรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา ถั่วประเภทต่าง ๆ ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ในผู้ที่ไตมีการทำงานเสื่อมไปบางส่วน อาจเร่งการดำเนินของโรคไตให้เร็วขึ้นได้ เพราะอาหารเหล่านี้ ประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทโปรตีนสูง ทำให้เลือดในร่างกายมีความเป็นกรดมากขึ้น ไตจึงต้องทำงานหนักเพื่อขับยูเรียซึ่งเป็นของเสียที่ได้จากการสลายโปรตีนและเพิ่มการขับกรดออกจากร่างกาย

9 วิธีในการได้รับ “โปรตีน” มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร

“โซเดียม” ตัวการก่อโรคNCDs ไม่ติดต่อแต่เรื้อรังอันตรายถึงชีวิต

  • ผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะก่อนฟอกไต ควรรับประทานโปรตีนในแต่ละวัน ให้น้อยกว่าคนปกติเล็กน้อย คือ ประมาณ 0.6 – 0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน
  • ผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฟอกไตแล้ว ควรรับประทานโปรตีนในแต่ละวัน เพิ่มมากกว่าคนปกติ คือ ประมาณ 1.0-1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน เนื่องจากร่างกายสูญเสียโปรตีนไปบางส่วนจากกระบวนการฟอกไต

ปริมาณโปรตีนในอาหารประเภทต่าง ๆ

  • อกไก่ (100 กรัม)    โปรตีน 23 กรัม
  • เนื้อหมู (100 กรัม) โปรตีน 23 กรัม
  • ไข่ไก่ (1 ฟอง)         โปรตีน 7 กรัม
  • ไข่ขาว (2 ฟอง)       โปรตีน 7 กรัม
  • เนื้อกุ้ง 3 -5 ตัว       โปรตีน 7 กรัม

ที่สำคัญการปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตคือการลดเค็มลดโซเดียว เพราะเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง

อาหารที่มีโซเดียมสูงที่ควรระวัง

  • อาหารที่มีรสเค็มจากการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม น้ำบูดู ซุปก้อน ผงปรุงรสต่างๆ
  • เติมเกลือได้ครึ่งช้อนชาต่อวัน หรือเติมน้ำปลา ซีอิ้วรวมกันได้ไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน และต้องไม่เติมเครื่องปรุงรสเหล่านี้เพิ่มในระหว่างการกินอาหาร
  • อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารว่างที่ออกรส เค็ม อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง อาหารสำเร็จรูป จำพวกโจ๊ก บะหมี่ วุ้นเส้น และขนมขบเคี้ยวต่างทุกชนิด
  • อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกาดเขียวดองเปรี้ยว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น
  • อาหารที่มีรสหวานและเค็มจัด เนื้อสัตว์ปรุงรส เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง
  • อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง

5 กลุ่มอาหารซ่อนโซเดียมสูง ไม่เค็มแต่กินมากก็เสี่ยงโรคไต-หัวใจได้

แนวทางปฏิบัติผู้ป่วยโรคไต

  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำปลาโดยอาจเติมซีอิ้วขาวเพียงเล็กน้อยแทน ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ
  • ไม่เติมเครื่องปรุงรสใดๆ ที่โต๊ะอาหารเพิ่มอีก เพราะในอาหารปกติที่ทานอยู่ก็จะมีโซเดียมอยู่มากพอสมควรแล้วโดยเฉพาะอาหารทะเล นม ไข่
  • ที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม และไข่เค็ม
  • เวลาซื้ออาหารกระป๋อง ต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหาร ให้เลือกที่มีเกลือต่ำ
  • รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร

ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนที่เหมาะกับระยะของโรคไต ควรควบคู่ไปกับการได้รับพลังงานจากสารอาหารอื่นอย่างเพียงพอ ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสามารถดึงโปรตีนไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดนะคะ ที่สำคัญควรลดการปรุงหลีกเลี่ยงโซเดียมให้ได้มากที่สุดเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : ร.พ.กรุงเทพ และ  ร.พ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ภาพจาก : Freepik

“โปรตีนไข่ขาว” เพิ่มโอกาสรอดชีวิตผู้ป่วยโรคตับช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

“ผงชูรส” เครื่องปรุงโซเดียมสูง กินเยอะอาจเสี่ยงโรคอ้วน ดื้ออินซูลิน

วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

PPSHOP


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *