
สถาบัน Atlantic Council ซึ่งเป็นคลังสมองในสหรัฐอเมริกา ประกาศดัชนีว่าด้วยเสรีภาพและความมั่งคั่ง ทั้งรายได้ สุขภาพ สภาพแวดล้อม และการศึกษา จาก 164 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยได้คะแนนด้านสุขภาพสูงถึง 90.9 คะแนน สะท้อนความแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขไทยที่ยังเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก จนได้รับความไว้วางใจในการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาระบบสาธารณสุข อาทิ การได้รับเกียรติให้เป็นชาติต้นแบบจัดการโควิด-19 ยอดเยี่ยม ไปจนถึงการได้รับความเชื่อมั่นเพื่อจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED)
ด้วยเหตุนี้ ทุกภาคส่วนจึงพร้อมผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ เพิ่มขีดความสามารถพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลก เช่นเดียวกับ ‘บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด’ ที่ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมยาและสาธารณสุขไทย ผ่านทั้งการคิดค้นโซลูชันการรักษา การบริการสุขภาพ ควบคู่กับการสร้างฐานระบบสาธารณสุขไทยให้แข็งแกร่งมาตลอด 40 ปี
‘แอสตร้าเซนเนก้า’ ชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก
ผู้พัฒนานวัตกรรมยาระดับโลก ‘แอสตร้าเซนเนก้า’ เป็นผู้นำด้านการรักษาใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็งวิทยา กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ไต และเมแทบอลิซึม กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน และภูมิคุ้มกันบำบัด และกลุ่มโรคหายาก ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา แอสตร้าเซนเนก้า ได้มีการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินในกว่า 80 ประเทศ ครอบคลุม 6 ทวีป และได้ถูกส่งมอบให้กว่า 180 ประเทศทั่วโลกแล้วเป็นจำนวนกว่า 3 พันล้านโดส
ขณะเดียวกัน บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกยังมีส่วนร่วมขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขในหลากหลายประเทศ ในประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้า พร้อมด้วยบุคลากรคุณภาพกว่า 350 คน ได้สานต่อแนวทางการนำวิทยาศาสตร์มาต่อยอดและพัฒนาเพื่อการดูแลสุขภาพของคนไทยมาร่วม 40 ปี
ทั้งยังสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ ผ่านการค้นคว้า คิดค้น พัฒนานวัตกรรมยาให้สามารถรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงขยายขอบเขตความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเข้าถึงระบบดูแลสุขภาพให้กับประชาชนและชุมชน ตลอดจนพัฒนานวัตกรรมยาให้กับผู้ป่วย ยกระดับประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อสร้างรากฐานในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
เปิดตัวแคมเปญ ‘Making Health Happen’
นอกเหนือจากการพัฒนายาให้สามารถรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาให้กับผู้ป่วย แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ยังมีอีกหนึ่งพันธกิจสำคัญ คือ การยกระดับระบบสาธารณสุขไทยให้มีความยั่งยืน โดยผนึกกำลังพันธมิตรทั้งภาครัฐ-เอกชน สร้างความตระหนักรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ป่วยในกลุ่มโรคดังกล่าวถึง 14 ล้านคน และเสียชีวิตปีละ 300,000 คน นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของระบบสาธารณสุขไทย รวมถึงระบบสาธารณสุขทั่วโลก
ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการลดจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ 1 ใน 3 ภายใน
ปี 2030 ตามเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UN Sustainable Development Goal) เป้าหมายที่ 3 การสร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จึงได้เปิดตัวโครงการ ‘Making Health Happen’ เพื่อสานต่อการดูแลสุขภาพในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยนำองค์ความรู้มาเผยแพร่ให้เกิดความตระหนักรู้ นำไปสู่การป้องกันโรค ตลอดจนถึงการขยายระบบสาธารณสุขให้สามารถดูแลสุขภาพประชาชน ชุมชน และโลกให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
มุ่งค้นคว้านวัตกรรมยา หนุนโครงการด้านสุขภาพ
ที่ผ่านมา แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ดำเนินงานภายใต้ความมุ่งมั่นค้นคว้า คิดค้นนวัตกรรมยาและโซลูชันเข้ามาช่วยเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย ผสานความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างเครือข่ายทั่วโลก เพื่อยกระดับนวัตกรรมการดูแลรักษาให้มีคุณภาพ รวมถึงดำเนินโครงการตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของคน พร้อมขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขไทยให้ดียิ่งขึ้น อาทิ
โครงการ Don’t Wait. Get Checked. การผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐ-เอกชน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ลงนามความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี AI อีกทั้งมุ่งขยายการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทั่วกรุงเทพฯ
ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ‘Accelerate the Development and Delivery of Digital Healthcare in Thailand’ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี AI ในเครือข่ายโรงพยาบาลรัฐ รวมถึงขยายไปยังหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหรือภูมิภาค เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยี AI และขยายผลสู่การตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดอื่น พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมและก้าวไปสู่การดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล
ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวเป็นการสานต่อเป้าหมายการเพิ่มอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ให้เป็นสองเท่าภายใน พ.ศ. 2568 ของ The Lung Ambition Alliance Thailand ผ่านการผนึกกำลังระหว่างภาคีพันธมิตรระดับนานาชาติร่วมกัน 4 องค์กร ใน 50 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมี Healthy Lung Thailand โครงการที่กำเนิดขึ้นด้วยความมุ่งหมายในการสร้างการตระหนักรู้และ สนับสนุนการเข้าถึงการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคหอบหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้กับประชาชน ผ่านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งองค์กรจากภาครัฐ เอกชน และการแพทย์ รวมถึงพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีองค์ความรู้ทันสมัย ด้วยการนำนวัตกรรมมาร่วมพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ พร้อมยกระดับการดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาพปอดที่แข็งแรง
โครงการ Young Health Programme มุ่งพัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบในชุมชนให้มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาว ตลอดจน Hug Your Heart โครงการให้ความรู้ แนะนำ ป้องกันปัญหา และดูแลสุขภาพหัวใจให้ประชาชน รวมถึง SEARCH โครงการตรวจคัดกรองภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงอีกด้วย
4 ทศวรรษ บนเส้นทางการพัฒนาสาธารณสุขไทย
ตลอดระยะเวลา 40 ปีบนเส้นทางการพัฒนาสาธารณสุขไทย แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ไม่เพียงดำเนินการตามเป้าหมายในการขยายโซลูชันด้านสุขภาพที่วางไว้ ทว่ายังคงพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องตามปณิธานของบริษัท คือ การนำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มาทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยผสานความร่วมมือพันธมิตรจากทั่วโลกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดไปจนถึงองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ พร้อมขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขไทยให้เกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ยังมีหมุดหมายสำคัญที่จะขยายความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขให้มากขึ้นในอนาคต รวมถึงเน้นย้ำในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับโครงการความยั่งยืนด้านต่างๆ พร้อมแสดงศักยภาพ ตอกย้ำการเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกได้อย่างแท้จริง

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่