โพลบอกคนไทยกลัวแก๊งคอลเตอร์! ซ้ำร้ายไม่เชื่อน้ำยารัฐบาลแก้ภัยไซเบอร์


นิด้าโพลเผยผลสำรวจภัยไซเบอร์ ชี้คนไทย 38.85% กังวลมาก โดยความเสียหายที่กลัวมากที่สุดคือการถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกหลวง งามไส้ยุคหอมกลิ่นความเจริญ คนส่วนใหญ่ 40.31% น้ำยารัฐบาล

08 พ.ย.2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่องภัยไซเบอร์ ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ (เช่น เลขบัตรประชาชน รหัสผ่านต่าง ๆ เลขที่บัญชีธนาคาร รูปภาพส่วนตัว เป็นต้น) พบว่า ตัวอย่าง 38.85% ระบุว่า กังวลมาก รองลงมา 32.52% ระบุว่าค่อนข้างกังวล 17.10% ระบุว่าไม่กังวลเลย และ 11.53% ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล

ด้านรูปแบบของภัยไซเบอร์ที่ประชาชนกังวล พบว่า ตัวอย่าง 54.20% ระบุว่า ถูกหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รองลงมา 45.57% ระบุว่า ถูกแฮ็กข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ 45.11% ระบุว่า ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รหัส ATM บัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรประชาชน 41.98% ระบุว่า ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญผ่าน Social Media, SMS, Website 24.20% ระบุว่า คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือถูกโจมตีด้วยไวรัสหรือมัลแวร์ชนิดอื่น ๆ จนเกิดความเสียหาย 17.48% ระบุว่า ถูกสอดส่องพฤติกรรมการใช้ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ 16.72% ระบุว่า ไม่กังวลใด ๆ เลย 16.26% ระบุว่า โดนดักฟังข้อมูล และ 14.66% ระบุว่า โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูล

สำหรับความเสียหายจากภัยไซเบอร์ที่ประชาชนเคยได้รับ พบว่า ตัวอย่าง 80.76% ระบุว่า ไม่เคยได้รับความเสียหายใดๆ เลย รองลงมา 12.06% ระบุว่า ถูกหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 4.66% ระบุว่า ถูกแฮ็กข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ 4.20% ระบุว่า ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญผ่าน Social Media, SMS, Website 3.21% ระบุว่า ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รหัส ATM บัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรประชาชน 1.53% ระบุว่า คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือถูกโจมตีด้วยไวรัสหรือมัลแวร์ชนิดอื่น ๆ จนเกิดความเสียหาย 0.53% ระบุว่า ถูกสอดส่องพฤติกรรมการใช้ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ 0.31% ระบุว่า โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูล และ 0.23% ระบุว่า โดนดักฟังข้อมูล

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ตัวอย่าง 40.31% ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา 35.19% ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย 16.49% ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ 6.79% ระบุว่า มั่นใจมาก และ 1.22% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *