ไขคำตอบ “ผ่อนรถไม่ไหว เอาไปคืนได้หรือไม่?


.fb-comments,.fb-comments span,.fb-comments span iframe[style]{min-width:100%!important;width:100%!important}

หากประสบกับปัญหาผ่อนค่างวดรถไม่ไหว เนื่องจากมีภาระทางการเงินต่อเดือนเยอะ และประเมินแล้วว่าไม่สามารถจะรับภาระการผ่อนค่างวดรถให้ครบสัญญาได้อีกต่อไป คำถามของผู้เช่าซื้อจำนวนมากคือ “เราจะคืนรถได้หรือไม่?”

การคืนรถ ถือเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อ ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง สิ่งที่ต้องย้ำสำหรับการคืนรถนั้น ผู้เช่าซื้อจะเจ็บตัวน้อยที่สุดในความรับผิดที่ต้องชำระให้กับทางผู้ใช้เช่าซื้อหลังคืนรถ ต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอนด้วย

วิธีการคืนรถ ผู้ให้เช่าซื้อต้องยังไม่บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อคืนได้ความรับผิดน้อยหรือไม่ต้องรับผิด ดังกรณีตัวอย่างตามคำพิพากษา ต่อไปนี้

กรณีที่ 1 การที่โจทก์รับรถไว้โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน ถือว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคา

กรณีที่ 2 จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มต้นติดต่อกับโจทก์เพื่อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แสดงให้เห็นจุดประสงค์ของจำเลยที่ต้องการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เมื่อโจทก์ได้รับการติดต่อก็ตกลงและนัดหมายรับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโดยมอบหมายให้ ส. ตัวแทนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ ส. จึงเป็นเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อให้ ส. ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและไม่ปรากฏว่าขณะเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง

กรณีที่ 3 โจทก์ไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตั้งแต่ 3 งวด ติดต่อกันขึ้นไปเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันหรือสิ้นสุดลงเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยโจทก์ รับรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนนำออกขายทอดตลาด ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย “โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 “

กรณีที่ 4 จำเลยที่ 1 นำรถที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์และโจทก์รับรถดังกล่าวไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ถือได้ว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน คู่กรณีและฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาให้จำเลยทั้งห้ารับผิดต่อโจทก์

กรณีที่ 5 ขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้เช่าซื้อยังผิดนัดไม่ครบจำนวนงวดที่โจทก์จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อได้ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบ ส่วนจำเลยนำรถที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนโจทก์ก็ไม่ถือว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 เพราะจำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนนำรถที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยนำรถไปส่งมอบคืนและโจทก์นำรถออกประมูลขายถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันอันเป็นการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเพราะเหตุอื่นคือสมัครใจเลิกสัญญา กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์เรียกค่าขาดราคาไม่ได้

อ้างอิง:

– เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2556

– เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15358/2558

– เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2561

– เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2561

– เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2558

– เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4295/2561

– ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *