ไม่ชัด แรงงานไทย 30 คน ลี้ภัยสงคราม ถูกต้อนขึ้นรถนำไปขายต่อให้นายจ้าง


.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}

กมธ.แรงงาน เผย แรงงานไทย 30 คน ถูกต้อนขึ้นรถนำไปขายต่อให้นายจ้างใหม่ ขณะลี้ภัยสงคราม ชี้ เรื่องยังไม่ชัด ส่งเรื่องให้ ก.แรงงาน เร่งประสานช่วยเหลือ ขณะคนงาน 3 พันคน ขอ กลับเมืองไทย

ที่กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 10 ต.ค. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยมีการหารือถึงแผนการช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอล การอพยพเข้าไปในพื้นที่ปลอดภัยก่อนนำกลับประเทศ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่คนงานจะได้รับจากฝั่งไทยและจากรัฐบาลอิสราเอล การช่วยเหลือภาระหนี้สินของคนงาน และการช่วยส่งกลับไปทำงานเดิมอีกครั้งเมื่อเหตุการณ์สงบลง โดยในที่ประชุมไม่มีการพูดถึงประเด็นที่แรงงานไทยถูกนำไปขายให้แคมป์คนงานแห่งใหม่ในขณะหนีภัยการสู้รบ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น และขอให้มีการตรวจสอบในเรื่องนี้

นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า ได้ฟังรายงานการช่วยเหลือ ถือว่ากระทรวงแรงงานทำได้ดี ทันท่วงที มีการประสานกระทรวงการต่างประเทศและทูตแรงงาน ตลอดจนลูกจ้างในพื้นที่เพื่อหาทางช่วยเหลือลี้ภัย โดยในวันที่ 12 ต.ค. แรงงานชุดแรก 15 คน จะเดินทางกลับประเทศถึงไทย นอกจากนี้กระทรวงแรงงานยังมีการตั้งวอร์รูมทุกจังหวัด มีสายด่วนเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลในพื้นที่ ถือว่าเป็นหน่วยมอนิเตอร์กลางในการประสานช่วยเหลือเยียวยา เมื่อเดินทางกลับประเทศ ซึ่งแรงงานหลายคนมีหนี้สินในการไปทำงาน เมื่อต้องกลับมาต้องไปดูว่าจะทำอย่างไรให้กลับไปทำงานที่เดิม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ต้องช่วยเหลือเดินทางกลับ หรือหางานใหม่ทดแทน

นายสหัสวัต คุ้มคง โฆษกคณะกรรมาธิการการแรงงานฯ กล่าวว่า ได้รับการประสานจากแรงงานไทยในอิสราเอล ว่า ขณะที่แรงงานไทยอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังจุดพักคอย ได้มีรถบัส ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นของหน่วยงานไหน เข้ามารับตัวไป คนงานประมาณ 30 คน นึกว่าจะถูกนำไปจุดพักพิง แต่ถูกนำไปที่แคมป์คนงานแห่งใหม่เพื่อไปทำงานต่อ ทั้งๆ ที่เพิ่งจะหนีภัยสงคราม ทุกคนยังจิตตก ไม่พร้อมทำงาน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการขายต่อแรงงาน การเปลี่ยนนายจ้างโดยไม่ชอบตามกฎหมายโดยอาศัยภาวะทางสงคราม หรือเป็นกลุ่มไหนที่มารับไปทำงานที่ใหม่ ทำให้ต้องจำใจทำงาน เพราะไม่มีทางเลือก ตนได้ส่งเรื่องต่อให้ทางกระทรวงแรงงานนำไปตรวจสอบ ดำเนินการช่วยเหลือ ถือเป็นการฉวยโอกาสขายแรงงานไทยในช่วงลี้ภัยสงคราม ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น

ด้าน นายไพโรจน์ กล่าวว่า อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายแรงงาน ประจำกรุงเทลอาวีฟ ได้รายงานสถานการณ์ทุกวัน ถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานจากจุดเสี่ยงไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย และมีการเข้าไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ ซึ่งแรงงานบางส่วนต้องการกลับประเทศ แต่มีอีกส่วนหนึ่งยังอยากอยู่ต่อ เพราะกลัวว่ากลับมาแล้วจะกลับไปอีกไม่ได้ บางคนมีหนี้สิน กลัวจะหาเงินใช้หนี้ไม่ได้ ในเรื่องนี้จะมีการเจรจากับทางอิสราเอลว่า แรงงานที่หนีภัยสงครามกลับมา เมื่อกลับไปใหม่ไม่ควรเสียค่าใช้จ่าย ขณะนี้มีความต้องการกลับประมาณ 3,000 คน วันที่ 12 ต.ค. จะมาถึงไทยเที่ยวแรก ขอให้มั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือให้เดินทางกลับอย่างปลอดภัย ส่วนคนที่จะทำงานต่อก็อาจจะให้ย้ายพื้นที่การทำงาน จากภาคใต้ไปทำในภาคเหนือ หรือภาคกลางที่ปลอดภัยกว่า ส่วนที่มีการนำแรงงานไทยไปขายต่อให้นายจ้างใหม่ยังไม่ชัดเจน ต้องรอยืนยันข้อมูลจากอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานในกรุงเทลอาวีฟ.


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *