.css-nh9sg4 #forum2022-logoSponsor{text-align:center;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text{font-family:”KaLaTeXa Display”;font-size:10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text span{background-color:#ffffff;padding:0 10px;position:relative;z-index:3;}.css-nh9sg4 .forum2022-logoSponsor-text::after{content:””;height:1px;width:100%;background-color:rgb(216,216,216);position:absolute;top:50%;left:0;-webkit-transform:translateY(-50%);-ms-transform:translateY(-50%);transform:translateY(-50%);z-index:2;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor{padding:0;margin:0;list-style:none;display:-webkit-box;display:-webkit-flex;display:-ms-flexbox;display:flex;-webkit-flex-wrap:wrap;-ms-flex-wrap:wrap;flex-wrap:wrap;gap:15px;-webkit-box-pack:center;-webkit-justify-content:center;-ms-flex-pack:center;justify-content:center;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor{height:80px;}.css-nh9sg4 ul.forum2022-logoSponsor li.forum2022-item-sponsor img{height:80px;}
กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก แนะนำ 3 วิถีไทย เพื่อดูแลสุขภาพ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องใน “วันหัวใจโลก” ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ก.ย ของทุกปี
วันที่ 29 กันยายน 2566 มีรายงานว่า นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนทางเลือก กล่าวว่า วันที่ 29 กันยายน ของทุกปี เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และอันตรายของโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการป้องกัน การเกิดโรคหัวใจ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก
โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ภาวะอ้วน และระดับไขมันในเลือด ซึ่งจะทำให้ผนังของหลอดเลือด ไม่ยืดหยุ่น เกิดการอุดตัน ตีบ และแตกได้ อีกทั้งยังนำมาสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ
กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก จึงแนะนำศาสตร์การแพทย์แผนไทย 3 วิถีไทย ในการดูแลสุขภาพหัวใจ อย่างแรกที่ใกล้ตัว คืออาหารไทย ที่ใช้สมุนไพรในครัว ที่มีสรรพคุณลดไขมัน ซึ่งอยู่ในกลุ่มสมุนไพร ที่เป็นส่วนประกอบหลักในน้ำพริก และเครื่องแกงของอาหารไทย ได้แก่ กระเทียม ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระชาย พริกไทย ขมิ้น และขิง
เนื่องจากสมุนไพรกลุ่มนี้ มีสารสำคัญกลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยย่อยอาหารแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ช่วยควบคุมไขมัน และน้ำตาลในเลือด ช่วยเสริมการป้องกัน การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยสามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลากหลาย เช่น แกงส้ม แกงไตปลา แกงป่า แกงเลียง ปลานึ่งมะนาว ไก่ต้มขมิ้น น้ำพริกขิง น้ำพริกขี้กา น้ำพริกปลาทู พร้อมผักเคียง
และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน เช่น ของทอด กะทิ ยาไทย ยาตรีผลา ที่ประกอบด้วย ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก และลูกมะขามป้อมนั้น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสามารถช่วยลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ
และยาหอมเทพจิตร มีสรรพคุณแก้อาการหน้ามืด ตาลาย บำรุงหัวใจ ปรับการทำงานของธาตุลม ที่มีผลต่อการทำงานของธาตุไฟ และธาตุน้ำ ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือด จิตใจ อารมณ์ความรู้สึกดีขึ้น
ออกกำลังกายวิถีไทย ด้วยฤๅษีดัดตน ซึ่งเป็นท่าการบริหารร่างกายทำให้ร่างกายตื่นตัว ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก นอกจากจะได้ความแข็งแรง จากการฝึกปฏิบัติทางร่างกาย ยังเป็นการฝึกลมหายใจ ร่วมกับการทำสมาธิ ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย
นับเป็นการออกกำลังกาย ที่สามารถทำได้ในทุกอิริยาบถของคนไทย โดยสามารถฝึกได้จากช่องทางยูทูบของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ทั้งนี้ นายแพทย์ขวัญชัย ยังกล่าวอีกว่า หลักสำคัญ ในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ การควบคุมอาหาร ลดอาหารรสหวาน มัน เค็ม ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมกับร่างกายของตนเอง ควบคุมอารมณ์ให้แจ่มใสไม่เครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ และดื่มสุรา พร้อมทั้ง ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย หรือการใช้ยาสมุนไพร สามารถขอคำปรึกษา จากแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ หรือติดต่อโดยตรง ที่กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5678 หรือ ช่องทางออนไลน์ที่เฟซบุ๊ก และไลน์แอดกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก line @DTAM