เผยแพร่: 25 ก.ย. 2566 24
ร่างกายของผู้หญิงซับซ้อนและเสี่ยงต่อโรคระบบสืบพันธุ์มากกว่า โดยเฉพาะหากปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ก็เสี่ยงสารพัดโรค อาทิ “ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” ที่หากไม่รีบรู้สัญญาณเตือน เสี่ยงบุตรยาก เสี่ยงต่อการมีมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเต้านมและเบาหวานได้ในอนาคต!
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS( Polycystic ovarian syndrome) หลายคนไม่รู้จักแต่กลับเป็นภาวะที่ผู้หญิงต้องระวังเพราะเป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ โดยลักษณะของกลุ่มอาการนี้จะมีอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น มีอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรังทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานมากขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่เชื่อว่ามีความผิดปกติอยู่ที่หลายๆกลไกซึ่งมีผลสืบเนื่องเกี่ยวพันกัน
“ถุงน้ำรังไข่หลายใบ” ภัยผู้หญิงอ้วน-เป็นสิว ปล่อยไว้ภาวะแทรกซ้อนอันตราย
“มะเร็งรังไข่” โรคร้ายระบบอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงอาการนำและระยะลุกลาม
พบได้ประมาณ 10-20% ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ และพบได้มากในสาวๆที่มีภาวะอ้วน
อาการเสี่ยง PCOS ที่สาวๆต้องสังเกต
- ประจำเดือนเว้นช่วงนาน มาห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิน 6 – 8 ครั้งต่อปี
- รอบประจำเดือนขาด มาไม่ติดต่อกันนานเกิน 3 รอบในผู้หญิงที่ปกติประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรือมาไม่ติดต่อกัน 6 เดือนในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย มามากเกินไป มานานเกินไป อาจเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ
- ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่มีอยู่ในร่างกายทั้งของผู้ชายและผู้หญิง เมื่อผู้หญิงมีมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะขนดก สิวขึ้นมากกว่าปกติ ผิวมัน ศีรษะล้าน
- อ้วน น้ำหนักเกินมาก ทำให้ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน เพิ่มอาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของ PCOS
- ภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง และหากตั้งครรภ์มีโอกาสแท้งบุตรในช่วง 3 เดือนแรก เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
- เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเต้านม
อย่าคิดว่าแค่อ้วน! แพทย์เตือน เคสถุงน้ำในรังไข่หนัก 9 กิโลกรัม
การรักษาอาการ PCOS
- การรักษาแบบไม่ใช้ยา เริ่มจากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าการควบคุมอาหารและออกกำลังกายจนทำให้มีการลดลงของน้ำหนักอย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักเริ่มต้น พบว่าทำให้สตรีกลุ่มนี้มีการตกไข่ที่ดีขึ้น มีรอบเดือนที่สม่ำเสมอขึ้น และมีประโยชน์ต่อการควบคุมรักษาอาการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน และลดภาวะดื้ออินซูลิน ที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้
- การรักษาแบบใช้ยา เพื่อควบคุมรอบประจำเดือนให้มาสม่ำเสมอ การรักษาหรือลดอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน การลดภาวะดื้ออินซูลินและการเกิดโรคเบาหวาน และการรักษาเรื่องภาวะมีบุตรยาก
ภาวะ PCOS มักพบในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน เพราะฉะนั้นควรใส่ใจควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถลดความเสี่ยงลงได้ หากพบความผิดปกติรีบพบแพทย์ก่อนโรคลุกลามสายเกินแก้!
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ภาพจาก : freepik
อย่าคิดว่าแค่อ้วน! แพทย์เตือน เคสถุงน้ำในรังไข่หนัก 9 กิโลกรัม
ผู้หญิงรูปร่าง “ลูกแพร์-แอปเปิล” เสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจกว่าหลายเท่า
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP