เผยแพร่: 22 ก.พ. 2567 5
รู้จักประเภทมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบบไหนอันตราย เผยนวัตกรรมการรักษาเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตผู้ป่วยได้มากกว่า!
.ads-billboard-wrapper{display:flex;min-height:250px;align-items:center;justify-content:center}
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นภาวะการณ์เจริญเติบโตอย่างผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและได้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่ได้รับสารเคมีบางชนิด
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 2 ประเภทใหญ่
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) จะพบ Reed-Sternberg cell ซึ่งไม่มีในชนิดอื่น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ประมาณ 25,000 คน
“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” พบมากในชายไทย เผยชนิด-อาการละเลยหวั่นดุลุกลาม!
สัญญาณมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยในไทย!
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) แบ่งออกเป็น 30 ชนิดย่อย โดยอาศัยอัตราการเจริญของเซลล์มะเร็ง จะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
- ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indent) มีการแบ่งตัวเซลล์มะเร็งค่อนข้างช้า ผู้ป่วยมีอาการค่อยเป็นค่อยไป แต่มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดด้วยวิธีการในปัจจุบัน
- ชนิดรุนแรง (Aqqressive) มีอัตราการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 6 เดือน-12 ปี แต่มีข้อดี คือ ถ้าหากรักษาทันท่วงทีโอกาสที่จะหายขาดก็มีมาก
อาการมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- คลำพบก้อนในบริเวณต่างๆ เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือในช่องท้อง
ก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นคลำแล้วจะไม่เจ็บ ซึ่งแตกต่างจากโรคที่มีการติดเชื้อที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน
- มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน
- เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
- น้ำหนักลง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ต่อมทอนซิลโต
- ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก
- ซีด และเลือดออกง่าย อาจสังเกตพบจุดเลือดออกตามตัวหรือจ้ำเลือดได้
- ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องจะมีอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง หรือท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง
คลำเจอก้อนที่คอ กดเจ็บอาจอันตรายน้อยกว่าไม่เจ็บ เช็กความเสี่ยงโรค!
แนวทางรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบัน
- การเฝ้าติดตามโรค ใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบบค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) อยู่ในระยะที่ 1 และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ และระหว่างการเฝ้าติดตามโรค ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะๆ ตามที่แพทย์กำหนด
- การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งจะออกฤทธิ์ไปทำลายเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปจะใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักษาด้วยแอนติบอดี
- ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies) : คือสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ในการจับกับโปรตีนบนผิวเซลล์ของเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มากำจัดเซลล์มะเร็ง ถือว่าเป็นวิธีช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ในบริเวณกว้าง และส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อเนื้อเยื่อปกติ
- การฉายรังสี (Radiation Therapy) เป็นการรักษาด้วยรังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
- การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem Cell Transplantation) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดโดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic Stem Cell Transplantation) และการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดโดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous Stem Cell Transplantation)
- การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดแบบเซลล์บำบัด (Chimeric Antigen Receptor T Cell, CAR T Cell) เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งสามารถใช้เป็นการรักษาแบบเดียว หรือการรักษาแบบผสมผสาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ต่อมน้ำเหลืองโต อาการแบบไหนรีบพบแพทย์? อาจเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
วิจัยเผยยิ่งอายุมากขึ้นการนอนหลับยิ่งสั้นลง ปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุ
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
PPSHOP