หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” จากการทำประกันรถยนต์ แต่ก็คงจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับคำนี้มากสักเท่าไหร่นัก วันนี้เราเลยจะมาอธิบายว่า สินไหมทดแทน คืออะไร เรียกร้องค่าอะไรบ้าง ให้ทุกคนได้รู้กัน
ค่าสินไหมทดแทน คืออะไร?
ค่าสินไหมทดแทน หากเป็นตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน จะมีความหมายว่า “ค่าสินไหมทดแทน หมายถึง (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย”
แต่หากถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ค่าสินไหมทดแทน คือ เงินที่บริษัทประกันจะต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ อย่างเช่น ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้อง ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : กรมธรรม์ คืออะไร ทำไมต้องทำความเข้าใจก่อนทำประกัน
ค่าสินไหมทดแทน เรียกร้องค่าอะไรได้บ้าง
ต้องบอกก่อนว่าทางบริษัทประกันนั้นจะสามารถชดเชยค่าสินไหมทดแทนได้ 4 แบบ ซึ่งจะระบุชัดเจนไว้แล้วในกรมธรรม์ ดังนี้
1.ค่าสินไหมทดแทน การชดใช้เป็นตัวเงิน
ความหมายก็คือตรงตัวเลย เป็นใช้เงินนั่นเอง ก็คือการให้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุด
2.การชดใช้ด้วยการซ่อมแซม
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เราสามารถเรียกสินไหมทดแทนจากทางบริษัทประกันได้ โดยบริษัทประกันจะรับผิดชอบในการซ่อมแซมทรัพย์สินให้ แต่แค่บางส่วนที่สามารถซ่อมกลับให้มาเป็นดังเดิมได้เท่านั้น
3.การจัดหาทรัพย์สินทดแทน
กรณีนี้จะเหมาะแก่การเสียหายโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถซ่อมหรือทำการใดๆ ให้กลับมาเหมือนเดิมได้ โดยบริษัมประกันจะทำการจัดหาทรัพย์สินแบบเดียวกับทรัพย์สินเดิมที่เสียหายไป
4.ค่าสินไหมทดแทน การทำให้คืนกลับสภาพเดิม
การทำให้คืนกลับสภาพเดิม หมายถึง การสร้างทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ให้เหมือนก่อนเกิดเหตุ ส่วนใหญ่จะใช้กับประกันวินาศภัย แต่ค่าสินไหมทดแทนประเภทนี้จะไม่นิยมมากนัก เพราะค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน
อ่านเพิ่มเติม : เคลมประกันรถยนต์มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร
เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีอะไรบ้าง
การเรียกค่าสินไหมทดแทนนั้นจะสามารถเรียกได้ทั้ง ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ รวมไปถึงค่าเสียหายโดยสิ้นเชิง โดยขั้นตอนการเคลมหรือการเรียกค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้เอกสารประกอบในการพิจารณา ซึ่งเอกสารต่างๆ นั้นจะต้องเป็นไปตามที่ คปภ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้กำหนดไว้ด้วยเช่นกัน ในส่วนของเรื่องเอกสารนั้นจะต้องเตรียมอะไรบ้าง มาดูกัน
ค่าสินไหมทดแทน ค่าซ่อมรถ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้น ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันจะต้องตรวจสอบและพิจารณาหลักฐานก่อนที่จะทำเครื่องเคลมประกัน เพราะฉะนั้นการมีข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุถือว่าเป็นที่สำคัญอย่างยิ่ง เช่น วัน เวลา สถานที่ ยี่ห้อรถ รุ่นรถ เป็นต้น ซึ่งเอกสารจะมีดังนี้
-
ใบเคลมหรือใบรับรองความเสียหายตัวจริง
-
ใบเสนอราคาประเมินค่าซ่อมรถ
-
ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน
-
รูปถ่ายรถยนต์ก่อนซ่อม ระหว่างซ่อม และหลังซ่อม
-
หนังสือรับรองการจดทะเบียน
-
บัตรประชาชน
-
สำเนาสมุดบัญชี สำหรับการโอนเงิน
ค่าสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาล
ต้องขอบอกเลยว่าไม่ว่าจะเจ็บน้อยหรือเจ็บหนักเราก็สามารถได้รับค่ารักษาพยาบาลจากประกันแน่นอน โดยบริษัทประกันจะทำการจ่ายค่ารักษาให้ในกรณีที่โรงพยาบาลอยู่ในคู่สัญญาของประกัน แต่หากเป็นกรณีที่โรงพยาบาลไม่ได้อยู่ในคู่สัญญานั้น เราต้องทำการสำรองจ่ายไปก่อน
-
ใบแจ้งความเสียหาย
-
ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่ระบุชื่อผู้ประสบภัย
-
ใบรับรองแพทย์ที่ระบุชื่อผู้ประสบภัย
-
สำเนาบัตรประชาชน
-
สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (สำหรับการโอนเงิน)
-
สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน ที่ระบุรายละเอียดการเกิดเหตุผลคดีถึงที่สิ้นสุด
-
หน้าตารางกรมธรรม์
-
สําเนาทะเบียนรถ
ค่าสินไหมทดแทน กรณีค่าปลงศพ
หากการเกิดอุบัติเหตุนั้นรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต ทางประกันก็จะมีค่าปลงศพให้ตามค่าใช้จ่ายของหลักศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าการตกแต่งร่างกาย ค่าฉีดยา ค่าแต่งตัวแต่งหน้าศพ รวมไปถึงค่าพิธีการต่างๆ สำหรับเอกสารค่าสินไหมทดแทน ค่าปลงศพนั้น จะต้องมีดังนี้
-
ชุดใบมรณบัตร
-
ใบรับรองการเสียชีวิต หรือใบชันสูตรพลิกศพ
-
บัตรประชาชน
-
สำเนาทะเบียนบ้าน
-
สำเนาบันทึกประจำวัน
-
สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
ค่าสินไหมทดแทน รถเสียหายโดยสิ้นเชิง
รถเสียหายโดยสิ้นเชิง หมายถึง รถที่ไม่สามารถทำการซ่อมกลับมาให้เป็นเหมือนเดิม หรือเสียหายมากกว่า 80% ของราคารถยนต์คันนั้นๆ บริษัทจะทำการประเมินและจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เต็มจำนวนทุนประกัน แต่เราก็จะต้องโอนซากรถให้บริษัทประกันด้วย และเมื่อโอนซากรถแล้ว ความคุ้มครองในกรมธรรม์ก็จะสิ้นสุดลงทันทีเช่นกัน
-
สมุดทะเบียนรถ ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์
-
หนังสือมอบอำนาจ, โอนกรรมสิทธิ์, จดทะเบียน หรือย้ายรถ
-
แบบคำขอโอนและรับโอน
-
หนังสือมอบกรรมสิทธิ์
-
หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์และสละกรรมสิทธิ์
-
สำเนาบัตรประชาชน
-
สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
-
กุญแจรถ
-
กรมธรรม์ต้นฉบับ
-
สําเนาทะเบียนรถ
-
สำเนาบันทึกประจำวันข้อเกิดเหตุของพนักงานสอบสวน (ถ้ามี)
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง one2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com